สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
การให้บริการของ NIA
ความเคลื่อนไหวของ NIA
ช่องทางในการติดต่อกับ NIA
NIA ร่วมสภาอุตฯ เปิดบริการ “IOP” ปิดจุดอ่อน SMEs เข้าไม่ถึงนวัตกรรม พร้อมจัดโปรแกรมประเมินธุรกิจฟรี!! หวังช่วย ผปก.ฝ่าคลื่นเทคโนโลยี Disrupt
ในโลกของการเปลี่ยนแปลง และการแข่งขันที่ไร้พรหมแดน การพัฒนาศักยภาพของตนเองให้เข้มแข็ง และความโดดเด่นด้วยนวัตกรรมจึงสำคัญมาก
NIA จึงร่วมมือกับสถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอุตสาหกรรมการผลิต (SMI) ก่อตั้งโปรแกรมพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรมองค์กร หรือ Innovative Organization Program : IOP เพื่อส่งเสริมขีดความสามารถด้านนวัตกรรมของผู้ประกอบการ SMEs และสตาร์ทอัพ ผ่านการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กร ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นโอกาสในการพัฒนาองค์กรไปในทิศทางที่ต้องการอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพด้วยนวัตกรรม
โดยโปรแกรม IOP ให้บริการยกระดับความสามารถทางนวัตกรรมองค์กรใน 3 ระดับคือ การประเมินศักยภาพนวัตกรรมขององค์กรด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ (Online Self Evaluation) การเข้าประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อระบุโอกาสในการพัฒนาศักยภาพ (On-site Assessment) และการให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรมองค์กร (Development Program) และจะเน้น 8 มิติที่สำคัญ ได้แก่
1. มิติด้านยุทธศาสตร์นวัตกรรม เป็นการวางยุทธศาสตร์และแผนงานด้านนวัตกรรมในระยะยาวสำหรับองค์กร
2. มิติด้านการมุ่งเน้นธุรกิจ เป็นการวางเป้าหมายการเติบโตด้านนวัตกรรมให้สอดคล้องกับบริบททางธุรกิจ
3. มิติด้านกระบวนการ เป็นการวางโครงสร้างกระบวนการด้านนวัตกรรมขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
4. มิติด้านผลิตผล เป็นการวางแนวทางการติดตามและประเมินผลลัพธ์ด้านนวัตกรรมขององค์กร
5. มิติด้านบุคลากร เป็นการยกระดับความสามารถด้านนวัตกรรมของบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน
6. มิติด้านองค์ความรู้ เป็นการบริหารจัดการองค์ความรู้ที่สำคัญสำหรับการพัฒนานวัตกรรมทั้งจากภายในและภายนอก
7. มิติด้านวัฒนธรรม เป็นการสร้างวัฒนธรรมด้านนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการคิดและพัฒนาสิ่งใหม่
8. มิติด้านทรัพยากร เป็นการออกแบบการจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสมเพื่อกิจกรรมนวัตกรรม
#สำนักงานนวัตกรรม #NIA #innovation #IOP #InnovativeOrganization