สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

NIA – สถาบันเอเชียศึกษา – คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ดึง 7 พรรคการเมือง ร่วมเวทีดีเบต 5 โจทย์นวัตกรรมครั้งแรกของเมืองไทย พร้อมจุดยืนสร้างไทยสู่ชาตินวัตกรรม

News 1 พฤษภาคม 2566 10,024

NIA – สถาบันเอเชียศึกษา – คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ดึง 7 พรรคการเมือง  ร่วมเวทีดีเบต 5 โจทย์นวัตกรรมครั้งแรกของเมืองไทย พร้อมจุดยืนสร้างไทยสู่ชาตินวัตกรรม

 

ดีเบต 5 โจทย์นวัตกรรมครั้งแรกของเมืองไทย

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับสถาบันเอเชียศึกษา และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดพื้นที่ชวนตัวแทนพรรคการเมืองร่วมดีเบตนโยบายนวัตกรรมสู่การขับเคลื่อนประเทศด้วยมิติการเมืองใหม่ พร้อมโชว์วิสัยทัศน์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ – สังคมของประเทศไทยด้วยนวัตกรรมเพื่อเรียกความเชื่อมั่นกับประชาชน นอกจากนี้ ยังเผยถึงนโยบายด้านนวัตกรรมกับการแก้ไขปัญหาของไทยตามแนวคิด 3C “Competitiveness – Corruption - Climate Change” ที่ผู้นำจำเป็นต้องนำนวัตกรรมมาเร่งสร้างการเปลี่ยนแปลง

 

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า การเลือกตั้งที่ใกล้ถึงนี้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญอีกครั้งของประเทศไทย ซึ่งจะเห็นได้ว่าหลายพรรคการเมืองได้ออกนโยบายเพื่อสร้างและพัฒนาประเทศให้มีพัฒนาการในด้านเศรษฐกิจ สังคม สวัสดิการ สาธารณสุข การศึกษา และอีกหลากหลายด้านตามบริบทวิถีชีวิตและสภาพแวดล้อมโลกที่เปลี่ยนไป โดยการจะสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้นั้น NIA เชื่อมั่นว่าควรนำ “นวัตกรรม” มาเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อน และต้องทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่านวัตกรรมไม่ใช่แค่เรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital Transformation) เพียงอย่างเดียว แต่ปัจจัยทางนวัตกรรมจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ การจ้างงาน ความมั่นคงในชีวิตได้อย่างแท้จริง

 

“นโยบายนวัตกรรมในประเทศไทยมักจะเป็นการพูดรวมกันระหว่างนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพราะมองว่านวัตกรรมมาจากการวิจัยและพัฒนา แต่จริง ๆ มีสิ่งที่ตรงประเด็นกว่านั้นคือ การสร้างบริษัทที่นำเทคโนโลยีและแนวคิดใหม่มาใช้ เนื่องจากพบปัญหาคือบริษัทที่ทำในด้านนวัตกรรมนั้นยังมีไม่มากพอ อีกทั้งการที่บริษัทจะโตในเศรษฐกิจฐานรากได้ ต้องสร้างบริษัทที่ทำด้านนวัตกรรมและขายได้ในระดับโลกให้เพิ่มขึ้น เพราะปัจจุบันโครงสร้างพื้นฐานระบบนวัตกรรมของไทยถูกผลักดันจากบริษัทขนาดใหญ่ด้านพลังงานทางเลือก การเกษตร และเคมี ทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพต้องไปทำงานกับบริษัทขนาดใหญ่ รวมถึงการสร้างโอกาสให้นวัตกรรมไม่กระจุกตัวอยู่แค่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หรือบริษัทใหญ่ ๆ เป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะจะช่วยลดปัญหาเรื่องของความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ได้ และบริษัทด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมควรจะเพิ่มขึ้นในฐานะของการเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมในเมืองไทยอีกด้วย”

 

