สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

NIA ร่วมกับ WWF กระทรวงทรัพยากรฯ และเดอะมอลล์ กรุ๊ป จัดการประกวดสุดยอดนวัตกรรมทรงเกียรติระดับประเทศ “นวัตกรรมการจัดการพลาสติกเพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและทะเลไทย”

News 12 มิถุนายน 2563 2,076

NIA ร่วมกับ WWF กระทรวงทรัพยากรฯ และเดอะมอลล์ กรุ๊ป จัดการประกวดสุดยอดนวัตกรรมทรงเกียรติระดับประเทศ “นวัตกรรมการจัดการพลาสติกเพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและทะเลไทย”

NIA ร่วมกับ WWF กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเดอะมอลล์ กรุ๊ป จัดการประกวดสุดยอดนวัตกรรมทรงเกียรติระดับประเทศ “นวัตกรรมการจัดการพลาสติกเพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและทะเลไทย” ปั้นแนวทางคนรุ่นใหม่สู่การเป็นธุรกิจอย่างยั่งยืน เดินหน้าลดปัญหาขยะพลาสติกในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัลสนับสนุนการพัฒนาต่อยอดอย่างยั่งยืน 

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม (NIA) เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินรอบชิงชนะเลิศของการประกวด ณ ควอเทียร์ วอเตอร์ การ์เดน ชั้น 5 ศูนย์การค้า ดิ เอ็มควอเทียร์ ในวันที่ 5 มิถุนายน 2563 ซึ่งการจัดการประกวดแบ่งเป็น 3 รอบ โดยคัดเลือกจากการส่งผลงานเข้าประกวดทั้งหมดกว่า 100 ทีม โดยมี 3 ทีมสุดท้ายนำเสนอผลการการบ่มเพาะจาก NIA ตามหลักการของ 3P ซึ่งได้แก่ Profit People และ Planet เพื่อให้เห็นแนวทางการจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขา มีมติเอกฉันท์ผลการตัดสิน ดังนี้

รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ แทรชลัคกี้ “ขยะรีไซเคิลลุ้นโชค” ด้วยการสร้างแรงจูงใจให้คนไทยเห็นการคัดแยกขยะเป็นเรื่องสนุกแถมได้ลุ้นโชคและดูแลสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน ใน 4 ประเภท คือ 1) ขยะพลาสติก 2) แก้ว 3) กระดาษ และ 4) โลหะ สามารถนำขยะรีไซเคิลทั้งหมดจะนำไปจำหน่ายให้กับโรงงานรีไซเคิลตามกระบวนการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยรายได้ส่วนหนึ่งจะนำมาแบ่งเป็นรางวัลแก่ประชาชนที่ส่งขยะรีไซเคิลเข้ามาร่วมกิจกรรม จาก point ที่ได้จากการแยกขยะรีไซเคิล แนวทางดังกล่าวสอดคล้องกับพฤติกรรมของคนไทย ตลอดจนมีแนวทางการเติบโตของธุรกิจได้อย่างยั่งยืน เราคงเห็นการเก็บขยะเพื่อลุ้นโชคโดยไม่ต้องสียเงินซื้อก็จะทำให้ขยะพลาสติกลดลง โดยตั้งเป้าว่า ในอีก 3 ปีข้างหน้า จะเร่งเพิ่มสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมให้ได้ 2 แสนราย (เฉลี่ยครอบครัวละ 4 คน) หรือ คิดเป็นน้ำหนักขยะรีไซเคิล 900 ตันต่อเดือน รวมถึงจะเพิ่มรางวัลให้มากขึ้นอาจถึง 1 ล้านบาทต่อครั้ง โดยได้รับเงินรางวัล 500,000 บาท พร้อมถ้วยพระราชทานฯ

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีมวน โปรเจ็ค จากปัญหาถุงพลาสติก ที่ไม่มีคนต้องการส่งปัญหากับสิ่งแวดล้อมมากมาย จึงมีแนวคิดให้เกิดการส่งถุงพลาสติกกลับมาที่โรงงานผลิต โดยการสร้างให้เกิดจิตสำนึกส่งไปรษณีย์ และมีจุด drop point ในที่ต่างๆ แล้วนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการขึ้นรูปเป็นถุงพลาสติก และผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีการประยุกต์ใช้การออกแบบเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ได้รับโล่รางวัล พร้อมเงินรางวัล 200,000 บาท

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม ขอ ขวด รีชอป เป็นการแก้ไขปัญหาแบบเฉพาะจุด ในการจัดการระบบรถซาเล้งที่เก็บรวบรวมขยะ โดยมีระบบการติดตามและแจ้งเตือน แบ่งพื้นที่การดูแลที่ชัดเจน ได้รับโล่รางวัล พร้อมเงินรางวัล 100,000 บาท

ขอย้ำฝากส่งท้ายว่า พลาสติก...ไม่ใช่ผู้ร้าย โดยที่ผ่านมาเราใช้พลาสติกเพื่อตอบโจทย์ด้านความสะดวกสบาย แต่การนำเทคโนโลยี หรือแนวทางที่เหมาะกับวิถีการบริโภคพลาสติกของคนไทยมาใช้เพื่อจัดการกับปัญหาขยะพลาสติกเหล่านี้อย่างแพร่หลาย การส่งต่อแนวทางการบริหารจัดการพลาสติกของ 3 แนวทางข้างต้น มีส่วนช่วยกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวด้านการจัดการพลาสติกเพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและทะเลไทย แก่ประชาชนทั่วไปในวงกว้าง และใช้นวัตกรรมที่จะสามารถสร้างประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เพื่อนำไอเดียดังกล่าวไปทำให้เกิดต้นแบบได้จริงต่อไป ที่ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ และการสนับสนุนของทุกคน เพื่อช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้น