สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
การให้บริการของ NIA
ความเคลื่อนไหวของ NIA
ช่องทางในการติดต่อกับ NIA
“ABC Center” จัดเต็มกิจกรรมเรียนรู้ เสริมทักษะ AgTech Startup ในโครงการ Inno4Famers
“ABC Center” จัดเต็มกิจกรรมเรียนรู้ เสริมทักษะ AgTech Startup ในโครงการ Inno4Famers สร้างแรงผลักดันประยุกต์ใช้นวัตกรรมพลิกโฉมการเกษตรไทย ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ในยุค New Normal
NIA โดย ศูนย์สร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร (ABC center) จัดกิจกรรมเรียนรู้ (Learning Activity) เสริมทักษะให้กับสตาร์ทอัพด้านการเกษตร และบริษัทพันธมิตรที่เข้าร่วมโครงการ Inno4Farmers - The First AgTech Co-creation Program ที่ได้กูรูชั้นยอด วิทยากรชั้น และสตาร์ทอัพเกษตรรุ่นพี่สายดีฟเทค ถ่ายทอดความรู้และแชร์ประสบการณ์ตรง พร้อมสร้างแรงผลักดันให้สตาร์ทอัพทุกทีมก้าวไปสู่ความสำเร็จทางด้านการเกษตรไทย
เริ่มต้นด้วยแนวนโยบายที่ทำได้จริงจาก ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA ให้แนวคิดไว้ว่า AgTech Startup ที่ได้รับการคัดเลือกจะเป็น Change Maker เปลี่ยนอุตสาหกรรม Sunset สร้างอนาคตของอุตสาหกรรมเกษตรจะต้องพึ่งพาแรงงานคนน้อยลง ใช้เครื่องจักรมากขึ้น โดยการร่วมกับ Smart Farmer ที่มีหัวใจหลักสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1) ความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยี ที่ไม่ใช่แค่เรื่องดิจิทัล แต่เป็นองค์ความรู้นวัตกรรมทางเทคโนโลยี เกี่ยวกับความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพและการเกษตร 2) ตัวเกษตรกร ต้องมีความสามารถในการทำงานร่วมกับ Startup โดยเฉพาะการนำ Deep Tech ไปประยุกต์ใช้งาน และ 3) ให้บริการร่วมกับภาครัฐเป็นผู้ส่งเสริม โดยตัวเกษตรกรเป็นผู้ใช้ และ Startup เป็นผู้ให้บริการ
หลังจากนั้นเริ่มหลักสูตรการเรียนที่ได้รับเกียรติมาเป็นวิทยากรชั้นนำในวงการสตาร์ทอัพสาย Deep Tech ในการถ่ายทอดความรู้ แชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีในการสร้างธุรกิจให้เกิดการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในโมดูลแรกเริ่มด้วยการกำจัดจุดอ่อนของสตาร์ทอัพไทยมองตลาดแค่ในประเทศ ด้วยการสร้างมุมมองระดับโลก (Global Strategy Mindset) เริ่มจากการมองให้เห็นแนวโน้มที่สำคัญของโลกที่จะเปลี่ยนไปในโลกของเทคโนโลยีเป็นการนำทางในการแก้ปัญหารูปแบบใหม่ๆ โดย ผศ.ดร.สิริวัฒน์ สาครวาสี ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับประสบการณ์จริงจากสตาร์ทอัพไทยในการนำเทคโนโลยีขั้นสูง Deep Tech มาใช้ในภาคการเกษตร อย่าง ดร.มหิศร ว่องผาติ กรรมการผู้จัดการและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เอชจี โรโบติกส์ จำกัด จบท้ายด้วย แนวคิดด้านการเป็นสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีทางการเกษตรระดับโลกที่ประสบความสำเร็จ Mr.Henri Hekman Executive Agrocare Netherland ผู้ให้บริการตรวจวัดคุณภาพของดินแบบ Real Time ด้วยเทคโนโลยี NIR โดยสามารถขยายธุรกิจไปทั้งแอฟริกา และเอเซีย
