สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โชว์ความสำเร็จสตาร์ทอัพด้านอาหารโครงการ SPACE-F รุ่นที่ 5 (Accelerator Track)

News 5 ธันวาคม 2567 171

NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โชว์ความสำเร็จสตาร์ทอัพด้านอาหารโครงการ SPACE-F รุ่นที่ 5 (Accelerator Track)


NIA ร่วมกับ Thai Union Group, Mahidol University, ThaiBev, Lotte Fine Chemical, Nestle Thai และ Deloitte จัดงาน ‘SPACE-F batch 5 Accelerator Demo Day’ เพื่อโชว์ศักยภาพของสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหาร (FoodTech Startup) ในโครงการ SPACE-F รุ่นที่ 5 แทร็คเร่งการเติบโตทางธุรกิจ (Accelerator Track) ทั้ง 8 ราย พร้อมปักหมุดประเทศไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีอาหาร (FoodTech Hub) เชื่อมโยงธุรกิจสู่ตลาดสากล เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2567 ณ Phenix Auditorium Hall and Common Space Area (Level G)

งานดังกล่าวได้รับเกียรติจากคุณธวัช สุธาสินีนนท์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรม Global Innovation Center (GIC) และคุณวิคเตอร์ เซียห์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เนสท์เล่ อินโดไชน่า กล่าวเปิดและปิดงานตามลำดับ รวมทั้งได้รับเกียรติจากคุณ หลุยส์ อัลบาน บาทาด ดูเปร ประธานกรรมการบริหาร Yindii ในฐานะศิษย์เก่าในโครงการ SPACE-F รุ่นที่ 2 ร่วมแชร์แรงบันดาลใจและความสำเร็จทางธุรกิจที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการ SPACE-F

SPACE-F เป็นแพลตฟอร์มที่ส่งเสริมสตาร์ทอัพด้านอาหาร และเสริมสร้างความร่วมมือทั่วทั้งระบบนิเวศ ผ่านเครือข่ายความร่วมมือหน่วยงานจากทั้งในและต่างประเทศ พร้อมสนับสนุนผู้เข้าร่วมอย่างต่อเนื่อง สตาร์ทอัพไม่เพียงแต่จะได้พัฒนาความรู้และทักษะ แต่ยังได้แลกเปลี่ยนมุมมอง และต่อยอดเครือข่ายความาร่วมมือทางธุรกิจ อันจะช่วยส่งเสริมให้สตาร์ทอัพสามารถเติบโตได้อย่างเข้มแข็งต่อไปในระยะยาว ปัจจุบัน SPACE-F สนับสนุนสตาร์ทอัพแล้วกว่า 80 ราย จากกว่า 17 ประเทศ และสามารถระดมทุนได้กว่า 2,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ ภายในงานมีสตาร์ทอัพที่ร่วมโชว์ผลงานทั้งสิ้น 8 ทีม ได้แก่
1. N&E Innovations: พัฒนาสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และแผ่นฟิล์มเคลือบอาหารจากเปลือกเม็ดมะม่วงหิมพานต์
2. BioDefense: พัฒนาสารเคลือบอาหารที่ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาให้ยาวนานขึ้น ลดการสูญเสียของผลผลิตทางการเกษตร ใช้ได้กับทั้งผักผลไม้และเนื้อสัตว์
3. UniFAHS: พัฒนาเทคโนโลยีเฟจสำหรับควบคุมแบคทีเรียก่อโรคในกระบวนการผลิตปศุสัตว์และประมงด้วยกลไกทางธรรมชาติ ช่วยลดการใช้ยาปฏิชีวนะ
4. Prefer: พัฒนาสารทดแทนที่มีกลิ่นและรสชาติคล้ายกาแฟด้วยเทคโนโลยีการหมักขนมปัง ถั่วเหลือง และข้าวบาร์เลย์
5. Fattastic Technologies: พัฒนาเทคโนโลยีแพลตฟอร์มสำหรับผลิตไขมันจากพืช ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนคุณสมบัติเหมาะสมไปตามการใช้งานของผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบในอุตสาหกรรมอาหาร 
6. MUI Robotics: พัฒนาเทคโนโลยีสัมผัสประดิษฐ์ (Artificial Sense) ด้านกลิ่นและรสชาติ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
7. Aquivio: พัฒนาเครื่องจ่ายน้ำอัตโนมัติและบริการน้ำดื่มฟังก์ชั่นที่ให้ผู้บริโภคสามารถเลือกและปรับแต่งคุณสมบัติได้ตามความชอบและความต้องการของผู้บริโภคแต่ละคน 
8. Ingrediome: พัฒนากระบวนการผลิตโปรตีนสัตว์ด้วยสาหร่าย ทำให้ได้โปรตีนที่มีความใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์จริง แต่กระบวนการผลิตมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

#NIA #SPACEF #FoodTech #FoodTechStartup #FoodTechAccelerator