สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

สนช. ผสานภาคีเครือข่ายจุดประกายปั้นสตาร์ทอัพสายดีพเทคจาก SynBio เทคโนโลชีวภาพขั้นสูง เพื่อตอบโจทย์ BCG

News 3 เมษายน 2564 2,784

สนช. ผสานภาคีเครือข่ายจุดประกายปั้นสตาร์ทอัพสายดีพเทคจาก SynBio เทคโนโลชีวภาพขั้นสูง เพื่อตอบโจทย์ BCG


      สนช. ผสานภาคีเครือข่ายจุดประกายปั้นสตาร์ทอัพสายดีพเทคจาก SynBio เทคโนโลชีวภาพขั้นสูง เพื่อตอบโจทย์ BCG 


      เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564 สำนักงานวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.) ร่วมกับภาคีเครือข่าย สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) สถาบันนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และบริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน) จัดประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 2 หัวข้อ Synthetic Biology: Disruptive Technology for Innovation โดยได้รับเกียรติจาก ดร.กริชผกา  บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม สนช. กล่าวเปิดงานว่า สนช. เป็นหน่วยงานหลักที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลในการพัฒนาสตาร์ทอัพ ให้เป็นนักบุกเบิกทางเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Warrior: NEW) ซึ่งการใช้เทคโนโลยีเชิงลึกเป็นตัวนำ เป็นแนวทางสำคัญในการผลักดันและสนับสนุนให้เกิด สตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึก หรือ Deep Tech Startup ที่ สนช. ตั้งเป้าหมายใน 5 กลุ่ม ได้แก่ เกษตร อาหาร การแพทย์ อวกาศ และ ARI-Tech คือ AI-Robotics-Immersive IoT ซึ่ง SynBio จะเป็นเทคโนโลยีที่จะมา Cross Function ให้เกิดรูปแบบของ Deep Tech Startup ได้ ตลอดจนตัวอย่างโปรแกรมพัฒนาผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูง ที่จะมาจุดประเด็น และสร้างโอกาสให้กับทุกท่านที่จะสร้างธุรกิจนวัตกรรมจาก SynBio ด้วยความได้เปรียบของประเทศไทยที่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงสุด 8 อันดับแรกของโลก
เริ่มต้นด้วยการเปิดเวทีเรื่อง “โอกาสและความท้าทายของ DeepTech Startup ในการสร้างธุรกิจนวัตกรรมจากเทคโนโลยี Synthetic Biology” โดยมี ดร. ภาคภูมิ  ทรัพย์สุนทร ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และ Admin เจ้าของเพจ Biology Beyond Nature: ชีววิทยาเหนือธรรมชาติ มีผู้ติดตามมากกว่า 45,000 คน เป็นผู้ดำเนินรายการ ที่ให้ความหมายของ Synthetic Biology เทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูง ที่ถือว่าเป็นคลื่นลูกที่สองของพันธุวิศกรรม ที่จะมาสร้างให้เกิดนวัตกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับ BCG Economy ที่เป็นยุทธศาสตร์หลักของรัฐบาล เรื่องนี้ยังเป็นเรื่องใหม่ แต่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก ที่จะผลักดันเทคโนโลยีให้เกิดเป็นธุรกิจที่หลากหลาย ในช่วงแรกจึงจัดให้มีการเรียนรู้ และเข้าใจการทำงานร่วมกัน พร้อมทั้งสร้างกลุ่มคนที่สนใจในเรื่องนี้เป็น Community ร่วมกัน


