สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

เจาะลึกประสบการณ์จริงการแก้ไขปัญหาของการเกษตรด้วยนวัตกรรมจากไทยและญี่ปุ่น

News 2 ธันวาคม 2562 11,210

เจาะลึกประสบการณ์จริงการแก้ไขปัญหาของการเกษตรด้วยนวัตกรรมจากไทยและญี่ปุ่น


สรุปงานสัมมนา “THAILAND-JAPAN SMART FARMING: SHARING EXPERIENCE” โดยเป็นการจัดงานระหว่าง สนช. โดยศูนย์สร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร (Agro Business Creative Center: ABC Center) ร่วมกับ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา เมื่อวัน 18 กันยายน 2562 ที่ผ่านนั้น

เพราะเกษตรกรรมยังเป็นหัวใจหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย เหมือนกับคำพูดที่ว่า เมืองไทยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ มาตั้งแต่โบราณ ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง โลกที่ทันสมัยยิ่งขึ้น การที่เทคโนโลยี นวัตกรรมเข้ามีบทบาทในภาคการเกษตรไม่เพียงจะสามารถแก้ปัญหา เกษตรกรที่ลดลง แต่ยังสามารถพัฒนาคุณภาพสินค้าด้านการเกษตรให้ดียิ่งขึ้นไปอีกด้วย

จะเห็นได้ว่าปัญหาสำคัญของภาคการเกษตรของไทยและญี่ปุ่น มีปัญหาที่คล้ายกันไม่แตกต่างกัน ก็คือ ปัจจุบันคนหันมาประกอบอาชัพเกษตรกรน้อยลง โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ที่มองว่า เป็นงานที่หนักและได้ผลตอบแทนที่ไม่คุ้มค่า อีกทั้งทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด และสภาพภูมิอากาศที่คาดเดายาก แต่การเกษตรเป็นแหล่งการผลิตอาหารที่สำคัญ ที่มองได้ว่าเกษตรกร 1% ต้องผลิตอาหารให้คนถึง 99% ที่จะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ดังนั้นต้องมาแนวทางใหม่ๆ ที่ใช้นวัตกรรมมาใช้ในการตอบโจทย์ปัญหา

การจะเลือกทำอะไรนั้นก็จำต้องดูแนวโน้มและทิศทางการพัฒนา Smart Farming โดย ผศ.ดร.สิริวัฒน์  สาครวาสี คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มาชี้ประเด็นว่า เกษตรกรควรใช้เทคโนโลยีที่นำสมัย มาช่วยในการตัดสินใจมากขึ้น เช่น การมีข้อมูล Big Data ในการรวบรวมข้อมูลด้านการเกษตร ใช้ Machine Learning ในการคำนวนหาความเป็นไปได้เพื่อชนะฟ้า ฝน ที่เปลี่ยนแปลง โดยอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่มาใช้วิเคราะห์อย่างเป็นระบบ นำไปใช้เกิดการใช้งานได้อย่างเที่ยงตรง 

สภาวะการขาดแคลนแรงงานเกษตรกรนี้นี่ไม่ได้เกิดกับแค่ในประเทศไทยเท่านั้นแต่เกิดในประเทศญี่ปุ่นเช่นกัน วิทยากรจากประเทศญี่ปุ่นแต่ละท่านจึงได้ถ่ายทอด วิธีการแก้ปัญหาเริ่มจาก

คุณโคอิจิ วาดะ ผู้จัดการวิสาหกิจการเกษตร ของเมือง ยามาโมโตะ ได้พูดถึง ปัญหาการลดลงของเกษตรกรในเมืองยามาโมโตะ มีการแก้ปัญหา โดยการสร้างตราสินค้าข้าว “Tosa Tenku no Sato” ซึ่งเพิ่มมูลค่าข้าวจาก 30 กิโลกรัม 2,000 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท ทำให้คนรุ่นใหม่หันมาทำการเกษตรมากขึ้น โดยการควบคุมตั้งแต่การเพาะปลูกในทุกขั้นตอน ใส่ใจรายละเอียด จากภูมิปัญญาท้องถิ่นของเทคนิคการปลูกข้าวอร่อย ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีที่สามารถอธิบายปัจจัยสำคัญในการควบคุม เช่น ระยะเวลาการเก็บเกี่ยวจากประสบการณ์ มาใช้เซนเซอร์มาตรวจวัดอุณหภูมิ ปริมาณแสงแดด น้ำ ใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์บอกเวลาที่ถูกต้องในการเกี่ยวข้าว เพื่อควบคุมคุณภาพข้าวให้มีคุณภาพสม่ำเสมอ 

