สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

ความเหลื่อมล้ำดิจิทัลในเมืองมหานครกับความท้าทายในการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้

บทความ 9 มีนาคม 2564 8,852

ความเหลื่อมล้ำดิจิทัลในเมืองมหานครกับความท้าทายในการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้


สถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกนั้นส่งผลกระทบต่อประชาชนทั่วโลกในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงทางด้านการศึกษาก็ได้รับผลกระทบอย่างเห็นได้ชัด มีเด็กจำนวนมากที่ขาดอุปกรณ์เทคโนโลยีสำหรับการเรียนการสอนออนไลน์หรือยิ่งไปกว่านั้นคือขาดความรู้ในการใช้เทคโนโลยี นอกจากนั้นแล้วยังรวมถึงประชาชนและผู้สูงอายุที่ไม่มีอุปกรณ์ดิจิทัลและขาดความรู้ด้านการใช้งาน ทำให้ขาดโอกาสทางการเข้าถึงระบบออนไลน์ต่าง ๆ

สถานการณ์เหล่านี้อาจให้คำนิยามได้ว่า “ช่องว่างทางด้านดิจิทัล” กล่าวคือประชาชนส่วนหนึ่งของประเทศไม่สามารถเข้าถึงระบบออนไลน์ต่าง ๆ ได้เนื่องจากขาดความรู้และอุปกรณ์ทำให้เสียโอกาสในการเข้าถึงระบบดิจิทัลที่เป็นประโยชน์ หลายประเทศทั่วโลกประสบกับปัญหาเหล่านี้เช่นกัน หลายหน่วยงานจึงออกมาตรการแก้ไขปัญหาที่จะนำไปสู่การอุดช่องว่างทางด้านดิจิทัลอย่างยั่งยืน

  • ณ กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ ได้มีการจัดตั้งหน่วงานลดช่องว่างทางด้านดิจิทัล จัดตั้งโดย Theo Blackwell ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายดิจิทอล โดยได้รับความร่วมมือจากองค์กรการกุศลและกระทรวงโทรคมนาคม เพื่อช่วยเหลือการเข้าถึงทางด้านดิจิทัลของประชาชน

  • ปัจจุบัน ได้เริ่มวางแผนงานเพื่อปิดช่องว่างทางด้านดิจิทัล ด้วยร่างงบประมาณที่ถูกจัดสรรเป็นจำนวน 1.5 ล้านปอนด์ (2.05 ล้านเหรียญสหรัฐ) สำหรับแผนงานที่จะเกิดขึ้นภายใน 2 ปีโดยร่วมทำงานกับสำนักงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งลอนดอน (LOTI)

  • สืบเนื่องจากปัญหาหลักคือการขาดแคลนอุปกรณ์ จึงออกมาตรการจัดหาอุปกรณ์ดิทัลให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนโดยจะให้เด็กที่กำลังอยู่ในวัยเรียนเป็นกลุ่มแรก เพื่อให้ได้รับการศึกษาทางออนไลน์อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

  • แต่อย่างไรแล้วการซื้ออุปกรณ์ดิจิทัลให้เพียงพอกับจำนวนผู้ขาดแคลนเป็นการใช้งบประมาณที่ค่อนข้างสูง กลุ่มผู้ดำเนินงานจึงได้เปิดขอรับบริจาคอุปกรณ์ดิจิทัลที่ไม่ใช้แล้วจากคนทั่วไปและองค์กรการกุศลเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ นอกจากนั้นแล้วยังได้รับความร่วมมือจาก London Grid for Learning (LGfL)  ในการจัดหาอุปกรณ์

  • อีกหนึ่งความร่วมมือที่สำคัญ รัฐบาลอังกฤษประกาศโครงการจัดหาอุปกรณ์ดิจิทัล โดย Sadiq Khan นายกเทศมนตรี ส่งจดหมายขอความร่วมมือไปยังรัฐมนตรีกระทรวงศึกษา Gavin Williamson ให้ดำเนินการช่วยเหลือและจัดหาอุปกรณ์ให้ตอบสนองต่อความต้องการ

