สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

NIA ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตสวีเดนประจำประเทศไทย และสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงานสัมมนาในหัวข้อ “Honouring the Nobel Prize: What lessons to be learned from developing the Swedish Innovation Ecosystem?”

News 12 ธันวาคม 2567 222

NIA ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตสวีเดนประจำประเทศไทย และสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงานสัมมนาในหัวข้อ “Honouring the Nobel Prize: What lessons to be learned from developing the Swedish Innovation Ecosystem?” 


สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตสวีเดนประจำประเทศไทย และสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมจัดงานสัมมนาในหัวข้อ “Honouring the Nobel Prize: What lessons to be learned from developing the Swedish Innovation Ecosystem?” เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ณ สถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการ NIA พร้อมด้วย H.E. Mrs. Anna Hammargren, Ambassador of Sweden to Thailand และ ศ.ภญ.ร.ต.อ.หญิง ดร.สุชาดา สุขหร่อง Executive Director of CSII ร่วมงาน

H.E. Mrs. Anna Hammargren, Ambassador of Sweden to Thailand กล่าวว่า "รางวัลโนเบล ถือเป็นรางวัลเกียรติยศสูงสุด เป็นรางวัลแห่งความสําเร็จและคุณงามความดีในชีวิต ที่สะท้อนถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ทั้งนี้ระบบนวัตกรรมจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าขาดการทำงานร่วมกันจาก 3 ฝ่าย ได้แก่ สถาบันการศึกษา ภาคอุตสาหกรรม และภาครัฐบาล (Innovation Triple-Helix Model)"

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า "ความสำคัญในการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมให้มีความเข้มแข็ง ต้องมีรากฐานจากการสร้างความเชื่อใจซึ่งกันและกัน (Trust) และ NIA มีความพร้อมเป็นผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรม (Focal Conductor) เพื่อสร้างimpact ให้กับระบบนิเวศนวัตกรรมของประเทศไทย"

ศ.ภญ.ร.ต.อ.หญิง ดร.สุชาดา สุขหร่อง Executive Director of CSII กล่าวว่า "การบูรณาการความรู้และทักษะที่จำเป็น ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการสร้างนวัตกรรม (Intergrated Innovation) และ CSII ถือเป็นสถาบันใหม่ล่าสุดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ด้านนวัตกรรมที่ตอบสนองต่อผลกระทบทางสังคม"

กิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการมอบรางวัลโนเบลประจำปีแก่ผู้ได้รับรางวัล ณ กรุงสตอกโฮล์ม พร้อมสร้างแรงบันดาลใจในด้านการสร้างนวัตกรรมให้แก่เยาวชน ผู้ประกอบการ และนักวิจัย รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือด้านนวัตกรรมระหว่างราชอาณาจักรสวีเดนและประเทศไทย โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านระบบนวัตกรรม Mr. Kjell Håkan Närfelt หัวหน้าที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์จาก Vinnova ราชอาณาจักรสวีเดน มาร่วมแบ่งปันความรู้และแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับประสบการณ์ด้านนวัตกรรมที่มีสาระสำคัญ ดังนี้

วิวัฒนาการของระบบนวัตกรรม
• 1st Wave: ระบบนวัตกรรมเกิดจากการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม
• 2nd Wave: ระบบนวัตกรรมเกิดจากการวิจัยและการพัฒนาขององค์กร ผ่านความร่วมมือแบบ Triple-Helix (องค์กร-สถาบันการศึกษา-รัฐบาล)
• 3rd Wave: ระบบนวัตกรรมขับเคลื่อนโดยธุรกิจสตาร์ทอัพ
• 4th Wave: ระบบนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคม เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และปัญหาขยะ

มุมมองใหม่เกี่ยวกับการประเมินค่า (The New View of Valorization)
1. การสร้างมูลค่า: การสร้างมูลค่าแบบหลายทิศทาง
2. การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา/ความรู้: เป็นรากฐานของการสร้างมูลค่า
3. การเป็นผู้ประกอบการ: มีทักษะและกระบวนการที่ช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมและการสร้างมูลค่า
4. ระบบนิเวศนวัตกรรมและสตาร์ทอัพ: เป็นรากฐานของนวัตกรรมระดับชาติและระดับภูมิภาค

การเป็นผู้นำที่มีศักยภาพ (Growth Leadership)
1. ความสามารถในการค้นพบโอกาสเชิงนวัตกรรม
2. ความสามารถด้านวิศวกรรมการเงิน
3. ความสามารถในการขยายขนาดและทำให้เป็นอุตสาหกรรม
4. ความสามารถในการสร้างความร่วมมือกับองค์กร

การปลดปล่อยศักยภาพนวัตกรรมของสังคม
• การศึกษา (Education)
• วิศวกรรม (Engineering)
• การเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship)
• ระบบนิเวศ (Ecosystem)

งานสัมมนาครั้งนี้มุ่งสร้างแรงบันดาลใจและผลักดันการสร้างสรรค์นวัตกรรมในสังคมไทย โดยอาศัยบทเรียนจากระบบนวัตกรรมของสวีเดน เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสร้างความก้าวหน้าในอนาคต

#NIA #Vinnova #CSII #NobelPrize #InnovationPartnership #theEmbassyofSwedeninThailand #InnovationEcosystem