ดร.พันธุ์อาจ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากการเพิ่มและการสร้างบริษัทด้านนวัตกรรมให้เพิ่มขึ้นในประเทศไทยแล้ว ในเร็ว ๆ นี้จะมีการเปลี่ยนแปลงภายใต้วาระของผู้นำคนใหม่ ซึ่งควรมี “การวางนโยบายด้านนวัตกรรมของประเทศ” ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น เนื่องจากจะเห็นได้ว่ากลุ่มประเทศที่เป็นสายแข็งในด้านเทคโนโลยี - นวัตกรรม ล้วนมีแผนจากรัฐบาลที่ชัดเจนว่าจะผลักดันอะไรของประเทศให้เป็นที่จดจำ สร้างมูลค่า จนไปถึงการเป็นแบรนด์ของประเทศให้เป็นที่รับรู้ของชาวโลก ซึ่งการมีแผนที่ชัดเจนยังเพื่อส่งต่อไปยังหน่วยงานที่มีบทบาทส่งเสริมระบบนวัตกรรม ธุรกิจนวัตกรรม กลุ่มคนที่มีความสามารถให้ขับเคลื่อนแผน – แนวปฏิบัติได้อย่างตรงจุด รวมถึงเกิดประโยชน์ต่อประชาชนในการนำแนวคิดไปพัฒนาธุรกิจ ทักษะความสามารถ และสะท้อนความสำเร็จกลับมาสู่รัฐในฐานะผู้วางนโยบายได้อีกด้วย

 

“NIA เห็นความสำคัญของการนำนโยบายด้านนวัตกรรมมาร่วมขับเคลื่อนประเทศ จึงร่วมกับสถาบันเอเชียศึกษา และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดพื้นที่ให้ตัวแทนจากพรรคการเมืองได้ร่วมนำเสนอนโยบายนวัตกรรมสู่การขับเคลื่อนประเทศด้วยมิติการเมืองใหม่ พร้อมโชว์วิสัยทัศน์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ – สังคมของประเทศไทยด้วยนวัตกรรมเป็นครั้งแรกของประเทศไทย เพราะ NIA มองว่า การขับเคลื่อนประเทศไทยก้าวสู่เป้าหมายประเทศนวัตกรรมจะสำเร็จได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ เอกชน และการเมืองเป็นสำคัญ

 

โดยวาระสำคัญที่ต้องการให้พรรคการเมืองได้นำเสนอแนวทางคือ

  1. นโยบายเร่งด่วนด้านนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศใน 4 ปีข้างหน้า
  2. นโยบายการส่งเสริมและพัฒนา 3S (SMEs – Startup – SE) โดยอาศัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม พร้อมทั้งการกระจายโอกาสทางนวัตกรรมไปสู่ระดับพื้นที่
  3. นโยบายการพัฒนาเชิงพื้นที่และเมือง เพื่อสร้างอัตลักษณ์นวัตกรรมและดึงดูดการลงทุนและนวัตกร รวมถึงโอกาสการกระจายความเจริญระดับเมืองสู่ภูมิภาค (**กรุงเทพฯ ติดอันดับ 145 ของเมืองนวัตกรรมโลก)
  4. นโยบายนวัตกรรมกับการแก้ไขปัญหาประเทศ: ความสามารถในการแข่งขัน - คอรัปชัน – การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะปัญหาค่าบริการสาธารณูปโภคที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน และ
  5. การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และการรับรู้ให้ประชาชนมองว่านวัตกรรมเป็นเรื่องใกล้ตัวและเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาประเทศ

 

ดร.พันธุ์อาจ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในวาระเร่งด่วนของประเทศไทย NIA ยังคงมองประเด็นการส่งเสริมนวัตกรรมภายใต้โมเดล 3C คือ Competitiveness ซึ่งเป็นการส่งเสริมความสามารถทางการแข่งขันของบริษัทนวัตกรรมให้มีมากขึ้น เพราะบริษัทที่แข่งขันได้ล้วนเป็นอุตสาหกรรมที่ส่วนใหญ่เติบโตในระดับโลกหมดแล้ว มีจำนวนไม่มาก และอาจยังไม่สามารถสะท้อนความเป็นชาติแห่งนวัตกรรมของไทยได้มากนัก จึงต้องเร่งสร้างแบรนด์นวัตกรรมไทยระดับโลกโดยบริษัทขนาดใหญ่ ส่งเสริมอุตสาหกรรมอนาคต เพื่อการเติบโตระยะยาว รวมถึงเสริมสร้างการสร้างงานนวัตกรรมและเจ้าของกิจการรุ่นใหม่ ส่วนต่อมาคือ Corruption หมายถึง การแสดงออกถึงความโปร่งใส ควรมีนวัตกรรมที่ทำให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการทำงานของรัฐได้หลายรูปแบบ โดยเฉพาะนวัตกรรมการเงินและงบประมาณภาครัฐ นวัตกรรมตรวจสอบและระบบยุติธรรมภาครัฐ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและก้าวไปในทิศทางที่ดีขึ้น และส่วนสุดท้ายคือ Climate Change ซึ่งเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ขยะ ฝุ่น PM 2.5 รถติด การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ (Net Zero) ตามเจตนารมณ์โลก ซึ่งเหล่านี้ผู้นำและผู้กำหนดนโยบายล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น

