สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

เอสโตเนีย กับการเลือกตั้งออนไลน์ (i-voting) เป็นประเทศแรกของโลก

บทความ 29 เมษายน 2562 8,724

เอสโตเนีย กับการเลือกตั้งออนไลน์ (i-voting) เป็นประเทศแรกของโลก


หากมองกันด้วยตา จำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรของเอสโตเนียเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2019 อาจดูน้อยไปมากจนน่าตกใจ ไม่ใช่ว่าประชาชนเลิกสนใจระบบการเลือกตั้ง แต่เพราะร้อยละ 43.74 ของผู้มีสิทธิ์ ได้ทำการลงคะแนนผ่านระบบออนไลน์ไปก่อนแล้วล่วงหน้า 


ในขณะที่ประเทศใหญ่ ๆ ยังลังเลว่าควรจัดการเลือกตั้งอย่างไรดี ประเทศเล็ก ๆ ที่เพิ่งออกจากสหภาพโซเวียตมาเพียง 29 ปี กลับมีแนวคิดเปิดกว้าง เริ่มใช้การลงคะแนนเสียงออนไลน์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 ปัจจุบันประชากร 1.3 ล้านคน ของเอสโตเนีย สามารถทำธุรกรรมดิจิตอลได้แทบทุกอย่าง เว้นแค่เพียงการซื้อ-ขาย อสังหาริมทรัพย์ การจดทะเบียนสมรสและการจดทะเบียนหย่าเท่านั้น


Internet voting – หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า i-voting มีพัฒนาการเริ่มต้นจากการใช้ RFID Clip และเครื่องอ่านบัตรประชาชนในปี ค.ศ. 2005 ระบบนี้ถูกพัฒนามาเป็นการเลือกตั้งผ่านอินเตอร์เน็ตแบบที่เห็นกัน โดยเปิดให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสามารถล็อคอินผ่าน ID-card หรือ Mobile-ID จากทุกมุมโลก ข้อดีหลัก ๆ ของระบบนี้ คือผู้ใช้สามารถลงคะแนนเสียงได้ทุกที่ทุกเวลา 


แต่ที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือการลงคะแนนเสียงแบบออนไลน์ เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สิทธิ์สามารถเปลี่ยนแปลงผลโหวตของตัวเองได้แบบไม่จำกัดจำนวนครั้ง การเปลี่ยนแปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสามารถทำได้ในระหว่างช่วงเปิดการเลือกตั้งล่วงหน้า นอกจากนี้ผู้ใช้งานยังสามารถตรวจสอบการส่งผลโหวตกับเจ้าหน้าที่ได้โดยตรงผ่านแอปพลิเคชันแบบพิเศษ เท่านี้ก็มั่นใจได้ว่า คะแนนเสียงของทุกคนจะถูกรับรวมเข้าระบบอย่างแม่นยำและโปร่งใส


ความจริงข้อนี้ได้รับการพิสูจน์จากผู้สังเกตการณ์กว่า 40 ประเทศ ที่เข้ามาตรวจสอบการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา การเก็บข้อมูลทางสถิติระบุว่า การเลือกตั้งในครั้งนี้ มีผู้ใช้สิทธิ์ผ่านระบบ i-voting มากถึง 247,232 คน จากผู้ลงคะแนนทั้งหมด 565,028 เสียง ตัวเลขนี้เพิ่มจากการเลือกตั้งครั้งก่อนถึงร้อยละ 40 แสดงให้เห็นว่าการเลือกตั้งแบบออนไลน์ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากประชาชนและจากนานาชาติ 



การเลือกตั้งที่สามารถเปลี่ยนผลโหวตได้มีอยู่จริง


แต่ที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือการลงคะแนนเสียงแบบออนไลน์ เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สิทธิ์สามารถเปลี่ยนแปลงผลโหวตของตัวเองได้แบบไม่จำกัดจำนวนครั้ง การเปลี่ยนแปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสามารถทำได้ในระหว่างช่วงเปิดการเลือกตั้งล่วงหน้า นอกจากนี้ผู้ใช้งานยังสามารถตรวจสอบการส่งผลโหวตกับเจ้าหน้าที่ได้โดยตรงผ่านแอปพลิเคชันแบบพิเศษ เท่านี้ก็มั่นใจได้ว่า คะแนนเสียงของทุกคนจะถูกรับรวมเข้าระบบอย่างแม่นยำและโปร่งใส


