สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
การให้บริการของ NIA
ความเคลื่อนไหวของ NIA
ช่องทางในการติดต่อกับ NIA
นวัตกรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของประเทศไทย ความท้าทายใหม่ในเวทีโลก
สถานที่ท่องเที่ยวของประเทศไทยนั้นมีเสน่ห์ในองค์รวมมากมาย ตอบโจทย์ทุกประเภทการท่องเที่ยว ทั้งการท่องเที่ยวคนเดียว การท่องเที่ยวกับเพื่อน คู่รัก หรือครอบครัว รวมถึงการเที่ยวไปด้วยทำงานไปด้วย (Workation) ที่ตอบโจทย์สำหรับกลุ่ม Digital Nomad โดยความโดดเด่นของประเทศไทยนั้น สามารถสื่อสารออกมาผ่านวัฒนธรรม อาหาร สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ วิถีชีวิตท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน และอื่น ๆ อีกมากมาย จนได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ผ่านการประกาศผลรางวัลมากมาย เช่น
จากมาตรการการป้องกันการระบาดของโรคโควิด 19 ที่ดี และการมีแหล่งท่องเที่ยวทั้งทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ รวมถึงเสน่ห์ในอัตลักษณ์วิถีชุมชนของประเทศไทยที่กระจายทั่วประเทศทั้งเมืองหลักและเมืองรอง จึงเป็นเหตุผลที่ว่า นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติยังคงให้ความเชื่อมั่นในการเดินทางมาพักผ่อนที่ประเทศไทย ทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้นตามลำดับ โดยในปี 2565 นั้น ภาคการท่องเที่ยวสร้างรายได้กว่า 1.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง ร้อยละ 8.62 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศไทย (GDP) แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ 11.8 ล้านคน และ นักท่องเที่ยวคนไทย 189 ล้านคน/ครั้ง และในปี 2566 นี้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้ตั้งเป้าหมายภาพรวมรายได้กลับมาไม่ต่ำกว่า 2.38 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 80 ของรายได้จากการท่องเที่ยวเมื่อปี 2562 (เทียบรายได้ ปี2562 เนื่องจากเป็นปีก่อนสถานการณ์โรคระบาด Covid-19) ((NESDC), 2023)
ถึงแม้ว่าปัจจุบันการท่องเที่ยวไทยเริ่มกลับมาฟื้นตัวได้ดี แต่ยังเหลือโอกาสอีกมากหากจะดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มีการใช้จ่ายเทียบเท่ากับช่วงก่อนการระบาดของโควิด 19 ซึ่งเมื่อเทียบจากเป้าหมายของ ททท. ช่องว่างนั้นมีมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านบาทให้ทุกคนได้มาเติมเต็ม โดย ททท. ได้ดำเนินการการส่งเสริมการท่องเที่ยวสำหรับตลาดในประเทศ ภายใต้แนวคิด “ปีท่องเที่ยวไทย 2566” และ “Visit Thailand Year 2023: Amazing New Chapters” สำหรับตลาดต่างประเทศ ซึ่งมีเป้าหมายให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็น “การท่องเที่ยวมูลค่าสูงอย่างยั่งยืน” (High Value and Sustainable Tourism) ด้วยแนวคิด BCG Model และให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่มีคุณค่าและความหมายทางใจ (Meaningful Travel)
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เล็งเห็นโอกาสการผลักดันให้การท่องเที่ยวเติบโต โดยเฉพาะการเพิ่มนวัตกรรมเข้าไปให้การท่องเที่ยว ด้วยการดึงอัตลักษณ์ท้องถิ่นมาช่วยยกระดับประสบการณ์การท่องเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยคำนึงถึงประโยชน์ต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมถึงเป็นการท่องเที่ยวสีเขียว หรือการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism) จึงมีแผนดำเนินงานภายใต้ “โครงการนวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชน ประจำปี 2567” (City & Community Innovation Challenge 2024) ในหัวข้อ “นวัตกรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” (Sustainable Tourism Innovation) ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 5 หัวข้อย่อย ได้ดังนี้
รูปภาพประกอบหัวข้อนวัตกรรมการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ
Wellness Tourism หรือ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ คือ การท่องเที่ยวที่มีจุดมุ่งหมายส่งเสริมสุขภาพที่ดีอย่างมีคุณภาพ ผ่านกิจกรรมหรือบริการที่สอดคล้องกับสุขภาวะทางร่างกายและจิตใจ ภายใต้พื้นฐานของความยั่งยืน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ตัวอย่างการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เช่น การนวดสมุนไพร การฝึกโยคะ บำบัดจิตใจ นั่งสมาธิปฏิบัติธรรม การบริการ สุวคนธบำบัด (Aroma Therapy) หรือการบริการวารีบำบัด (Water Therapy) การท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษาสุขภาพ (Health Healing Tourism) การตรวจร่างกาย การรักษาโรค ทันตกรรม การผ่าตัดเสริมความงาม หรือการผ่าตัดแปลงเพศ เป็นต้น ตัวอย่างโครงการ ได้แก่