  • ตามข้อมูลได้กล่าวถึงงานวิจัยของ Sutton Trust และ Teacher Tapp ที่เผยแพร่ในเดือน มกราคม แสดงให้เห็นว่ามีเพียงจำนวน 10 เปอเซนต์ของโรงเรียนทั่วประเทศ ที่รายงานว่านักเรียนทุกคนมี Laptop ยิ่งไปกว่านั้นแล้วเด็กในประเทศอังกฤษกว่า 1.78 ล้านคนขาดการเข้าถึงอุปกรณ์ดิจิทัล เช่น tablet laptop desktop เป็นต้น และยังมีเด็กอีกกว่า 880,000 รายที่อาศัยอยู่ในบ้านที่มีเพียงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านมือถือเท่านั้น

  • ขอบเขตงานของหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นนี้ได้รับการสนับสนุนโครงการ London Recovery Program ซึ่งมีภารกิจ 9 ประการ ที่ไม่เพียงแต่จะส่งผลให้เมืองฟื้นคืนชีพจากวิกฤตการแต่ยังจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในเมืองไปในทางที่ดีขึ้น ภารกิจ 9 ประการก็จะครอบคลุมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งมาตรฐานในการรับมือกับปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจรวมถึงประชาชนสามารถเข้าถึงการสนับสนุนทางด้านการเงินเพื่อป้องกันความขาดแคลน เยาวชนจะมีสิทธ์ในการเข้าถึงกิจกรรมที่จัดโดยหน่วยงานท้องถิ่นอย่างทั่วถึงกัน ส่งเสริมการสร้างตัวช่วยที่จะทำให้ประชาชนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มอบพื้นที่สาธารณะให้แก่ประชาชนเพื่อพื้นฐานสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี มีอาหารที่ดีต่อสุขภาพ มีชุมชนที่เข้มแข็ง รวมถึงการดูแลให้ประชาชนในลอนดอนสามารถเข้าถึงการเชื่อมต่อ มีทักษะการใช้อุปกรณ์ดิจิทัลขั้นพื้นฐาน สนับสนุนอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการใช้สื่อออนไลน์ภายในปี 2025

  • ทั้งนี้ในสถานการณ์โควิด-19 ชี้ให้เราได้เห็นถึงปัญหาที่เป็นพื้นฐานหลักในการใช้ชีวิต ดังเช่นการเร่งมือช่วยเด็กที่ขาดแคลนทางด้านอุปกรณ์เทคโนโลยี ในขณะเดียวกันก็ศึกษาทำความเข้าใจในรายละเอียดถึงสาเหตุการเกิดช่องว่างเหล่านั้น เพื่อนำกลับมาวิเคราะห์และทำการแก้ไขปัญหาในระยะยาว

  • ในเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกกำลังตื่นตัวในเรื่องการแก้ปัญหาช่องว่างทางดิจิทัล ทำให้ได้เห็นแนวทางการแก้ไขปัญหาที่หลากหลายแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่

  • จากตัวอย่างในรัฐฟิลาเดเฟีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ผลิต RFP สร้างแบบจำลองข้อมูลเชิงพาณิชย์และปัญญาประดิษฐ์ Shreveport ได้ทำการแฮ็ก “Censor WI-FI” เข้าด้วยกันแล้วนำไปไว้บนรถขยะเพื่อสร้างแผนที่จำนวนครัวเรือนที่จ่ายค่าบริการอินเทอร์เนต ซึ่งจะสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ต่อยอดให้เป็นจำนวนครัวเรือนที่สามารถเข้าถึงอินเทอ์เนตได้ เป็นต้น

