สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
การให้บริการของ NIA
ความเคลื่อนไหวของ NIA
ช่องทางในการติดต่อกับ NIA
สมุดปกขาวฉบับนี้ขึ้นเพื่อสำรวจสถานการณ์ปัจจุบันและศึกษาแนวทางการพัฒนา ระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้นด้านเทคโนโลยีอาหาร (FoodTech Startup Ecosystem) ในประเทศไทย โดยอ้างอิงแนวทางจากการศึกษาเชิงระบบในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเกษตร (AgTech) ที่ NIA เคยดำเนินการไว้แล้ว รายงานฉบับนี้มุ่งเน้นการวิเคราะห์เชิงลึกตั้งแต่ระดับโลกถึงระดับประเทศ ครอบคลุมประเด็นสำคัญ ได้แก่ แนวโน้มและโอกาสของเทคโนโลยีอาหารในระดับสากล การเปรียบเทียบการพัฒนาระบบนิเวศในกว่า 10 ประเทศทั่วโลก การสำรวจสถานการณ์จริงของประเทศไทย ทั้งด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โครงการสนับสนุน สถิติการเติบโต และกรณีศึกษาของวิสาหกิจเริ่มต้นด้านอาหาร การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และความเสี่ยง พร้อมข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบนิเวศ นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมเผยแพร่ผลการศึกษาและสร้างการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อให้ข้อเสนอแนะที่ได้สามารถนำไปใช้ผลักดันเชิงนโยบายได้จริง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รายงานฉบับนี้จึงเป็นฐานข้อมูลสำคัญที่ช่วยวางแนวทางพัฒนาระบบนิเวศ FoodTech Startup อย่างเป็นระบบ เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นหนึ่งในศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารของภูมิภาคและระดับโลกในอนาคต
หนังสือรวมตัวอย่างผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคม จากหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม ประจำปี 2567 นั้น ได้รวบรวมผลงานที่โดดเด่นของแต่ละหน่วยหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม ซึ่งกระจายตัวอยู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ รวมกว่า 11 หน่วย โดยในปี 2567 นั้น มีผลงานนวัตกรรมที่เกิดขึ้นกว่า 136 ผลงาน มีผู้ได้รับการบ่มเพาะ 899 คน สร้างผลกระทบทางสังคมเฉลี่ย 2.84 เท่า และมีผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้กว่า 51,258 คน
หนังสือรวมตัวอย่างผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคม จากหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม ประจำปี 2566 นั้น ได้รวบรวมผลงานที่โดดเด่นของแต่ละหน่วยหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม ซึ่งกระจายตัวอยู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ รวมกว่า 11 หน่วย โดยในปี 2566 นั้น มีผลงานนวัตกรรมที่เกิดขึ้นกว่า 145 ผลงาน มีผู้ได้รับการบ่มเพาะ 784 คน สร้างผลกระทบทางสังคมเฉลี่ย 2.98 เท่า และมีผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้กว่า 65,855 คน
AgriFood Connext Catalog เล่มนี้ ได้รวมรวบผลงาน 60 นวัตกรรมด้านเกษตรและอาหารที่ได้ผ่านการบ่มเพาะภายใต้โครงการเร่งสร้างและยกระดับความสามารถของวิสาหกิจฐานนวัตกรรมด้านเกษตรและอาหารในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภูมิภาค
“นวัตกรรม” เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ แต่การก้าวไปสู่การเป็นประเทศนวัตกรรมได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาและส่งเสริมความเข้มแข็งที่เอื้อในทุกระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทางของการสร้างนวัตกรรมก็คือ “นวัตกร” ซึ่งเป็นพลเมืองของชาติ จำเป็นต้องได้รับการบ่มเพาะเพื่อฝึกทักษะความเป็นนวัตกร ด้วยเหตุนี้หนังสือ INSIGHT & WOW! IDEA จึงเป็นหนังสือที่ได้ออกแบบมาเพื่อให้ครูและอาจารย์ได้นำวิธีการและเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมต่อการฝึกฝนให้นักเรียน/นักศึกษา มีแนวคิดและทักษะนวัตกรในอนาคต...
