สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

NIA ติดตามการพัฒนา 3 โครงการนวัตกรรมและการนำนวัตกรรมไปใช้จริงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

News 15 มกราคม 2567 2,254

NIA ติดตามการพัฒนา 3 โครงการนวัตกรรมและการนำนวัตกรรมไปใช้จริงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Follow development_1.jpg

คณะอนุกรรมการพิจารณาและกลั่นกรองโครงการนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจ ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ติดตามการพัฒนาโครงการนวัตกรรมและการนำนวัตกรรมไปใช้จริงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 11 - 12 มกราคม 2567 ณ จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดขอนแก่น โดยทั้ง 3 โครงการนวัตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจาก NIA ได้แก่
 
"น้ำยาเคลือบชะลอสุกผลไม้และลดเชื้อราจากสารสกัดจอกหูหนูยักษ์" โดยวิสาหกิจชุมชนคนรักมะม่วงจังหวัดอุดรธานี ได้รับการสนับสนุนด้านวิจัยและพัฒนาการสกัดสารแพคตินจากจอกหูหนูยักษ์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี พัฒนาน้ำยาเคลือบชะลอสุกผลไม้และลดเชื้อราจากสารสกัดจอกหูหนูยักษ์ เพื่อแก้ปัญหาต้นทุนการเคลือบสารชะลอสุกผลไม้ของเกษตรกร สามารถชะลอสุกในมะม่วงได้ 10 และ 14 วัน ในสภาวะที่ไม่แช่เย็นและแช่เย็นตามลำดับ
 
โครงการ ตู้น้ำมันอัตโนมัติ Happy Oil "แฮปปี้ ออยล์ ตู้น้ำมันอัตโนมัติระบบออนไลน์" มีแค่ 10 บาท ก็สามารถเติมความสุขให้รถของคุณได้ด้วย “แฮปปี้ออยล์” นวัตกรรมที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ทุกคนได้ใช้อย่างสะดวก และมีความสุข และ โครงการ “ศูนย์การเรียนรู้ รูปแบบธุรกิจ Happy Oil แบบครบวงจร” ของบริษัท เอ็นทีพี.พาวเวอร์ เนทเวิร์ค จำกัด
 
โครงการ "อุปกรณ์ต่อพ่วงรถแทรกเตอร์สำหรับเกี่ยวนวดข้าว" ของบริษัท โรงงานพัฒนาการเกษตรขอนแก่น จำกัด ได้รับการสนับสนุนด้านวิจัยและพัฒนาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อแก้ปัญหาของเกษตรกรโดยพัฒนาอุปกรณ์ต่อพ่วงรถแทรกเตอร์สำหรับเกี่ยวนวดข้าวที่มีราคาถูก ติดตั้งและถอดประกอบได้ง่าย มีกำลังการเก็บเกี่ยวใกล้เคียงรถเกี่ยวนวดข้าวในท้องตลาด สามารถเข้าถึงพื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวและเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวก
 
การติดตามการพัฒนาโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานนั้น ทำให้ได้เห็นถึงความก้าวหน้าของโครงการ อีกทั้งยังทำให้ผู้ประกอบการได้รับคำแนะนำจากคณะผู้เชี่ยวชาญที่ได้มาลงพื้นที่จริงเพื่อต่อยอดสู่การนำนวัตกรรมไปใช้จริงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