 

รศ. ดร. ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ. ดร. ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ที่ผ่านมาเราคิดและสร้างนโยบายนวัตกรรมแบบทุนนิยม โดยละเลยการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ ซึ่งเมื่อย้อนกลับไปในความหมายของนวัตกรรมตามความหมายของโจเซฟ ชุมปีเตอร์ ที่กล่าวว่าเป็นการทำลายล้างอย่างสร้างสรรค์ (Creative Destruction) เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ บริการใหม่ กระบวนการใหม่ หรือตลาดใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็จะทำลายสิ่งเก่า ซึ่งความท้าทายในแต่ละยุคสมัยมักจะมาพร้อมนวัตกรรม นั่นคือความสามารถของสังคมและพวกเราทุกคนในการหาจุดที่ได้ประโยชน์สูงสุดจากนวัตกรรม อย่างไรก็ตาม โดยหลักการแล้วนวัตกรรมจำเป็นและมีพลังมากพอที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ นอกจากนี้ นวัตกรรมก่อให้เกิดความสามารถด้านการแข่งขัน ลดการพึ่งพา และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับคนในสังคมได้

 

รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา หัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา หัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ กล่าวว่า โจทย์สำคัญของไทยคือประชากรในโลกเกิน 50% อยู่ในพื้นที่เมือง และคาดการณ์ว่าอีก 30 ปีข้างหน้า อาหารที่มีในโลกจะรองรับประชากรได้เพียงครึ่งหนึ่งของความต้องการอาหารทั้งหมด จึงต้องขยายความสามารถในการรองรับความต้องการของมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไปให้สมดุลกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้นวัตกรรมเข้ามาช่วยบริหารจัดการทรัพยากรที่มีจำกัด สำหรับนวัตกรรมเชิงพื้นที่ที่ภาควิชาการวางแผนภาคและเมืองได้ออกแบบย่านนวัตกรรมจะมี 3 องค์ประกอบหลัก คือ 1) พื้นที่ที่มาจากศูนย์ค้นคว้าและวิจัยระบบพร้อมพัฒนานวัตกรรมในสถาบันการศึกษา หรือแหล่งผลิตที่มีองค์ความรู้พื้นฐาน 2) พื้นที่ที่มีการผลิตซ้ำในเชิงอุตสาหกรรม และ 3) พื้นที่ทดลองใช้ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเมือง โดยต้องออกแบบพื้นที่ใหม่หรือปรับปรุงพื้นที่เดิม เช่น ย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี ซึ่งเป้าหมายไม่ใช่เพื่อทำรายได้จากการแพทย์ยุคใหม่ แต่มุ่งให้คนไทยสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์คุณภาพดีในราคาที่เหมาะสมผ่านการแบ่งปันเครื่องมือ โครงสร้างพื้นฐาน และการคมนาคม และย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารที่จังหวัดขอนแก่น จะเห็นได้ว่านวัตกรรมเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นแน่นอนในอนาคต และต้องการพื้นที่เมืองรองรับ ทั้งเมืองและชนบทต้องเกื้อกูลกัน เช่น วัตถุดิบที่ต้องการอาจอยู่ในพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม แต่ต้องการพื้นที่เมืองในการต่อยอดและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อกลับไปพัฒนาพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม ประเทศไทยต้องเดินไปในทิศทางที่สอดคล้องกับศักยภาพ ข้อจำกัด และโอกาสของประเทศได้อย่างเหมาะสม

 

ในช่วงเสวนาดีเบตนโยบายนวัตกรรมสู่การขับเคลื่อนประเทศด้วยมิติการเมืองใหม่ ตัวแทนพรรคการเมืองทั้ง 6 พรรคได้ร่วมโชว์วิสัยทัศน์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ – สังคมของประเทศไทยด้วยนวัตกรรม ดังนี้

