สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

NIA โชว์ความสำเร็จนวัตกรรมเกษตรและอาหารจากระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค พร้อมส่งต่อจาก Local สู่ Global

News 16 ธันวาคม 2567 50

NIA โชว์ความสำเร็จนวัตกรรมเกษตรและอาหารจากระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค พร้อมส่งต่อจาก Local สู่  Global


สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร จัดงานแสดงสินค้านวัตกรรมด้านเกษตรและอาหาร (AgriFood Connext 2024) ภายใต้กิจกรรมเร่งสร้างและยกระดับศักยภาพวิสาหกิจฐานนวัตกรรมด้านเกษตรและอาหารในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภูมิภาค (16 จังหวัด) ณ ศูนย์การค้าเอ็มสเฟียร์ ชั้น 2 เมื่อวันที่ 6 - 8 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา 

ภายในงานมีการนำเสนอสินค้านวัตกรรมด้านเกษตรและอาหารของผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมคนไทย 60 บริษัท ที่ผ่านการอบรมพัฒนาศักยภาพ ตลอดระยะเวลา 4 เดือน ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้การเพิ่มศักยภาพการเติบโตให้กับธุรกิจ ตลอดจนการให้คำแนะนำ (Mentoring) ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Product development) การสร้างเรื่องราวให้กับแบรนด์และนำเสนอออกมา (Brand Storytelling) การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด (Marketing Strategy) จากผู้เชี่ยวชาญระดับมืออาชีพที่มีประสบการณ์ในภาคธุรกิจเกษตรและอาหารชั้นนำระดับประเทศ จนสามารถพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตอบโจทย์กับความต้องการของลูกค้าเป้าหมาย

โดยได้รับเกียรติจาก ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการ NIA กล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า "NIA มุ่งเน้นในการวางบทบาทในฐานะ Focal Conductor หรือ ผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรม โดยมุ่งเน้นเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับพันธมิตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม ผ่านเครื่องมือ 4 กลไกหลัก “Groom-Grant-Growth-Global” และ NIA ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบนวัตกรรมในระดับพื้นที่ (Regionalization) ด้วยการสร้างโอกาสและความร่วมมือด้านนวัตกรรม และเข้าถึงการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานทางนวัตกรรมในระดับพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ระเบียงเศรษฐิกจพิเศษที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้เกิดการกระจายโอกาสของนวัตกรรม การลงทุนในพื้นที่ เกิดการจ้างงาน นำไปสู่การยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศจากการใช้ประโยชน์จากศักยภาพเชิงพื้นที่ และเกิดการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เช่น การดำเนินงานกิจกรรม AgriFood Connext จัดเป็นกลไก Growth เพื่อยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมด้านเกษตรและอาหาร ให้สามารถเพิ่มยอดขายจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์หรือบริการ เพิ่มโอกาสการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย สร้างโอกาสทางธุรกิจและต่อยอดการลงทุน นำไปสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ"

นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจาก ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส รองผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจและสังคม NIA ได้กล่าวแสดงความยินดี พร้อมมอบใบประกาศนียบัตรแก่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ และได้กล่าวถึง 7 กลไกการสนับสนุนด้านเงินทุนเพื่อให้ธุรกิจนวัตกรรมเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ได้แก่ 1. กลไกทุนโครงการนวัตกรรมแบบมุ่งเป้า (Thematic Innovation) ทดสอบความเป็นไปได้ทางการตลาด และการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์หรือบริการนวัตกรรม 2. กลไกการสนับสนุนที่ปรึกษาเพื่อพัฒนานวัตกรรม (MIND) เพื่อจ้างที่ปรึกษาและปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานภายในองค์กร 3. กลไกการสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานสำหรับธุรกิจนวัตกรรม (Standard Testing) เพื่อขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์หรือขอรับรองมาตรฐานที่สำคัญต่อการเติบโตทางธุรกิจ 4. กลไกการขยายธุรกิจนวัตกรรม (Market Expansion) เพื่อสนับสนุนการทดสอบนวัตกรรมในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 5. กลไกสนับสนุนดอกเบี้ยบางส่วนเพื่อเสริมสภาพคล่อง (Matching Interest for Working Capital) 6. กลไกนวัตกรรมดี...ไม่มีดอกเบี้ย (Zero Loan Interest) และ 7. กลไกการสนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้มีโอกาสเติบโตและขยายตลาดโดยการร่วมมือจากแหล่งทุนภาครัฐและเอกชน (Corporate Co-funding) โดยในปี 2568 – 2569 NIA มีแผนงานสนับสนุนทุนธุรกิจนวัตกรรมแบบมุ่งเป้า ซึ่งกลุ่มเทคโนโลยีเกษตรและอาหาร เป็นหนึ่งในสาขาเป้าหมายที่ NIA ให้การสนับสนุน

สำหรับผลการจัดงานครั้งนี้ ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ที่สนใจเยี่ยมชม มีการจับคู่ธุรกิจระหว่างบริษัทธุรกิจค้าปลีก นักลงทุน หรือผู้แทนจำหน่ายสินค้ากับผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมที่เข้าร่วมโครงการ (Business Matching) ไม่น้อยกว่า 36 คู่ สร้างโอกาสให้เกิดรายได้หลังจากเข้าร่วมโครงการ ภายใน 1 ปี คิดเป็นมูลค่า 53 ล้านบาท 

ทั้งนี้ หากมีบริษัทธุรกิจค้าปลีก นักลงทุน หรือหน่วยงานใด ที่สนใจสินค้านวัตกรรมด้านเกษตรและอาหาร ผู้ประกอบการทั้ง 60 บริษัท สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นายสิรพัฒน์ ชนะกุล โทรศัพท์ : 02-017 5555 ต่อ 543 มือถือ : 091-541 5542 อีเมล : [email protected]