ต่อจากนั้น เป็นการเจาะลึกการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเชิงลึกที่จะนำมาใช้ทางการเกษตรผ่านการปรับพื้นฐานสำคัญ ในการสร้างให้เห็นความสำคัญของ กระบวนการนำข้อมูลด้านการเกษตรมาวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์และประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มคุณค่ากับระบบห่วงโซ่อุปทาน โดยได้รับเกียรติจาก ผศ. ดร. ธีรยุทธ์ โหรานนท์ ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อด้วยการพัฒนานวัตกรรมด้าน Mechatronicsและวิทยาการหุ่นยนต์ (Fundamental of Mechatronics & Robotics) โดย ผศ.ดร.หทัยเทพ วงศ์สุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Mechatronics, Automation, Robotics คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน และจบท้ายด้วย การเรียนรู้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สำหรับภาคเกษตรกรรมเบื้องต้น (Introduction to Agricultural Intelligence) ดร.มนฤทัย ระดีรมย์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI เพื่อสร้างให้เกิดการเชื่อมโยงการพัฒนาเทคโนโลยีสู่ภาคธุรกิจได้จริง (University-Industry Linkage)
เมื่อสตาร์ทอัพมีเทคโนโลยีที่ดี แต่สิ่งสำคัญคือการออกแบบให้ตรงใจกับผู้ใช้งาน ดังนั้นกระบวนการออกแบบเชิงอุตสาหกรรมและวิศวกรรม ที่ตอบโจทย์ธุรกิจยุคใหม่ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (Industrial Design (UX/UI)) โดย คุณการันต์ โรจน์กาญจนรักษ์ Industrial Designer & Founder of Carbon Design
ส่วนสำคัญด้านการสนับสนุนธุรกิจที่เป็นพื้นฐานที่สตาร์ทอัพต้องเรียนรู้เข้าใจคือ ความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายธุรกิจเกี่ยวข้องกับภาคเกษตร และข้อตกลงการปกปิดความลับ โดย คุณรับขวัญ โชติธรรมรงค์กุล ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Law x Tech ที่ปรึกษากฎหมาย ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายที่มีประสบการณ์การให้คำปรึกษากับธุรกิจเทคโนโลยี ในส่วนสำคัญที่ของสตาร์ทอัพสายดีพเทคที่มีเทคนิคที่ดี จึงต้องเพิ่มเทคนิคในการนำเสนอต่อนักลงทุน หรือต่อลูกค้า ที่ต้องสร้างบริบทให้ตรงใจกับกลุ่มเป้าหมาย โดยคุณพงศธร ธนบดีภัทร CEO- Refinn และมุมมองสำคัญของนักลงทุนที่จะมองหาลงทุนและร่วมเป็นพันธมิตรกับ Deep tech Startups โดยคุณพณัญญา เจริญสวัสดิ์พงศ์ หัวหน้าฝ่ายนวัตกรรมและธุรกิจ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด
จากการถอดรหัสสตาร์ทอัพเพื่อกำจัดจุดอ่อนและเสริมจุดแข็ง เพื่อสร้างหลักสูตรการเรียนรู้เฉพาะเจาะจงสำหรับ DeepTech Startup ด้านการเกษตรเพื่อปรับพื้นฐานในการประยุกต์ใช้นำองค์ความรู้ ประสบการณ์ตรงจากสตาร์ทอัพสายดีพเทคที่ประสบความสำเร็จทั้งในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการและสร้างศักยภาพสู่ธุรกิจนวัตกรรมระดับโลก...โปรดติดตามผลงานของสตาร์ทอัพด้านการเกษตรของโครงการ Inno4Farmers ที่จะมาพลิกโฉมวงการเกษตรไทย
#Inno4Farmers #NIA #ABCcenter #DeepTechxAgTechStartup #CoCreation #พลิกโฉมเกษตรไทย