โจทย์นโยบายด้านนวัตกรรม

พรรคชาติพัฒนากล้า

พรรครวมไทยสร้างชาติ

พรรคประชาธิปัตย์

พรรคเพื่อไทย

พรรคก้าวไกล

พรรคไทยสร้างไทย

นโยบายเร่งด่วนด้านนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศใน 4 ปีข้างหน้า

รื้อระบบราชการ พัฒนา GovTech ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างเร็ว เชื่อมกันเป็น ONE STOP SERVICE ทำทุกธุรกรรมโดยไม่ต้องเดินทางมาก นอกจากนี้ ยังต้องมีระบบเทคโนโลยีรัฐที่สามารถตรวจสอบได้เพื่อให้เกิดความไว้วางใจ แสดงถึงความโปร่งใสในการดำเนินงาน โดยเชื่อว่าหากได้ทำทันทีจะทำให้วิถีชีวิตของประชาชนเป็นไปในทางที่ดีขึ้น

1. กำหนดทิศทางนโยบายด้านการศึกษา

2. สร้างแต้มต่อให้ Startup SMEs ให้เข้มแข็งผ่านการสร้างตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

3. Upskill Reskill แรงงานให้ตอบโจทย์ความต้องการทั้งในระดับจังหวัด ภูมิภาค และประเทศ

ขับเคลื่อนโยบายนวัตกรรมผ่าน 3E

1.   Economics: สร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผลักดันวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ 5F ได้แก่ 1. อาหาร (Food) 2. ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film) 3. ผ้าไทยและการออกแบบแฟชั่น (Fashion) 4. มวยไทย (Fighting) 5.เทศกาล ประเพณี (Festival) และพัฒนา SE BCG สัมพันธ์ไปตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

2.   Environment: ผลักดัน พรบ. อากาศสะอาด ส่งเสริมให้เยาวชนคนรุ่นใหม่มีจินตนาการในโลกอนาคตโดยไม่ทำลายจินตนาการของผู้ใด พร้อมทั้งสร้างโลกทางเทคโนโลยีเมตาเวิร์ส (Metaverse) ที่ขนานกันไป

3.   Energy: ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด ลดมลพิษที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนจากปศุสัตว์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีเข้ามาทดแทน

1. การปรับปรุงโครงสร้างทางการเงินและการเข้าถึงทุน ผลักดัน Digital Wallet for all ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ทุกภาคส่วน และให้เกิดการใช้งบประมาณอย่างโปร่งใส ซึ่งจะไปลบตัว C= Corruption ที่ NIA กล่าวถึง

2. การปรับรูปแบบการศึกษาตามโครงสร้างของประชากรที่เปลี่ยนไป ผ่าน Platform Learn to Earn เชื่อมต่อการเรียนการสอนทั่วโลกให้หลักสูตรทันสมัยได้ตลอดเวลา

3. การปลดล็อคศักยภาพของหน่วยราชการ ผ่านการ Digitalize government ช่วยตรวจสอบการใช้งานและติดตามการดำเนินงานของรัฐได้

1. ความเหลื่อมล้ำ เน้นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล เช่น บัตรประชาชนดิจิทัล เพื่อเพิ่มการเข้าถึงสวัสดิการภาครัฐได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว รวมถึงด้านอื่น ๆ เช่น Telemedicine คูปองเปิดโลก Platform การเรียนรู้ตลอดชีวิต

2. ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น มี 2 ด้าน คือ 1) เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึง Participation Budgeting (PB) 2) การลดปัญหาทุจริต ผ่านเทคโนโลยี เพิ่มความโปร่งใส ลดการใช้ดุลยพินิจและเพิ่มความรับผิดรับชอบ

3. การสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรมแห่งอนาคตและความสามารถในการแข่งขัน มองว่า Climate Change เป็นเรื่องสำคัญ

ควรเพิ่มสัดส่วนงบประมาณภาครัฐในการอุดหนุนงานวิจัย

1. การปรับเรื่องคน โดยการปรับ Mindset ในการเป็นนักแก้ปัญหาหรือนักสร้าง และการสร้าง Innovation Culture