      จากนั้น รศ. ดร.พรรณลดา  ติตตะบุตร สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ แนวโน้มและทิศทางการพัฒนา DeepTech Startup สาขาเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร โดยสิ่งที่ผลักดันคือ นวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตรแบบยั่งยืน โดยคำนึงถึงการผลิตพืชที่ลดใช้สารเคมี ที่ส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพของเกษตรกร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม โดยมี 3 แนวโน้มที่สำคัญที่มีความเกี่ยวข้องและใกล้เคียงกับ SynBio ที่นำไปประยกุต์ใช้ให้เกิดธุรกิจ Startup คือ 1) การใช้ไมโครไบโอมของจุลินทรีย์ดินเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตและการเพิ่มผลผลิตของพืช 2) ผลิตภัณฑ์สําหรับควบคุมศัตรูพืชโดยใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ และ 3) การวิเคราะห์ข้อมูลแบบองค์รวมทางชีวภาพ นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างของสตาร์ทอัพจากต่างประเทศที่ใช้ SynBio เป็นแพลตฟอร์มในการสร้างสตาร์ทอัพด้านการเกษตร เช่น Pivot Bio การใช้ SynBio มาปรับเปลี่ยนเชื้อจุลินทรีย์ให้ตรึงไนโตรเจนได้ตลอดเวลาทำให้ได้ปุ๋ยชีวภาพที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีข้อคิดเห็นว่า ควรมีการปรับปรุงกฎเกณฑ์ กฎหมาย และข้อบังคับ เพื่อช่วยให้สนับสนุนให้การสร้างนวัตกรรมได้อย่างรวดเร็วขึ้น
อีกตัวอย่างของสตาร์ทอัพด้านไบโอเทคทางการเกษตรของไทย รศ. ดร กิติญา  วงษ์คำจันทร์ Founder & CTO UniFAHS ได้เล่าถึงประสบการณ์การพัฒนา SalmoGuard ซึ่งเป็นสารจากธรรมชาติเพื่อควบคุมแบคทีเรียก่อโรคในสัตว์ สู่ความปลอดภัยและความยั่งยืนในห่วงโซ่อาหารกับการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีชีวภาพแห่งอนาคต โดยเป็นการประยุกต์ใช้เชื้อจุลินทรีย์ในธรรมการเพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะในการเกษตรที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับความต้องการของทั่วโลก ซึ่งในช่วงระยะแรกของสตาร์ทอัพในกลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพ ต้องการสนับสนุนทุนสนับสนุนจำนวนมากในช่วงแรก เนื่องจากมีความเฉพาะเจาะจงให้การสร้างเทคโนโลยี เพื่อเร่งให้เกิดการพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว


      อีกด้านที่เกี่ยวกับการแพทย์ที่ตอบโจทย์การแก้ปัญหาเรื่องโควิดนี้ ในการผลิตโปรตีนใบยาสูบ สู่วัคซีนโควิด-19 โดย รศ. ดร.วรัญญู พูลเจริญ CTO & co-founder บริษัทใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด จากผลงานวิจัยมากกว่า 15 ปี ทำให้สร้างให้เกิดเทคโนโลยีที่สำคัญการผลิตโปรตีนจากพืชมาใช้เป็นวัคซีนโควิด-19 ที่สามารถผลิตได้อย่างรวดเร็ว โดยอยู่ระหว่างการขออนุญาตทดสอบในมนุษย์เฟส 1 โดยมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่า ควรการสร้างให้เกิดสนับสนุนภาคเอกชนและสตาร์ทอัพให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี สร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเติบโต
และอีกมุมมองจากภาคเอกชน เสอนมุมมองแนวทางการลงทุนธุรกิจนวัตกรรมจากเทคโนโลยี Synthetic Biology โดย ดร. ก่อศักดิ์  โตวรรธกวู่ณิชย์ ผู้จัดการระบบนิเวศและบ่มเพาะธุรกิจ บริษัทบางจาก คอร์ปอเรชั่น จากัด (มหาชน) โดยการเลือกการลงทุนร่วมจะเป็นในรูปแบบความร่วมมือส่งเสริมและสนับสนุนกัน ตามนโยบายขการลงทุนของบริษัทสู่ความยั่งยืนสอดคล้องกับเศรษฐิกจ BCG ที่มีความสามารถในการขยายสเกล จากความเป็นไปได้ทางวัตถุดิบ เทคโนโลยี และธุรกิจ ทั้งนี้ต้องส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือและมุ่งมั่นให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดร่วมกันจากที่ประเทศไทยมีความพร้อมในทุกด้านอยู่แล้ว


