สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
การให้บริการของ NIA
ความเคลื่อนไหวของ NIA
ช่องทางในการติดต่อกับ NIA
NIA สนับสนุนระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) โดยไม่เพียงร่วมมือกับหน่วยงานในประเทศ แต่ด้วยเป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางวิสาหกิจเริ่มต้นระดับโลก (Global Startup Hub) NIA จึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ รวมไปถึงการจัดโปรแกรมต่างๆ ที่สนับสนุนให้สตาร์ทอัพไทยได้มีโอกาสออกสู่ตลาดต่างประเทศ และชักชวนให้นักลงทุนมาลงทุนในประเทศไทย และได้ร่วมมือกันดำเนินโครงการต่างๆ ตามบริบทและรูปแบบการส่งเสริมของแต่ละประเทศ เช่น Incubator, Accelerator, Business Matching, Mentoring เป็นต้น
มีการดำเนินงานใน 3 พื้นที่ ได้แก่
อีกทั้งยังมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในต่างประเทศผ่านโครงการพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานระหว่างประเทศเพื่อการเติบโตของธุรกิจนวัตกรรม (Bilateral Programs for Parallel Support) และการทูตนวัตกรรม (Innovation Diplomacy) โดยการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อให้เกิดการต่อยอดความร่วมมือและการลงทุน และสื่อสารภาพลักษณ์การเป็นประเทศนวัตกรรมในระดับสากล โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ดำเนินการโดยฝ่ายนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ (Innovation for Economy) เพื่อส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมที่สร้างมูลค่าและผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมในสาขาธุรกิจที่มีประเด็นร่วมกันระหว่างสองประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนากิจกรรมหรือโครงการนวัตกรรมร่วมกัน และร่วมมือกับเครือข่ายหน่วยงานระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมให้ขยายธรุกิจได้ เช่น การอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการนวัตกรรมเกี่ยวกับธุรกิจในประเทศเป้าหมาย การสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายธุรกิจต่อธุรกิจ (Business-to-Business) หรือการสนับสนุนผู้ประกอบการนวัตกรรมไทยที่ต้องการขยายธุรกิจไปต่างประเทศ
โครงการที่เปิดรับข้อเสนอโครงการ
Thailand - Israel R&D Cooperation Program ภายใต้ความร่วมมือกับ Israel Innovation Authority (IIA)
โครงการดำเนินงานพัฒนาและขยายเครือข่ายความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์กับหน่วยงานต่างประเทศที่มีศักยภาพทางนวัตกรรมทั่วโลก เพื่อยกระดับความเป็นสากลของระบบนวัตกรรมของประเทศไทย ตลอดจนผลักดันการพัฒนาภาพลักษณ์ของประเทศไทยสู่การเป็น “ประเทศแห่งนวัตกรรม”
โดยมุ่งขยายเครือข่ายความร่วมมือผ่านเครือข่ายทางการทูตกับ 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่
ผ่านการจัดประชุมหารือ การสัมมนาเผยแพร่ความรู้ และกิจกรรมขยายเครือข่ายความร่วมมือต่างๆ เช่น การจัดประชุมสัมมนาออนไลน์กับเครือข่ายสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศต่างๆ ในมิติที่หลากหลาย การจัดนิทรรศการเผยแพร่ข้อมูลการทูตนวัตกรรม