ต่อด้วย คุณทากะยูกิ ยามะโมโตะ การทำเกษตรแบบไม่ใช้สารเคมี “Konotori Hagukumu” ที่แก้วิกฤต การสูญพันธ์ของนกกระสา เนื่องจากการใช้สารเคมีของเกษตรกร ทำให้อาหารของนกกระสาลดลง เป็นโอกาสโดย สร้างแบรนด์ข้าวที่เป็นมิตรกับนกกระสา จนกลายเป็นที่นิยม สร้างมูลค่าเพิ่มได้กว่า 1.7 เท่าของราคาเดิม

และอีกแนวทางจากหน่วยงานภาครัฐของคุณ ชินอิจิ นากาโนะ นักวิจัย สถาบันการเกษตรอะวะจิ และคุณไดซูเกะ นากาโนะ ผู้แทนจังหวัดเฮียวโกะ กล่าวถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเกษตร นำมาสร้างเป็นโมเดลอัจฉริยะ อย่างแรกคือใช้โดรนในการ สำรวจ ดูแล และคาดการณ์ การเก็บเกี่ยวของผักกาดแก้ว แต่ละสายพันธุ์โดยใช้ ซอฟแวร์ในการแสดงภาพ ทำให้ประสิทธิภาพในการปลูกผักกาดแก้วเพิ่มมากขึ้น อย่างที่สองคือการตั้งโรงเรือนตัวอย่างโดยใช้เทคโนโลยีระดับสูง ในการควบคุมสิ่งแวดล้อมและสารเคมี ในการผลิต สตอเบอรี่ หอมหัวใหญ่ และ มะเขือเทศ 

ส่งท้ายด้วยกรณีของภาคเอกชนคุณซูซูม  ทานะกะ ลูกหลานเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จด้านธุรกิจ นำองค์ความรู้และการบริหารจัดการของเอกชนมาใช้ในการเกษตรมาตั้งบริษัท Hyogo Next farm ในการปลูกมะเขือเทศในโรงเรือน โดยควบคุมสภาพแวดล้อม และใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซน์ จาก biomass และนำหุ่นยนต์ เข้ามาเก็บเกี่ยวโดยใช้การวิคราะห์จาก AI ทำงานเหมือนโรงงานการผลิต สามารถส่งผลผลิตได้อย่างแม่นยำ ทำให้คนรุ่นใหม่หันเข้ามาทำ การเกษตรมากขึ้น

ข้อสรุปประเด็นสำคัญของแนวทางการแก้ไขปัญหาของการเกษตรด้วยนวัตกรรมจากไทยและญี่ปุ่น ดังนี้

1. เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคการทำเกษตรแบบขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

ข้อมูล คือสิ่งสำคัญสำหรับการทำเกษตรในยุคต่อไป ข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์แล้วจะสามารถนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจในบริบทต่างๆ ทำให้การทำเกษตรมีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้บรรยายจากประเทศญี่ปุ่นหลายท่านกล่าวถึงการนำข้อมูล เช่น ค่าผลรวมของอุณหภูมิเฉลี่ยในแต่ละวัน และภาพถ่ายสามมิติจากโดรน มาใช้ทำนายปริมาณและช่วงเวลาที่จะได้เก็บเกี่ยวผลผลิต ข้อมูลลักษณะนี้ทำให้เกษตรกรมีอำนาจต่อรองกับผู้ซื้อมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการนำข้อมูลภาพถ่ายแบบเก็บข้อมูลหลายช่วงคลื่น (Multispectral Image) มาใช้เพื่อวัดปริมาณไนโตรเจนในพืช และตรวจสุขภาพพืชในแปลง ช่วยให้เกษตรกรแก้ไขปัญหาในแปลงได้อย่างรวดเร็ว