2. การส่งเสริมการลงมือทำ โดยอำนวยความสะดวกและสนับสนุนเครื่องมือ (Tools) และสร้าง พื้นที่ Maker Hub ร่วมสร้างสรรค์แนวทางการแก้ปัญหาและสร้างนวัตกรรมที่ตามบริบทพื้นที่ นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการสร้างเครือข่ายต่างประเทศ ให้เงินทุน และ platform ในการเชื่อมคน

นโยบายการส่งเสริมและพัฒนา 3S (SMEs - Startup - SE) และกระจายโอกาสทางนวัตกรรมไปสู่ระดับพื้นที่

·   รื้อโครงสร้างเศรษฐกิจ โครงสร้างสินเชื่อ และสร้างการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำ ยกเลิกระบบแบล็กลิสต์ ใช้นวัตกรรมระบบ Credit Scoring ประเมินสินเชื่อตามจริงแทน เพื่อให้ธนาคารเกิดการแข่งขันกันในการให้ประชาชนกู้ยืมได้

·      สร้างการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมการกระจายอำนาจในการเลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ

·  ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ SMEs สนับสนุนร่วมกับภาครัฐ มหาวิทยาลัยให้กับผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง

·  สร้างแต้มต่อให้กับ SMEs และ Startup ผ่านการสนับสนุนของภาครัฐไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

·  ส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่มีโอกาสเข้าถึงในการศึกษาด้วยนโยบายการศึกษาฟรีถึงระดับปริญญาตรีในสาขาที่ตลาดต้องการ

·  สร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ด้วย craft and living โดยให้ Startup เข้ามาช่วยออกแบบพัฒนาและทำการตลาด และพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE) ให้ยั่งยืน

·   ส่งเสริมสนับสนุนไมโครไฟแนนซ์ (Microfinance) ธนาคารชุมชน ชุมชนละ 2 ล้านบาท

·   โครงการ Gen Z to CEO เพื่อส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่เป็นผู้ประกอบการเจ้าของกิจการ

·   ส่งเสริมสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) อัตลักษณ์ชุมชนให้สอดคล้องกับภูมิอัตลักษณ์ในท้องถิ่นให้มากขึ้น

· การทำ Digital Government เพื่อลดขั้นตอนที่ซับซ้อนและการไม่ประสานงานกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ

· เพิ่มการเข้าถึงข้อมูลภาครัฐ และการใช้ประโยชน์ข้อมูลจากโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐ ควรมีการเผยแพร่เป็น public domain ให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กสามารถเข้าถึงข้อมูลตลาดและความต้องการของลูกค้าช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ

· เพิ่ม Financial Accessibility ของผู้ประกอบการหรือผู้ให้บริการขนาดเล็ก

· SE เน้นการส่งเสริมการเข้าถึงเงินทุน ปลดล็อคเงื่อนไขในบางกองทุนเพื่อให้ SE สามารถหาเงินเพื่อหล่อเลี้ยงตัวเองได้ควบคู่กับการตอบโจทย์เชิงสังคม

· SME ควรทำ Regulatory Guillotine ลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการรายเล็ก รวมถึงแนวคิด Trade Bureau ลดการถูกทุนใหญ่เอาเปรียบในเรื่องการดึงเครดิตระยะยาว ช่วยให้บังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้าที่มีอยู่ได้ดีขึ้น

· Startup ไทยยังขาดในด้านตลาดและความต้องการที่ชัดเจน ภาครัฐสามารถออกนโยบายช่วยกระตุ้นโดยการนำปัญหาในสังคม มาเป็นโจทย์ ช่วยสร้างอุตสาหกรรมแห่งอนาคต และสร้างงานใหม่

· ส่งเสริมการเชื่อมโยงระหว่างสถาบันการศึกษากับ 3S

· ส่งเสริมการพัฒนากำลังคนด้านนวัตกรรม การเสริมทักษะด้าน coding การลดข้อจำกัดในการสร้าง startup สร้างเครือข่ายระหว่างประเทศโดยอำนวยความสะดวกด้านวีซ่าและภาษี

นโยบายการพัฒนาเชิงพื้นที่และเมือง เพื่อสร้างอัตลักษณ์นวัตกรรมและดึงดูดการลงทุนและนวัตกร รวมถึงโอกาสการกระจายความเจริญระดับเมืองสู่ภูมิภาค

·   รื้อกระบวนการระบบราชการ แก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่น

