สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

สนช. บ่มเพาะเยาวชนสู่โลกยุคใหม่

News 14 มิถุนายน 2561 2,892

NIA ร่วมกับองค์กร Career Visa Thailand

จัดกิจกรรม “FOUNDER APPRENTICE” กิจกรรมจับคู่นิสิต นักศึกษา และผู้ที่จบการศึกษาใหม่ กับกลุ่มผู้ประกอบการด้านธุรกิจนวัตกรรม 22 แห่ง เพื่อให้ได้ทดลองทำงานจริง ตลอดจนได้ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะนวัตกรรมและสตาร์ทอัพอย่างเข้มข้น โดยโครงการดังกล่าวนี้ เป็นหนึ่งในกิจกรรมภายใต้ยุทธศาสตร์ “STEAM 4 INNOVATOR” 
“STEAM 4 INNOVATOR” หรือ สตีม ฟอร์ อินโนเวเตอร์ เป็นการบ่มเพาะศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม และการนำนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ประกอบอาชีพของแต่ละบุคคลในอนาคต ด้วยการใช้พื้นฐานของ “STEAM” 5 องค์ความรู้ที่สำคัญจากวิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) ศิลปศาสตร์ (Arts) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) ซึ่งเป็นกระบวนการช่วยให้กลุ่มเยาวชนในทุกระดับเติบโตในสายอาชีพด้านนวัตกรรมได้อย่างแข็งแกร่งมากขึ้น
สำหรับกิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการนวัตกรรมให้กับกลุ่มคนรุ่นใหม่ หรือ “FOUNDER APPRENTICE” นี้เป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มนิสิต – นักศึกษา และผู้ที่จบการศึกษาใหม่ ได้ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะนวัตกรรมร่วมกับสตาร์ทอัพ และกลุ่มผู้ประกอบการด้านธุรกิจนวัตกรรมกว่า 22 แห่ง ซึ่งมีนิสิต-นักศึกษาและผู้ที่จบการศึกษาใหม่สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรม 120 คน แต่สามารถผ่านด่านการสัมภาษณ์เพื่อจับคู่กับผู้ประกอบการจริงจำนวน 30 คน โดยเป็นการจับคู่ที่ทั้งสองฝ่ายได้มีโอกาสเลือกซื่งกันและกัน ถูกใจกันไปทั้งสองฝ่าย

 

สิ่งที่น้องๆ จะได้รับจากการเข้าร่วมโครงการนี้คือ

1) ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะนวัตกรรมและธุรกิจ
2) ฝึกงานแบบ Project-based Internship แก้โจทย์ทางธุรกิจ ในระยะเวลา 8 สัปดาห์ กับสถานประกอบการที่มีนวัตกรรม ทั้ง Startups, SMEs และ Social Enterprise
3) ประชุมกับผู้ก่อตั้งธุรกิจนวัตกรรม และแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เริ่มต้นธุรกิจ
4) พี่เลี้ยงคอยให้คำปรึกษาเป้าหมายอาชีพ และสุดท้าย
5) Networking โอกาสนำเสนอผลการฝึกงานและสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการนวัตกรรมรุ่นใหม่

เรียกว่านอกจากจะได้เรียนรู้งานจากเจ้าของหรือผู้ก่อตั้งธุรกิจนวัตกรรมตัวจริงเสียงจริงแล้ว ยังมีโอกาสได้ทดลองทำงานจริง ผ่านการรับโจทย์ทางธุรกิจที่ตรงกับแผนพัฒนาทักษะตามความถนัดหรือความสนใจ อาทิ การวางแผนทำตลาด การออกแบบแอปพลิเคขั่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของผู้บริโภค ฯลฯ นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ยังจะได้เรียนรู้หลักสูตรและเนื้อหาต่างๆ เกี่ยวกับทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานจริงในโลกปัจจุบันที่หาไม่ได้จากห้องเรียนทั่วไป เช่น เทคนิคการเจรจาต่อรองธุรกิจ การทำแคมเปญการตลาดจากผลิตภัณฑ์จริง กระบวนการคิดเชิงออกแบบ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวนี้ จะเป็นหนึ่งในโซลูชั่นที่จะทำให้กลุ่มเยาวชนไทยมีความพร้อมด้านนวัตกรรม เกิดการสร้างเครือข่ายระหว่างกัน และยังทำให้มีความมั่นใจในการเลือกประกอบอาชีพในอนาคตได้มากขึ้น