ความจริงข้อนี้ได้รับการพิสูจน์จากผู้สังเกตการณ์กว่า 40 ประเทศ ที่เข้ามาตรวจสอบการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา การเก็บข้อมูลทางสถิติระบุว่า การเลือกตั้งในครั้งนี้ มีผู้ใช้สิทธิ์ผ่านระบบ i-voting มากถึง 247,232 คน จากผู้ลงคะแนนทั้งหมด 565,028 เสียง ตัวเลขนี้เพิ่มจากการเลือกตั้งครั้งก่อนถึงร้อยละ 40 แสดงให้เห็นว่าการเลือกตั้งแบบออนไลน์ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากประชาชนและจากนานาชาติ 

 

หลังการเลือกตั้งด้วยระบบออนไลน์เป็นครั้งที่ 10 รัฐบาลเอสโตเนียก็ได้ออกมาประกาศด้วยความภาคภูมิใจว่า การใช้ i-voting ของพวกเขา สามารถลดเวลาการทำงานของเจ้าหน้าที่ไปได้มากถึง 11,000 วัน ประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้กว่าครึ่ง และกลายเป็นต้นแบบที่อาจนำมาใช้พัฒนาระบบการเลือกตั้งรัฐสภายุโรปที่กำลังจะจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2019 



ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของประเทศเอสโตเนีย

ความสำเร็จของเอสโตเนีย ไม่เพียงเป็นตัวอย่างให้กับประเทศเล็ก ๆ แต่ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา ก็เริ่มมองเอสโตเนียเป็นแบบอย่างในด้าน i-voting ด้วยเหมือนกัน 


Time นิตยสารข่าวรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ออกมาชื่นชมระบบการเลือกตั้งของเอสโตเนียว่าใช้งบประมาณน้อย แต่ได้ผลการเลือกตั้งที่แม่นยำและโปร่งใส่กว่าการจัดการเลือกตั้งของสหรัฐฯ ที่เลือกใช้เครื่องลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์ (Voting Machines) ตั้งตามจุดเลือกตั้งต่าง ๆ 


เจ้าเครื่องที่ว่านี้นอกจากจะมีราคาแพง รัฐบาลยังต้องเสียงบประมาณจำนวนมากไปกับการรักษาความปลอดภัย ในขณะที่ประชาชนต่างบ่นกันว่าการลงคะแนนแบบนี้ยากและซับซ้อนเกินไป บางส่วนไม่ไว้ใจเครื่องลงคะแนนของรัฐบาลเพราะประสบปัญหานับคะแนนเสียงผิดหลายครั้ง 


J. Alex Halderman ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกนได้ออกมาโต้ในประเด็นนี้ โดยเล่าว่าในระหว่างที่เขาและทีมวิเคราะห์ข้อมูลได้เดินทางไปสังเกตการณ์ที่ประเทศเอสโตเนียเมื่อปี ค.ศ. 2014 ทีมของเขาพบว่าแม้ระบบของเอสโตเนียจะประหยัดและโปร่งใส แต่มีช่องโหว่ใหญ่เรื่องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยเฉพาะการเปิดให้มีการลงคะแนนเสียงผ่านระบบ i-voting จากนอกประเทศอาจทำให้เกิดการแทรกแซงจากประเทศมหาอำนาจด้านเทคโนโลยี ดังนั้นหากจะเปิดให้มีการลงคะแนนแบบนี้ในสหรัฐฯ คงต้องผ่านการพิจารณาและพัฒนาอีกหลายขั้นตอน 


อย่างไรก็ดี คณะกรรมการการเลือกตั้งของฝั่งเอสโตเนีย ยืนยันกับนิตยสาร Time ว่า ตลอดกว่า 10 ปีที่ใช้ระบบมา เอสโตเนียไม่เคยเจอปัญหาเรื่องการรักษาความปลอดภัย เพราะระบบได้รับการอัปเดตและพัฒนาอย่างสม่ำเสมอเพื่อปกป้องข้อมูลและสิทธิของประชาชน เราคงต้องรอดูกันต่อไปว่าความสำเร็จของประเทศเล็ก ๆ จะเป็นกระจกบานใหญ่ที่คอยให้ประเทศใหญ่ ๆ ส่องสะท้อนที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงกับโลกนี้ได้อย่างไรบ้าง 


.

แหล่งอ้างอิง 

https://e-estonia.com/solutions/e-governance/i-voting/

https://e-estonia.com/estonias-i-voting-more-popular-more-secure/

https://e-estonia.com/i-voting-the-future-of-elections/

http://time.com/5541876/estonia-elections-electronic-voting/