สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
การให้บริการของ NIA
ความเคลื่อนไหวของ NIA
ช่องทางในการติดต่อกับ NIA
NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำโดย ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส รองผู้อำนวยการด้านการเงินนวัตกรรม เข้าร่วมงาน RSP South Halal Gateway เปิดประตูอุตสาหกรรมฮาลาลไทยสู่ตลาดโลก จัดโดยอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้
งาน RSP South Halal Gateway เปิดประตูอุตสาหกรรมฮาลาลไทยสู่ตลาดโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบนิเวศในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจฮาลาล ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งเป็นการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการในพื้นที่ ที่ก่อให้เกิดความยั่งยืน โดยใช้งานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยกิจกรรม RSP South Halal Gateway เปิดประตูอุตสาหกรรมฮาลาลไทยสู่ตลาดโลก จะเป็นจุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมฮาลาล ของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้ อย่างเป็นระบบ และถือเป็นการเปิดตัว Platform บริการ และเป็นการสร้างการรับรู้และการประชาสัมพันธ์ รวมถึงการสร้างและพัฒนาเครือข่ายเพื่อการทำงานร่วมกันในอนาคต
ทั้งนี้ NIA ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจในการสนับสนุน พัฒนาผู้ประกอบการด้วยฐานนวัตกรรม ได้เล็งเห็นโอกาสในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมฮาลาล จึงร่วมมือกับอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้ ร่วมผลักดันให้เกิดการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาใช้เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลอย่างเป็นระบบ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ประกอบการ SMEs และวิสาหกิจชุมชนที่สนใจในการดำเนินธุรกิจด้านอุตสาหกรรมฮาลาลในพื้นที่ภาคใต้ โดยมีเป้าหมายในการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการที่สอดคล้องกับหลักชะรีอะห์ของอิสลาม
โครงการการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลสู่ตลาดโลก มีการดำเนินงาน 7 มิติ ได้แก่
- ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนฮาลาล
- การพัฒนากำลังคนเพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมฮาลาล
- การพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการและโครงสร้างพื้นฐานด้านฮาลาล
- การพัฒนาศักยภาพและยกระดับการประเมินและรับรองมาตรฐาน
- การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมฮาลาล
- การเชื่อมโยงผู้ประกอบการนวัตกรรมฮาลาลสู่ตลาดโลก
- การสร้างและพัฒนาเครือข่าย
โดยมิติการพัฒนาดังกล่าว เป็นแผนในระยะ 5 ปี (นับจากปี 2567 - 2571) ซึ่งในปี 2568 อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้ ต้องการผลักดันให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมนวัตกรรมฮาลาลด้วยบริการที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่
- Halal Skills for future service การเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในโลกอนาคตเพื่อความสำเร็จในอุตสาหกรรมฮาลาล
- Halal Science Hub ศูนย์วิจัยและห้องปฏิบัติการเพื่อธุรกิจฮาลาล
- Halal Consult & Certification service บริการให้คำปรึกษาและดำเนินการขอรับรองเครื่องหมายฮาลาล
- Tech-Driven Halal Solutions การขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อยกระดับธุรกิจฮาลาล
- Scaling Halal Innovation การขยายโอกาสนวัตกรรมเพื่อธุรกิจฮาลาลที่ยั่งยืน
- Creative Halal Solutions การสร้างสรรค์งานออกแบบเพื่อธุรกิจฮาลาล
- Halal to Global การเชื่อมโยงผู้ประกอบการไทยสู่ตลาดฮาลาลโลก
นอกจากนี้ ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส ยังเข้าร่วมเสวนาในหัวข้อ "เปิดประตูสู่โลกฮาลาล: โอกาสและความท้าทายของผู้ประกอบการยุคใหม่" โดยได้ร่วมนำเสนอมิติขอการสนับสนุน เช่น แหล่งเงินทุน แนวทางการเข้าถึงโอกาส และกลไกการเงินนวัตกรรมผ่านการสนับสนุนของ NIA อีกด้วย
#NIA #RSPSouthHalalGateway #Innovation #Halal #Halalinnovation