2. การขาดแคลนแรงงานในภาคการเกษตรคือปัญหาใหญ่ในเวลานี้

ไทยและญี่ปุ่นต่างกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการเกษตรอย่างหนัก ลูกหลานเกษตรกรก็ไม่อยากทำเกษตรอีกต่อไปแล้ว มีการนำเสนอข้อมูลจากเมืองโมโตยามะที่เป็นเมืองขนาดเล็ก ในปี ค.ศ. 2000 มีเกษตรกรเกือบ 400 คน แต่พอถึงปี ค.ศ. 2015 มีเหลือเพียง 263 คนเท่านั้น ที่สำคัญในจำนวนนี้ประมาณ 2 ใน 3 มีอายุเกิน 65 ปี ถือเป็นเรื่องสุ่มเสี่ยงต่อความมั่นคงทางอาหารอย่างมาก ภาครัฐ จึงต้องมีมาตรการในการดึงดูดให้คนหันมาทำการเกษตรกันมากขึ้นกว่าเดิม เช่น การสนับสนุนเทคโนโลยีที่ช่วยประหยัดแรงงาน มีตัวอย่างการใช้เซนเซอร์เก็บข้อมูลระดับน้ำที่แปลงนาข้าวโดยเกษตรกรสามารถดูข้อมูลจากที่บ้านได้ผ่านมือถือ ลดภาระงานในการไปตรวจดูแปลงตลอดเวลา

3. ผลผลิตทางการเกษตรจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นด้วยการสร้างเรื่องราว

ผลผลิตทางการเกษตรจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเมื่อมีเรื่องราวที่มา ผู้แทนจากเมืองโทโยโอกะ เล่าเรื่องราวของนกกระสา สัตว์ที่เคยเป็นจุดเด่นของเมือง แต่ต้องสูญพันธุ์ไปเพราะการใช้สารเคมีในภาคการเกษตรไปทำให้สัตว์ที่เป็นอาหารของนกกระสาอย่างกบและแมลงตาย เพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและนำนกกระสากลับมา ทางเมืองจึงนำนกกระสาจากต่างประเทศเข้ามาเพื่อขยายพันธุ์และมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบไปทำการเกษตรแบบปลอดสารเคมี ในปัจจุบันนาข้าวที่เมืองจะสามารถเห็นนกกระสาบินอยู่รอบๆ ข้าวปลอดสารเคมีที่ผลิตออกมาได้เรียกว่า “ข้าวที่เป็นมิตรกับนกกระสา” ผลปรากฏว่าได้รับการตอบรับดี ขายได้ในราคาที่สูงกว่าปกติ 70%

4. อีกไม่นานเราจะได้ใช้เครื่องจักรเกษตรที่ทำงานในแปลงได้โดยไม่ต้องใช้คนขับ

มีการพัฒนาระบบอัตโนมัติของเครื่องจักรเพื่อตอบสนองแนวโน้มการขาดแคลนแรงงานในภาคการเกษตร บริษัทคูโบต้านำเสนอเทคโนโลยีรถแทรกเตอร์ รถดำนา รถเกี่ยวนวดข้าว และเครื่องจักรเกษตรอื่นๆ ที่ทำงานในแปลงได้เองโดยไม่ต้องใช้คนขับ เครื่องจักรเหล่านี้ติดตั้งระบบ GPS และระบบขับอัตโนมัติ (Autopilot) เหมือนในเครื่องบิน ทำงานได้ทั้งวันทั้งคืน ในการทำงาน เครื่องจักรหลายเครื่องสามารถทำงานพร้อมๆ กันได้ในแปลงเดียวเพื่อความรวดเร็ว เครื่องจักรทั้งหมดกำลังอยู่ในช่วงการทดสอบและน่าจะได้นำมาใช้จริงเร็วๆ นี้

https://www.youtube.com/watch?v=od0rudqcWP4