สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

NIA ร่วมกับ หน่วยจัดการนวัตกรรมภาคใต้ชายแดน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุกหน้าผลักดันธุรกิจนวัตกรรมในพื้นที่ภาคใต้ชายแดนให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

News 3 พฤศจิกายน 2566 584

NIA ร่วมกับ หน่วยจัดการนวัตกรรมภาคใต้ชายแดน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุกหน้าผลักดันธุรกิจนวัตกรรมในพื้นที่ภาคใต้ชายแดนให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

CoachingProgram2024_1.jpg

 
เมื่อวันพุธที่ 1 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และหน่วยจัดการนวัตกรรมภาคใต้ชายแดน โดยศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อการส่งออก คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้จัดกิจกรรมแถลงข่าว “แนวทางการดําเนินงานโครงการนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ชายแดน ปีงบประมาณ 2567” ณ ห้อง EILA 6 ชั้น 8 สํานักการศึกษาและนวัตกรรม การเรียนรู้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้เพื่อสร้างการรับรู้และจุดประกายความคิดในการทำธุรกิจนวัตกรรมให้สามารถสร้างโอกาสการเติบโตได้อย่างรวดเร็ว พร้อมกับเร่งสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนตลอดจนการให้บริการแก่ผู้ประกอบการในพื้นที่
 
โดยได้รับเกียรติจาก รศ.นพ.สุนทร วงษ์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พร้อมด้วย ผศ.ดร.เสาวคนธ์ วัฒนจันทร์ คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส รองผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) นายภคพงศ์ พรมนุชาธิป ผู้จัดการพัฒนานวัตกรรมอาวุโส ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และ ผศ.ดร.ปุณณาณี สัมภวะผล หัวหน้าโครงการนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ชายแดน ร่วมแถลงข่าวผ่านหัวข้อกลไกต่างๆ อาทิ การส่งเสริมนวัตกรรมโดยการนำองค์ความรู้ด้านการวิจัยมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ แนวทางการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมในระดับภูมิภาคผ่านกลไกการให้ทุนต่างๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ รวมทั้งการเป็นศูนย์กลางการพัฒนานวัตกรรมในภูมิภาคใต้ชายแดน อีกทั้ง มีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมหลักสูตรฝึกอบรมการจัดการนวัตกรรม สำหรับพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมในพื้นที่ภาคใต้ชายแดน (DeepSouth Innovation Business Coaching Program) ในปีงบประมาณ 2567 สำหรับพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ชายแดน ประกอบด้วยจังหวัดสงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดย NIA ได้มีการสนับสนุนทุนนวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation) โดยเป็นทุนเริ่มต้นในพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมให้สามารถขยายผลเชิงพาณิชย์แก่ผู้ประกอบการในกลุ่ม Smart SMEs และ Startup ซึ่งมีมูลค่าสูงสุดสูงถึง 1,500,000 บาท
 
นอกจากนี้ ภายในงานได้จัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัย จากสำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันวิจัยและนวัตกรรมอาหาร สถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และผู้ได้รับทุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ในปีงบประมาณ 2566 ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนเกษตรแปรรูปพิกุลทอง OK DEE บริษัท ดีเอ็นเอ คอนซัลท์ จำกัด บริษัท ซีตา เซเว่น จำกัด วิสาหกิจชุมชนพัฒนาและแปรรูปน้ำยางตาชี บริษัท นิวทรีชั่น เอ็กซ์เปอร์ตส์ จำกัด บริษัท จีฟินน์ รับเบอร์ เทค จำกัด เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และเปิดโอกาสการสร้างการรับรู้ถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากยิ่งขึ้น