สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

NIA ลงพื้นที่ภาคตะวันออก เยี่ยมชมผลการดำเนินงาน พร้อมสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่ในระดับภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง

News 25 มีนาคม 2567 1,001

NIA ลงพื้นที่ภาคตะวันออก เยี่ยมชมผลการดำเนินงาน พร้อมสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่ในระดับภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง

Visited the eastern region_1.jpg

 
คณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงพื้นที่เยี่ยมชมผลการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่ของ NIA ซึ่งพัฒนาร่วมกับเครือข่าย ณ จังหวัดจันทบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 14 - 16 มีนาคม 2567
 
โดยได้เยี่ยมชมการดำเนินโครงการ "ระบบเฝ้าระวังช้างป่าโดยชุมชน ด้วยการประมวลผลภาพช้างป่าแบบอัตโนมัติ" ของ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ชอง-มู-แฮง จังหวัดจันทบุรี ซึ่ง เป็นโครงการที่ต่อยอดจากโครงการเสริมระบบเฝ้าระวังการจัดการช้างป่าและการท่องเที่ยวชุมชนหมู่บ้านคชานุรักษ์บ้านคลองตาอิน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม ประจำพื้นที่ภาคกลาง สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2565 จากการดำเนินงานของชุมชนและโครงการที่ได้รับสนับสนุนนั้น สามารถเฝ้าระวังการจัดการช้างป่า ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ และผลจากการถอดบทเรียนการทำงานของชุมชน ในรูปแบบนวัตกรรมเชิงระบบที่ชุมชนสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้จากระบบการจัดการช้างป่าในพื้นที่ด้วยการไม่ใช้ความรุนแรง และการใช้จิตอาสาของคนในชุมชน
 
จากนั้นได้เข้าเยี่ยมชมและหารือความร่วมมือกับหน่วยงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ได้แก่ สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) และ “เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก” (Eastern Economic Corridor of Innovation) หรืออีอีซีไอ (EECi) โดย NIA ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการส่งเสริมนวัตกรรมและการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมบนฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงกับสถาบันวิทยสิริเมธี และ และบริษัท วิสอัพ จำกัด (VISUP)
 
และสุดท้ายได้เดินทางมายังบริษัท ไทย อชิเทค จำกัด จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อเยี่ยมชมโครงการพัฒนาชุดประกอบและดัดแปลง สำหรับรถแทรกเตอร์ไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง เริ่มต้นพัฒนาโครงการด้วยการสร้างชุด E-TRACTOR CONVERSION และอุปกรณ์ต่อพ่วงเครื่องตัดหญ้า Flailmower สำหรับรถแทรกเตอร์ ซึ่งสามารถใช้งานได้แล้วในเบื้องต้น มีพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกับ บริษัท ซี.เอ็น.ไอ.เอ็นจิเนียริ่ง ซัพพลาย จำกัด โดยมีพื้นฐานทางกลุ่มงานรถยนต์และกลุ่มงานเครื่องจักรกลเกษตร ด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ที่หลากหลายทำให้สามารถดำเนินการจัดสร้างโครงงานต่างๆ ได้รวดเร็วและมีมาตรฐาน นอกจากนี้ บริษัทยังได้รับความร่วมมือจากทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชาอีกด้วย