สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

NIA ร่วมสภาอุตฯ เปิดบริการ “IOP” ปิดจุดอ่อน SMEs เข้าไม่ถึงนวัตกรรม พร้อมจัดโปรแกรมประเมินธุรกิจฟรี!!

News 11 กุมภาพันธ์ 2563 3,053

NIA ร่วมสภาอุตฯ เปิดบริการ “IOP” ปิดจุดอ่อน SMEs เข้าไม่ถึงนวัตกรรม พร้อมจัดโปรแกรมประเมินธุรกิจฟรี!! หวังช่วย ผปก.ฝ่าคลื่นเทคโนโลยี Disrupt


ในโลกของการเปลี่ยนแปลง และการแข่งขันที่ไร้พรหมแดน การพัฒนาศักยภาพของตนเองให้เข้มแข็ง และความโดดเด่นด้วยนวัตกรรมจึงสำคัญมาก

NIA จึงร่วมมือกับสถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอุตสาหกรรมการผลิต (SMI) ก่อตั้งโปรแกรมพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรมองค์กร หรือ Innovative Organization Program : IOP เพื่อส่งเสริมขีดความสามารถด้านนวัตกรรมของผู้ประกอบการ SMEs และสตาร์ทอัพ ผ่านการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กร ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นโอกาสในการพัฒนาองค์กรไปในทิศทางที่ต้องการอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพด้วยนวัตกรรม

โดยโปรแกรม IOP ให้บริการยกระดับความสามารถทางนวัตกรรมองค์กรใน 3 ระดับคือ การประเมินศักยภาพนวัตกรรมขององค์กรด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ (Online Self Evaluation) การเข้าประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อระบุโอกาสในการพัฒนาศักยภาพ (On-site Assessment) และการให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรมองค์กร (Development Program) และจะเน้น 8 มิติที่สำคัญ ได้แก่

1. มิติด้านยุทธศาสตร์นวัตกรรม เป็นการวางยุทธศาสตร์และแผนงานด้านนวัตกรรมในระยะยาวสำหรับองค์กร

2. มิติด้านการมุ่งเน้นธุรกิจ เป็นการวางเป้าหมายการเติบโตด้านนวัตกรรมให้สอดคล้องกับบริบททางธุรกิจ

3. มิติด้านกระบวนการ เป็นการวางโครงสร้างกระบวนการด้านนวัตกรรมขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ

4. มิติด้านผลิตผล เป็นการวางแนวทางการติดตามและประเมินผลลัพธ์ด้านนวัตกรรมขององค์กร

5. มิติด้านบุคลากร เป็นการยกระดับความสามารถด้านนวัตกรรมของบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน

6. มิติด้านองค์ความรู้ เป็นการบริหารจัดการองค์ความรู้ที่สำคัญสำหรับการพัฒนานวัตกรรมทั้งจากภายในและภายนอก

7. มิติด้านวัฒนธรรม เป็นการสร้างวัฒนธรรมด้านนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการคิดและพัฒนาสิ่งใหม่

8. มิติด้านทรัพยากร เป็นการออกแบบการจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสมเพื่อกิจกรรมนวัตกรรม

#สำนักงานนวัตกรรม #NIA #innovation #IOP #InnovativeOrganization