สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

4C Strategy อัปเกรดระบบนิเวศนวัตกรรมไทย ไปกับบทบาทใหม่ของ NIA ‘Focal Facilitator’

18 ตุลาคม 2565 1,862

4C Strategy  อัปเกรดระบบนิเวศนวัตกรรมไทย ไปกับบทบาทใหม่ของ NIA ‘Focal Facilitator’

พร้อมอัปเกรดระบบนิเวศนวัตกรรมไทย! กับบทบาทใหม่ของ NIA และกลยุทธ์ที่จะพาประเทศไทยให้ก้าวเข้าสู่การเป็น “ชาติแห่งนวัตกรรม”

ถ้าเปรียบระบบนวัตกรรมเป็นเหมือนกับบางสิ่ง ก็คงเทียบได้กับวงออร์เคสตราวงใหญ่ที่กำลังบรรเลงบทเพลงอยู่บนเวที ซึ่งต้องอาศัยยอดฝีมือจากทั่วทุกสารทิศมานั่งทำหน้าที่ตามที่ตัวเองถนัดในตำแหน่งนั้นๆ โดยมีจุดหมายร่วมกันนั่นคือการบรรเลงบทเพลงให้ไพเราะที่สุด นั่นก็เพราะการพัฒนาระบบนวัตกรรม เราไม่สามารถขับเคลื่อนด้วยตัวคนเดียวได้ แต่ต้องอาศัยการเชื่อมโยงจากทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นทั้งจากภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา ภาคสังคม ให้ทำงานอย่างสอดคล้องกันผ่านการพัฒนาในหลายๆ มิติ

จึงเป็นเหตุผลให้ NIA ปรับบทบาทใหม่ในการเป็น “Focal Facilitator หรือ ผู้อำนวยความสะดวกทางนวัตกรรม” หรือก็คือเป็นคนกลางที่เชื่อมโยงคนทำงานเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาระบบนวัตกรรมที่จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย คล้ายๆ กับวาทยกร หรือ Conductor ในวงออร์เคสตราที่ทำหน้าที่ควบคุมวง ซึ่งแม้บทบาทนี้จะเป็นสิ่งที่ NIA ทำมาโดยตลอด 13 ปี แต่สำหรับก้าวต่อไปสู่การเป็น “ชาติแห่งนวัตกรรม” จึงจำเป็นต้องยกระดับกลไกการสนับสนุนให้มีความเข้มข้นมากขึ้น ผ่านกลยุทธ์ “4C” ที่จะเป็น Key Factor ดังต่อไปนี้

1. Catalyst “กระตุ้น” ปลุกทุกฝ่ายให้ตื่นตัว เน้นการทำงานอย่างใกล้ชิด ลงพื้นที่เพื่อกระตุ้นและเร่งสร้างให้เกิดแนวคิดทางนวัตกรรมในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นในระดับชุมชน ธุรกิจต่างๆ ไปจนถึงในระดับอุตสาหกรรม พร้อมมีการส่งเสริมนวัตกรรมผ่านกลไกทางการเงิน ฐานข้อมูลความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม และเครือข่ายในระบบ

2. Coach “ฝึกสอน” เป็นที่ให้คำปรึกษาเพื่อพัฒนาเป็นนวัตกรรมที่เห็นผลได้จริง โดยมีการบ่มเพาะศักยภาพตั้งแต่ระดับบุคลากรของ NIA เอง ไปจนถึงในระดับทั่วทุกพื้นที่ในประเทศไทย ให้เห็นแนวคิดและการต่อยอดธุรกิจนวัตกรรม ที่จะพัดพาโอกาสการลงทุนให้เข้ามาหาองค์กรได้ในอนาคต

3. Communicator “สื่อสาร” บอกเล่าความสำเร็จด้านนวัตกรรม ข่าวสาร รวมถึงองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกคนที่อยากจะพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรม และช่วยสร้างความเข้าใจถึงนโยบายด้านนวัตกรรมให้เห็นความพร้อมของประเทศไทยมากขึ้น รวมถึงวัฒนธรรมการทำงานแบบ Cross Function ระหว่างองค์กร ในแบบที่ NIA เป็นอยู่ในปัจจุบัน

4. Conduct “ขับเคลื่อน” ผลักดันให้เกิดโครงการที่จับต้องได้จริงร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร ตั้งแต่การนำร่องนวัตกรรมไปใช้ในพื้นที่ต่างๆ การสร้างกลไกทางการเงินรูปแบบใหม่รองรับความต้องการที่หลากหลาย การพัฒนาแพลตฟอร์มแบบเปิด (Open Data) ด้านข้อมูลนวัตกรรม และการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมา Transform องค์กร ไปสู่การเป็น Innovative Organization

ทั้งหมดนี้คือบทบาทของ NIA ที่จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาระบบนวัตกรรมที่เข้มแข็งมากขึ้น สร้างการเติบโตไปด้วยกัน และคำว่า “ชาติแห่งนวัตกรรม” หรือการเป็นประเทศที่ “ติด Top30 ในการจัดอันดับ Global Innovation Index (GII)” ก็เป็นเป้าหมายที่ไม่ไกลเกินฝัน ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากเข้ามาช่วยพัฒนาระบบนวัตกรรมของไทย เราก็พร้อมสนับสนุนคุณอย่างเต็มความสามารถ