  • สำหรับประเทศไทย ในช่วงแรกของวิกฤตการโควิด-19 สืบเนื่องจากปัญหาที่เด็กขาดแคลนอุปกรณ์ สมาร์ทโฟน แท็ปเล็ต รวมถึงไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เนตได้ สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานได้แก้ไขปัญหาเบื้องต้นด้วยการเข้าถึงการศึกษาผ่านช่องโทรทัศน์ดิจิทัลและดาวเทียม โดยกระทรวงศึกษาขอความร่วมมือไปถึง กสทช.เพื่อขอให้สนับสนุนการใช้กล่องรับสัญญาณโทรทัศน์ดิจิทัลทั่วประเทศ 1.6 ล้านกล่อง และจัดหาดิจิทัลทีวีสำหรับบ้านที่ขาดแคลน

  • วิธีการแก้ไขปัญหาขั้นต่อมาคือการขอความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ให้จัดหาสถานที่เป็นห้องเรียนออนไลน์โดยปฎิบัติตามมาตรการด้านสาธารณะสุขของรัฐ ประสานขอความร่วมมือผู้นำในชุมชน จัดหาครูอาสาช่วยดูแลและให้คำปรึกษาสำหรับครอบครัวที่ไม่พร้อม

  • กระทรวงศึกษาธิการได้ทำการจัดหาอุปกรณ์แท็ปเล็ตเพื่อมอบแก่เด็กนักเรียนที่ขาดแคลน และมอบอุปกรณ์ดิจิทัลที่จำเป็นสำหรับห้องเรียนที่จัดตั้งโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพื่อสนับสนุนเด็กที่ทางบ้านไม่มีสัญญาณอินเตอร์เนต รวมถึงยังให้ความรู้และวิธีการใช้งานอุปกรณ์ที่มอบให้เพื่อที่จะสามารถใช้อุปกรณ์ที่ได้รับอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

  • ถ้าจะพูดถึงเรื่องการศึกษาทางไกลหรือการศึกษาผ่านดาวเทียมคงจะไม่ใช่ปัญหาที่พึ่งเกิดขึ้นในยุควิกฤตการณ์ โควิด-19 แต่ปัญหาเหล่านี้ถูกสะสมและรื้อรังมานานเพียงแต่ยังไม่มีเหตุการณ์ที่ทำให้ผู้คนตื่นตัวดังเช่นวิกฤติการณ์นี้  

  • ณ เวลานี้ทั่วโลกก็ประสบปัญหาไม่ต่างกัน แม้แต่ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา ก็บประสบปัญหาช่องว่างทางด้านดิจิทัลนี้ ไม่ต่างจากประเทศไทย เพราะฉะนั้นแล้วทั่วโลกจึงเร่งหาวิธีการแก้ไขปัญหานี้เฉกเช่นเดียวกันเพราะต่างตระหนักว่า ประชาชนทั่วโลกยังคงต้องใช้ชีวิตอย่างมีระยะห่างทางสังคม (social distancing ) ไปอีกสักพักใหญ่ ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาใหญ่ระดับเมืองที่ต้องเร่งแก้ไขทั้งในด้านการรับมือกับปัญหาโรคระบาดที่ต้องเผชิญและการสร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อให้ประชาชนที่ขาดแคลนสามารถเข้าถึงระบบดิจิทัลนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตของคนในเมืองและชุมชนได้อย่างเท่าเทียม ส่งผลให้เกิดการลดช่องว่างทางสังคม พร้อมสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

  • ช่องทางออนไลน์และการเข้าถึงด้านดิจิทัลนับว่าเป็นพื้นฐานหลักในการดำเนินชีวิต อย่างไรก็ตามปัญญาหาช่องว่างทางดิจิทัลนั้นอาจจะเป็นปัญหาที่ต้องใช้ระยะเวลาในการแก้ไข แต่ทุกภาคส่วนเร่งหาแนวทางและมาตรการที่จะอุดช่องว่างทางด้านดิจิทัลนี้ เพื่อความเท่าเทียมกันของประชาชนในประเทศ

อ้างอิง

Innovation in Procurement - LOTI

New taskforce to tackle London's digital divide - Cities Today - Connecting the world's urban leaders (cities-today.com)


โดย นิลุบล จินดาศิริ (เม้ย)
       นักส่งเสริมนวัตกรรม ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรม
       สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)