สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

NIA ลงพื้นที่ปักหมุดพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดเชียงรายและจังหวัดพะเยา

News 3 ธันวาคม 2564 1,227
NIA ลงพื้นที่ปักหมุดพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดเชียงรายและจังหวัดพะเยา

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA พร้อมด้วยคณะทำงานฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรม เดินทางเข้าร่วมประชุมแนวทางการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมภูมิภาคเหนือตอนบน ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายและจังหวัดพะเยา

เริ่มกันด้วยการประชุมหารือร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (วันที่ 24 พฤศจิกายน 2564) โดยมี รศ.ดร.ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดีมหาวิทยาลัยและคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับ ซึ่งทาง NIA ได้นำเสนอข้อมูลการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้แก่


1. แนะนำสำนักงานภาคเหนือที่มุ่งสร้างให้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาเครือข่ายและให้การสนับสนุนการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมในระดับภูมิภาค
2. การส่งเสริม Startup University (League) โดยมุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรในระดับมหาวิทยาลัย เพื่อจูงใจให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพในพื้นที่ และลดการย้ายถิ่นฐานของนักศึกษาจบใหม่
3. การทำงานกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัดต่างๆ ของภาคเหนือ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเชื่อมโยง Innovation Corridor ในอนาคต

ต่อกันด้วยช่วงบ่าย ที่ได้มีโอกาสหารือแนวทางการพัฒนาศักยภาพการเป็นเมืองนวัตกรรม ร่วมกับคุณณรงค์ศักดิ์  เตือนสกุล รองนายกเทศบาลเชียงราย พร้อมเจ้าหน้าที่ของเทศบาลเชียงราย โดย NIA ได้เสนอแนวทางในการพัฒนาเมืองนวัตกรรม เพื่อยกระดับการสร้างสรรค์นวัตกรรมในพื้นที่ให้เข้มแข็ง โดยได้ยกตัวอย่างโครงการ City Lab อันเป็นการนำนวัตกรรมมาทดลองใช้จริงในพื้นที่เมือง ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นในการนำนวัตกรรมเข้ามามีส่วนช่วยพัฒนา แก้ไขปัญหา พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตในพื้นที่เทศบาลนครเชียงรายได้

ปิดท้ายด้วยการประชุมแนวทางการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมในจังหวัดพะเยา (วันที่ 25 พฤศจิกายน 2564) ร่วมกับ รศ.ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยาพร้อมทั้งคณะผู้บริหาร โดย NIA ชี้แจงถึงการเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือกับกลุ่มจังหวัดในภูมิภาค ด้วยศักยภาพเชิงพื้นที่ในการเป็นพื้นที่ที่สามารถเชื่อมต่อการค้าชายแดน มีจุดเด่นด้านศิลปวัฒนธรรมและการพัฒนาด้านการเกษตรสมัยใหม่ อีกทั้งพะเยาเองยังมุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมด้านสังคม เพื่อแก้ไขปัญหาในเชิงการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทางมหาวิทยาลัยพะเยาและ NIA จึงได้เล็งเห็นโอกาสในการส่งเสริมแนวทางการพัฒนานวัตกรรมในส่วนเศรษฐกิจเเละสังคมร่วมกันต่อไป