สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

พิชชารีย์ กีรติธากุล (เบล)

นักพัฒนานวัตกรรมอาวุโส ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ

02-017 5555 # 505

นวัตกรรมมีความสำคัญมาก เพราะมันคือการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ที่ทำให้เกิดมูลค่าทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ลองคิดดูว่า ถ้าโลกนี้ไม่มีนวัตกรรม เราก็คงใช้ชีวิตไปเรื่อยๆ ไม่เกิดการแก้ไขปัญหาหรือการ Challenge ตัวเองที่อยากจะแก้ไขปัญหาต่างๆ

WORK

เรื่องของนวัตกรรมจะไม่สามารถพัฒนาให้ไปไกลได้เลยหากทำโดยลำพัง ดังนั้นดิฉันคิดว่าจำเป็นต้องมีความร่วมมือระหว่างองค์กรทั้งในและต่างประเทศสร้างเป็นเครือข่ายเพื่อที่จะทำให้นวัตกรรมส่งผลกระทบในวงกว้าง ตรงนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ดิฉันเป็นผู้ประสานงานโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศในฝ่ายนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจของ สนช. โดยหลักๆ จะเป็นผู้ประสานงานกับองค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น (NEDO) รวมถึงประสานงานการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการความร่วมมือรวมถึงโครงการด้านนวัตกรรมเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ประกอบการไทยในการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกันกับต่างประเทศ

โครงการที่ดิฉันดูแลอยู่ขณะนี้จะเป็นโครงการความร่วมมือกับองค์กรประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากดิฉันจบการศึกษาด้านวิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อมจากญี่ปุ่น การที่ได้มีโอกาสร่วมงานกับ NEDO จึงถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายมากเพราะองค์กรนี้มีบทบาทคล้ายคลึงกับ สนช. ซึ่งทำให้ได้เรียนรู้โมเดลการทำงานของเขาไปด้วย อีกทั้งยังมีโครงการความร่วมมือในด้านการส่งเสริมระบบนิเวศธุรกิจ Startup อีกด้วย โดยโครงการที่ดูแลประสานงานเป็นพิเศษ คือการส่งเสริมสนับสนุน Deep-tech Startup ในประเทศไทยซึ่ง NEDO มี Innovation Promotion Department เพื่อส่งเสริมธุรกิจทั้ง SME และ Startup ตั้งแต่ขั้นตอน R&D ไปจนถึง Commercialization

นอกจากนี้ดิฉันยังทำหน้าที่ในการพัฒนาโครงการภายใต้กลไก NIA Venture (นวัตกรรมแบบเปิด) จึงจำเป็นต้องใช้ทั้งพื้นฐานความรู้เดิมมาต่อยอดและอัปเดตข้อมูลใหม่ อย่างเช่นในปัจจุบัน Startup ส่วนใหญ่จะเริ่มใช้เทคโนโลยี AI และMachine Learning เราก็ต้องรู้ว่าแต่ละอย่างมีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อที่จะได้เข้าใจในสิ่งที่ผู้ประกอบการอธิบายและนำเสนอ

EXPERTISE

นอกจากความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในภาษาญี่ปุ่นในการประสานงานแล้ว คนที่มาทำหน้าที่นี้ต้องมีทักษะในการสื่อสาร รับฟังความคิดเห็นและมีไหวพริบเพื่อที่จะได้ตอบสนองต่อความต้องการของฝ่ายต่างๆ ที่ประสานงาน ดังนั้นเราจึงไม่ได้ทำหน้าที่แค่เป็นล่าม แต่ต้องใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมมาอธิบายในการประสานงานระหว่างกัน ในขณะเดียวกันจากหน้าที่ในการพัฒนาโครงการภายใต้กลไก NIA Venture ก็ต้องอาศัยประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการมีความพร้อมมากที่สุดในการได้รับพิจารณาโครงการจากคณะอนุกรรมการ

นอกจากนี้ในช่วงที่ผ่านมาดิฉันได้เป็นผู้ประสานงานในโครงการของ NEDO ทั้งในโครงการสาธิตนำร่องเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและโครงการความร่วมมือในการสนับสนุนระบบนิเวศเพื่อสนับสนุนธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) และยังมีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งในโครงการบ่มเพาะวิสาหกิจเริ่มต้น “SPARK Global Acceleration Program” Batch 1 ซึ่งก่อตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือกับบริษัทกลุ่มนักลงทุนอิสราเอล เพื่อส่งเสริมศักยภาพของ Startup ของไทยให้มีโอกาสเติบโตในตลาดระดับสากล โดยได้มีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินโครงการและเป็นหนึ่งในตัวแทนพา Startup ในโครงการไป ร่วมงานจัดแสดงนิทรรศการต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ เช่น Innovfest Unbound 2017 ณ ประเทศสิงคโปร์และงาน Echelon Thailand

CREATIVITY

ดิฉันได้ Inspiration มาจากการทำงาน อย่างเวลาที่เราได้ไปเจอกับผู้ประกอบการหรือเพื่อนร่วมงานทำให้เราได้เรียนรู้ความคิดและทุกคนเต็มไปด้วยไอเดียใหม่ ยิ่งเวลาระดมสมองกันมักจะได้ไอเดียที่นอกจากนำมาใช้ในการทำงานแล้วยังนำมาใช้ในชีวิตส่วนตัวได้อีกด้วย

ดิฉันยังชอบศึกษาค้นคว้าแนวโน้มของเทคโนโลยีว่าจะไปทิศทางไหนในอนาคต เพื่อนำมาต่อยอดในการพัฒนาโครงการต่างๆ และถ้ามีเวลาว่างจริงๆ ก็จะชอบดูหนังถึงแม้จะได้รับความบันเทิงที่เป็นพื้นฐานอยู่แล้วนั้น แต่อีกด้านหนึ่งการดูหนังช่วยในด้านของการเรียบเรียงความคิดหรือบางครั้งสามารถหยิบตัวละครที่น่าประทับใจมาเป็นแง่คิดและสร้างแรงบันดาลใจในชีวิตได้เหมือนกัน

 

 

 

 

EDUCATION

  • Master of Science in Environmental Engineering and Science, Stanford University  (Specialization: Water engineering, Biotechnology treatment)
  • Bachelor of Engineering in System Innovation(Environment and Energy Course), The University of Tokyo (Specialization: Technology related to energy production,Environmental impact)

EXPERIENCE

  • Training: Thermochemical Gasification of Biomass, Fraunhofer UMSICHT, Germany
  • การฝึกงาน
  • Eco-Solution ฝ่ายยุทธศาสตร์นวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
  • กลุ่มงานโครงการและจัดการตะกอน สำนักจัดการคุณภาพน้ำ สำนักการระบายน้ำ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
  • ส่วนมลพิษน้ำ สำนักเทคโนโลยีน้ำและสิ่งแวดล้อมโรงงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
  • กลุ่มพลังงานทดแทน สำนักนโยบายอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน
    สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานกระทรวงพลังงาน

PORTFOLIO

ไม่มีข้อมูล

CURRENT POSITION

นักพัฒนานวัตกรรม ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