สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการ NIA ร่วมบรรยายในเวทีเสวนาหัวข้อ “แนวทางการยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของไทย: โจทย์สำหรับรัฐบาลใหม่”

News 7 กันยายน 2566 1,014

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการ NIA ร่วมบรรยายในเวทีเสวนาหัวข้อ “แนวทางการยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของไทย: โจทย์สำหรับรัฐบาลใหม่”

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมบรรยายในเวทีเสวนาหัวข้อ “แนวทางการยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของไทย: โจทย์สำหรับรัฐบาลใหม่” ที่จัดโดยคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจการเงิน และการคลัง วุฒิสภา ร่วมกับคณะกรรมาธิการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2566 ณ โรงแรมแบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค สุขุมวิท 22
 
โดย ดร.กริชผกา ได้กล่าวถึง 7 เทรนด์นวัตกรรมโลกที่น่าสนใจพร้อมปัจจัยการขับเคลื่อน ได้แก่
 
1. New EnergyTech on the Rise: ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ ต้องอาศัยความตื่นตัวของหน่วยงานระดับประเทศ และความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานภาคเอกชน เช่น พลังงานทางเลือก พลังงานไฮโดรเจนสีเขียว และระบบแบตเตอรี่ทางเลือก
 
2. Regenerating Travel and Aviation Industries: การปรับเปลี่ยนตามวิถี New Normal และการเปิดประเทศภายหลังโควิด-19 เช่น นวัตกรรมที่สนับสนุน Workation Stacation Hybrid Experience รวมถึง Sustainable Aviation Fuel (SAF) และ Smart Airport
 
3. DeepTech Startup, a Newcomers: Startup Global Landscape และการเติบโตของ Corporate VC เช่น นวัตกรรมความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางพลังงาน และนวัตกรรมด้านยีนและพันธุกรรม
 
4. Soft power as Economic Engine: การส่งเสริมการใช้ทรัพยากรทางวัฒนธรรม และการกลับมาของการท่องเที่ยว เช่น นวัตกรรมอาหาร Molecular Gastronomy และ NFT
 
5. Sophisticated AI for data-driven content creation: เศรษฐกิจสื่อรูปแบบใหม่ และการเข้ามาของ Virtual Influencer เช่น ChatGPT และ Deep Fake Technology
 
6. Next Generation of FoodTech: พฤติกรรมการบริโภคที่เน้นอาหารสุขภาพ เช่น โปรตีนทางเลือก อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน และอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงแต่งหรือผ่านการปรุงแต่งน้อยที่สุด (Whole Foods)
 
7. Hyper Spending on DefenseTech: เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ และปัญหาความมั่นคงไซเบอร์ โดยเน้นการส่งเสริมและวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีสองทาง (Dual-Use) ที่สามารถนำใช้งานได้ทั้งภารกิจด้านความมั่นคงและสำหรับภาคพลเรือนทั่วไปเชิงพาณิชย์ เช่น นวัตกรรมเพื่อความมั่นคงทางข่าวสาร หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ปัญญาประดิษฐ์
 
NIA มุ่งหวังว่า จะสนับสนุนนวัตกรรมเพื่อเร่งพัฒนาศักยภาพของประเทศให้พร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน พร้อมมุ่งผลักดันให้ไทยก้าวสู่การเป็น “Innovation Nation” หรือประเทศแห่งนวัตกรรมต่อไป