สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
การให้บริการของ NIA
ความเคลื่อนไหวของ NIA
ช่องทางในการติดต่อกับ NIA
การพัฒนาเชิงพื้นที่เป็นแนวคิดการพัฒนาที่มุ่งนําเอาทรัพยากรธรรมชาติและศักยภาพทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่นั้นๆ มาใช้เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของพื้นที่ ในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจนั้น กล่าวได้ว่าอุตสาหกรรมในพื้นที่ โครงสร้างพื้นฐาน ทุนมนุษย์ และความก้าวหน้าทางวิทยาการ เป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อน โดยทั่วไปแผนการพัฒนาเศรษฐกิจจะมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพิ่มการลงทุน โดยยังขาดการเชื่อมโยงกับมิติของการพัฒนาบนพื้นฐานของความก้าวหน้าทางวิทยาการ
สนช. เล็งเห็นถึงความสำคัญของ "การพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่" (Area Based Innovation) ซึ่งจะเป็นการนำเสนอรูปแบบการพัฒนาเชิงพื้นที่บนพื้นฐานของปัจจัยการพัฒนาในทุกมิติ โดยในเบื้องต้น สนช. ร่วมหารือกับ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และจังหวัดระยอง เพื่อบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาโครงการ “นวัตกรรมเศรษฐกิจเชิงพื้นที่สู่อาเซียน” โดยได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ (MOU) ร่วมกันในการสนับสนุนข้อมูลทางสถิติ ข้อมูลสารสนเทศภูมิอากาศ และข้อมูลศักยภาพของแหล่งวัตถุดิบเพื่อการผลิต รวมถึงศักยภาพด้านการลงทุนของภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาประมวลผลและวิเคราะห์ในการสนับสนุนนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของรัฐบาล โดยดึงดูดกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมและวิสาหกิจเริ่มต้นรวมเกิดเป็นคลัสเตอร์ มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เครื่องมือและกลไลที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้พักอาศัยและผู้ดำเนินกิจกรรมในย่าน เพื่อเชื่อมต่อผู้คนและไอเดียภายในพื้นที่ (connecting) รวมถึงการมีกลไกที่ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม สร้างสรรค์สิ่งใหม่ร่วมกัน (co-creation) แบ่งปันความรู้แก่กัน (knowledge sharing) ของชุมชน ธุรกิจ และหน่วยงานในพื้นที่
ในเบื้องต้นของการดำเนินการจะมุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่นำร่องในแนวพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจด้านใต้ ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง (GMS Southern Economic Corridors: EWEC) ซึ่งมีความยาว 1,320 กิโลเมตร เชื่อมต่อประเทศพม่า-ไทย-กัมพูชา-เวียดนาม ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมทางบกที่สำคัญที่จะเชื่อมโยงสินค้า วัฒนธรรม แหล่งความรู้ ระหว่างทะเลอันดามันและมหาสมุทรแปซิฟิก ดังแสดงในรูปด้านล่าง ทั้งนี้การดำเนินโครงการนี้จะมีการวิเคราะห์ห่วงโซ่มูลค่า (value chain) เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนเป็นนวัตกรรมเศรษฐกิจเชิงพื้นที่สู่อาเซียน โดยมีเป้าหมายในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศ การท่องเที่ยว การค้า การขนส่ง และการเกษตร
สนช. ดำเนินการยกระดับศักยภาพทางนวัตกรรมในระดับพื้นที่ เพื่อพัฒนาให้เกิดพื้นที่นวัตกรรมทั้งในระดับภูมิภาค ระดับเมือง และระดับย่าน ได้แก่ ระเบียงนวัตกรรม (Innovation Corridor) เมืองนวัตกรรม (Innovation City) และย่านนวัตกรรม (Innovation District) ซึ่งจะมีการพัฒนาใน 3 ส่วน ได้แก่ การส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการรังสรรค์ระบบนิเวศนวัตกรรม การบริหารทรัพยากรเพื่อให้เกิดพื้นที่นวัตกรรม และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยมีเป้าหมายหลักได้แก่