      หลังจากนั้น นางสาวมณฑา  ไก่หิรัญ ผู้จัดการส่งเสริมนวัตกรรม สนช. ได้กล่าวถึงบทบาท และกลไกการสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมจาก Synthetic Biology ที่จะใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้เกิดการไต่ระดับการพัฒนานวัตกรรม เกิดเป็น ผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม หรือ Innovation Based Enterprise, IBE ที่แสดงให้เห็นการระดมทุนของสตาร์ทอัพในกลุ่มนี้ที่มีมากถึง 3 พันล้านดอลล่าสหรัฐในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2020 และแนวโน้มความท้าทายที่จะเร่งให้เกิดการนำเทคโนโลยีมาสร้างให้เกิดธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเกษตร อาหาร การแพทย์และวัสดุ เช่น การสังเคราะห์สารสำคัญในกัญชา THC จากเชื้อจุลินทรีย์เทนการปลูกของสตาร์ทอัพออคทารีน การผลิตนมที่ลดการแพ้จากเชื้อจุลินทรย์ของเพอเฟคแดรี่ ซึ่งประเทศไทยมีความพร้อมและสามารถแข่งขันได้ในการสร้างให้เกิดสร้างธุรกิจนวัตกรรมจากเทคโนโลยี SynBio สู่การเติบโตระดับโลก


      ที่สำคัญได้รับเกียรติจากวิทยากรคนสำคัญจากต่างประเทศ โดย คุณวลัยรัชต  โมกขะเวส นักกลยุทธ์นวัตกรรม สนช. เป็นผู้ดำเนินรายการ เริ่มด้วย Pineda, Juan Cesar Damaso, Data Architect, ListenField (Japan) ที่แสดงให้เห็นว่าการทำ AI/ML for Plant Genomic Selection ซึ่ง ลิสเซินฟิลด์ มีผู้ก่อตั้งเป็นคนไทย ได้พัฒนาแฟลตฟอร์มเพื่อการพัฒนาสายพันธุ์พืชร่วมกับสถาบันวิจัยด้านการเกษตรแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่น (National Agricultural Research Institute (NARO)) และมหาวิทยาลัยแห่งโตเกียว University of Tokyo ตั้งแต่ปี 2560 เป็นแพลตฟอร์มนี้ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งและปรับปรุงกระบวนการปรับปรุงพันธุ์พืชโดยใช้วิธีการวิเคราะห์โดยใช้ Machine Learning / ปัญญาประดิษฐ์ ทำให้ลดความซับซ้อนและระยะเวลาในการผสมพันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
ปิดท้ายด้วย Will Wright, International Life Science & Biotech Venture, iGEM Foundation นำเสนอ
โปรแกรมสนับสนุนการสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการ startup ที่ต่อยอดมาจาก iGEM (International Genetically Engineered Machine) โดยการสร้างให้เกิดโปรแกรมการแข่งขันทั้งในระดับนักเรียน นักศึกษา เพื่อสร้างให้เกิดรูปแบบและแนวทางใหม่ที่ต่อยอดจากเทคโนโลยีนี้ ทำในหลากหลายประเทศ ซึ่งสามารถสร้างให้เกิดสตาร์ทอัพที่มีมูลค่าการระดมสูงในหลายประเทศ รวมทั้งเกิดเป็นเครือข่ายความร่วมมือของ SynBio ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
โดยสรุป Synthetic Biology: Disruptive Technology for Innovation ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือร่วมใจก้าวเดินพัฒนาไปด้วยกัน...ประเทศไทยมีความพร้อมทั้งทรัพยากรทางชีวภาพที่หลากหลาย นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบการไทยที่มีความเก่ง...เชื่อว่าทำได้แน่นอน ซึ่งไม่ได้หวังถึงสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์น ที่ดำเนินธุรกิจแค่ 3-5 ปี แต่ประสบความสำเร็จอย่างก้าวกระโดด จนมีมูลค่าเกิน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 33,000 ล้านบาท แต่อย่างน้อย SynBio Startup ของไทยจะมี Solutions ที่จะมาแก้ปัญหาด้านต่างๆ ของประเทศไทยและทั่วโลกที่เผชิญกันได้ด้วยความร่วมมือร่วมใจกันทุกภาคส่วนต่อไป
# SynBio consortium #NIA # NXPO #FTI #BBGI #BCG Economy #DeepTech Startup #Sectoral Development