ผลการวิจัย “อนาคตสุขภาพและสุขภาวะสังคมไทย พ.ศ. 2576 (Futures of Health and Wellness in Thailand 2033)” เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ด้านสุขภาพและสุขภาวะ ประเด็นปัญหาสำคัญ สถานการณ์ปัจจุบัน สัญญาณการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญ ภาพอนาคต และข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพและสุขภาวะของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการสร้างความตระหนักรู้เรื่องสุขภาพและสุขภาวะ ส่งเสริมการพัฒนาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการเตรียมความพร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ทั้งในมิติสังคม เทคโนโลยี เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม กฎหมาย นโยบาย และค่านิยม รวมทั้งเพื่อออกแบบอนาคตที่พึงประสงค์ต่อการดูแลสุขภาพและสุขภาวะของสังคมไทย
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับกรมสุขภาพจิต สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) และ ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษาฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ โดย บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (FutureTales Lab by MQDC) ร่วมเปิดงานวิจัยสำคัญด้านสุขภาพจิตและข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพจิตของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมและการมองอนาคตมาช่วยส่งเสริมพัฒนา รวมถึงเตรียมพร้อมรับมืออนาคตด้านสุขภาพจิตของคนในประเทศไทย
สถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ ทั้งในระดับชุมชนและเมืองอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน การมองอนาคตเชิงสังคม (Social Foresight) จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการบ่งชี้สัญญาณความเปลี่ยนแปลง ประเมินความไม่แน่นอน (Uncertainties) เพื่อรับรู้และคาดการณ์ภาพอนาคตความเปลี่ยนแปลงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ที่จะช่วยในการกำหนดทิศทาง วางแผนเชิงตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ และกำหนดทางเลือกอนาคต (Alternative Futures) ที่สอดคล้องกับเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลง และเตรียมความพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้อนาคตอย่างทันท่วงที (Future Readiness) ผ่านการเรียนรู้กระบวนการการมองอนาคตและกรณีตัวอย่างการมองอนาคตเชิงพื้นที่อย่างจังหวัดพะเยา กาฬสินธุ์ พัทลุง และสตูล
หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการศึกษาแนวทางการส่งเสริมการพัฒนาสิทธิบัตรร่วมเพื่อสนับสนุนระบบนิเวศนวัตกรรมสนับสนุนผ่านกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
ดัชนีนี้มุ่งพัฒนาขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เกิดการยกระดับระบบนิเวศนวัตกรรมของเมืองที่เอื้อต่อการเกิดนวัตกรที่พัฒนานวัตกรรมจากการที่เมืองที่นำดัชนีไปใช้จะเห็นจุดเด่นและจุดที่ยังต้องการการพัฒนาของตนเอง โดยดัชนีนี้พัฒนามาจากสองแนวคิดหลัก กล่าวคือ ระบบนิเวศนวัตกรรมของเมือง และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ
การเปลี่ยนแปลงค่านิยม บรรทัดฐาน และการรับรู้ที่เกี่ยวกับ "การทำงาน" กระตุ้นให้ผู้คนจำนวนมากประสบกับความเครียด ท้อแท้ หมดไฟ รวมถึงข่าวการเลิกจ้างที่มีอยู่มากมายทั่วโลกที่เข้ามาตอกย้ำแนวโน้มตลาดแรงงานที่ดุเดือดมากขึ้น อนาคตของการทำงานในประเทศไทยภายในปี 2573 จะเป็นอย่างไร? ร่วมค้นหาได้ใน “Futures of Work in Thailand 2030” รายงานวิจัยการคาดการณ์อนาคต (Foresight) ฉบับที่ 2 ภายใต้โครงการ Futures and Beyond: Navigating Thailand toward 2030” ซึ่งจัดทำโดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ FutureTales LAB by MQDC
โลกในปัจจุบันมีความผันผวน ซับซ้อน และคลุมเครือมากขึ้น แม้ว่าเทคโนโลยีจะเข้ามามีส่วนช่วยให้ “ความเป็นอยู่” สะดวกสบาย หากแต่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีอยู่ยังคงเป็นปัญหาที่เปราะบางและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่แตกต่าง อนาคตของความเป็นอยู่ของคนไทยภายในปี 2573 จะเป็นอย่างไร? ร่วมค้นหาได้ใน “Futures of Living in Thailand 2030” รายงานวิจัยการคาดการณ์อนาคต (Foresight) ฉบับที่ 2 ภายใต้โครงการ Futures and Beyond: Navigating Thailand toward 2030” ซึ่งจัดทำโดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ FutureTales LAB by MQDC