รูปภาพประกอบหัวข้อนวัตกรรมการเที่ยวเชิงประสบการณ์อย่างสร้างสรรค์
UNESCO ให้คำนิยามการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ไว้ว่า “เป็นการท่องเที่ยวที่มีเป้าหมายสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาชุมชนและการพัฒนาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง โดยชุมชนจะจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวอย่างกลมกลืน และสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชน ในมิติของการเรียนรู้ การทดลองปฏิบัติ และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน นอกจากนั้น ชุมชนจะต้องสามารถใช้การจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือในการรักษาความสมดุลระหว่างการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวภายในชุมชน และผลประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับทั้งในรูปแบบที่เป็นผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน” ตัวอย่างโครงการ ได้แก่
รูปภาพประกอบหัวข้อนวัตกรรมความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยว
องค์กรด้านการท่องเที่ยวโลกได้ระบุถึงความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ที่ต้องพิจารณาจากความเสี่ยงภัยที่เกิดขึ้นได้จาก 4 แหล่งด้วยกัน ได้แก่
ตัวอย่างโครงการ ได้แก่
รูปภาพประกอบหัวข้อนวัตกรรมการท่องเที่ยวด้านอาหารและวัตถุดิบท้องถิ่น
หนังสือนิตยสารออนไลน์ “National Geographic” ได้ระบุว่า การท่องเที่ยวเชิงอาหารมีคุณค่ามากกว่าแค่การดื่มกินเมนูดังตามแหล่งท่องเที่ยว แต่ครอบคลุมถึงการผลิต เช่น การเยี่ยมชมแหล่งผลิต ณ ท้องถิ่น ไปจนถึงหลังการบริโภค เช่น การผลิตสินค้าที่ระลึกเพิ่มมูลค่า หรือแม้แต่การจัดการเศษอาหารเหลือทิ้ง เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์หลากหลายที่เกี่ยวเนื่องจากอาหาร โดย 4 เสาหลักของการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ได้แก่
ตัวอย่างโครงการ ได้แก่
รูปภาพประกอบหัวข้อนวัตกรรมการท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรมและความบันเทิง
โดยรวมแล้วจะหมายถึงการท่องเที่ยวเพื่อชมสิ่งที่แสดงถึงความเป็นวัฒนธรรมประเพณี วิถีการดําเนินชีวิต รวมถึงเพื่อเข้ารับชมศิลปะทุกแขนง และสิ่งต่าง ๆ ที่แสดงถึงความเจริญ รุ่งเรือง การดําเนินชีวิตของบุคคลในแต่ละยุคสมัย หรือการเข้าร่วมกิจกรรมที่เน้นศิลปวัฒนธรรมประเพณีอย่างมีความตั้งใจ รวมถึงการท่องเที่ยวไปยังสถานที่ ย่านบันเทิง หรือแหล่งบันเทิงอื่น เช่น ยิมมวยไทย สวนสัตว์ สวนสนุก สวนสาธารณะ/สวนสาธารณะลักษณะพิเศษ พิพิธภัณฑ์เฉพาะทาง แหล่งท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาทางวิทยาศาสตร์/อุตสาหกรรม/เทคโนโลยี บาร์และร้านอาหารสร้างความบันเทิงในท้องถิ่น เป็นต้น ตัวอย่างโครงการ ได้แก่
ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างโครงการนวัตกรรมดี ๆ ซึ่งสามารถเป็นต้นแบบในการต่อยอดการพัฒนานวัตกรรมการท่องเที่ยว โดยนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อนวัตกรผู้พัฒนาแล้ว ยังก่อเกิดประโยชน์ไปยังชุมชนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมด้วย ดังนั้น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) โดยฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม จึงขอเชิญชวนให้นักพัฒนานวัตกรรมทั้งหลาย ได้เสนอโครงการที่เกี่ยวข้องกับ “นวัตกรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” (Sustainable Tourism Innovation) ซึ่งแบ่งเป็น 5 หัวข้อย่อยตามที่ได้กล่าวไป เพื่อขอรับการสนับสนุนภายใต้ “โครงการนวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชน ประจำปี 2567” (City & Community Innovation Challenge 2024) วงเงินสูงสุด 1.5 ล้านบาทต่อโครงการ สามารถติดตามการรับสมัครได้ทางเว็บไซต์และโซเชียลมีเดียของ NIA ทุกช่องทาง รวมถึงเว็บไซต์ของฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม https://social.nia.or.th
บทความโดย
พิชญาภา ศิริรัตน์ (กิ๊ฟ)
นักพัฒนานวัตกรรม ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)