·      กำหนดการผลิตในแต่ละเมืองที่มีความโดนเด่นมีจุดแข็งให้ชัดเจน ผลักดันสนับสนุนพัฒนาร่วมกันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในหลาย ๆ ภาคส่วน

 

·   บูรณาการเชื่อมโยงเมือง คน ต้นไม้สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ใช้ Cloud Ship management, Self-monitoring, Data Analysis และ Reporting technology ที่สามารถสร้างยกระดับกลไกความปลอดภัยให้กับประชาชนคนไทยและนักท่องเที่ยว

·  ผลักดัน พรบ. อากาศสะอาด จัดพื้นที่ Zoning การจัดการสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดมลพิษ PM 2.5 และเพิ่มพื้นที่สีเขียว

·   ส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวชุมชนในกรุงเทพให้มีอัตลักษณ์ โดยใช้นวัตกรรม

· การทำ Digital Government เพื่อสร้างความโปร่งใส และสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน

· การกระจายรายได้ทั่วประเทศผ่าน new business zone และ cluster นวัตกรรม

· การยกระดับศักยภาพแรงงานผ่านการศึกษา ดึงดูดการจ้างงาน เงินลงทุนและนวัตกร

· การใช้นวัตกรรมในการเปลี่ยนเมืองน่าเที่ยวให้เป็นเมืองน่าอยู่ ทั้ง 1) การใช้นวัตกรรมในการช่วยแก้ปัญหาเมือง
2) การใช้นวัตกรรมในการแก้ไขพฤติกรรมของคน เช่น กรณีของหมอกระต่าย โดยมี 2 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ 1. ความหนักเบาของโทษ 2. ความเร็ว ผิดแล้วมีการตักเตือนหรือลงโทษทันที เช่น มีกล้องจับแจ้งเตือนส่งใบสั่งในระบบ เหมือนที่ไต้หวันทำ

· สนับสนุนการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมจากวัฒนธรรมที่ไทยเก่งและเป็นที่รู้จักทั้งทางด้านอุตสาหกรรมอาหาร การท่องเที่ยว Logistics ร่วมกับพาร์ทเนอร์จากฝั่งมหาวิทยาลัยพัฒนาร่วมกับชุมชนใกล้เคียง

· จัดสรรพื้นที่ในการสร้างสรรค์ ดึงดูดคนมาแลกเปลี่ยนไอเดียโดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน และดึงดูดเงินทุนและนวัตกร

การสร้างความรู้ ความเข้าใจให้ประชาชนมองว่านวัตกรรมเป็นเรื่องใกล้ตัวและเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาประเทศ

·  นวัตกรรมที่ใกล้ประชาชน อย่างโครงสร้างพื้นฐานทั้งอินเตอร์เน็ต ไฟฟ้า น้ำประปา ต้องพัฒนาให้เพียงพอ และการศึกษาต้องสร้างวัฒนธรรมเปิดเสรีภาพอย่างไร้ขีดจำกัด

·  ต้องเพิ่มการสื่อสารให้มากขึ้นทำให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ส่งเสริมการทำวิจัย นวัตกรรมแล้วใช้ทันที่ โดยให้เอาตัวแทนสตาร์ (Star) แต่ละมหาวิทยาลัยมาประชาสัมพันธ์

·  การเมืองเป็นเรื่องที่มองเฉพาะหน้า เพื่อให้ได้ฐานคะแนนนิยมที่มากเกินไป ความต่อเนื่องของขาดหายเมื่อเปลี่ยนรัฐบาล

·  กลไกทางวิจัย วิทยาศาสตร์ นวัตกรรมไม่สอดคล้องกับสังคมไทย ที่มักจะเน้นความรู้สึกทางอารมณ์ (Emotional) และกลไกที่ปิดกั้นทางจินตนาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่เด็ก ไม่สร้างนักวิทยาศาสตร์

· การปลดล็อคระบบราชการ ในการช่วยต่อยอดและยกระดับนวัตกรรม

· การส่งเสริมผ่านการศึกษา ผ่าน Platform ของรัฐในการเชื่อมต่อให้เข้าถึงการศึกษาและเอื้อให้เกิดการ Reskill, upskill และเข้าถึงความรู้ทั่วโลกได้

· ทำให้นวัตกรรมสอดแทรกเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคน มากกว่าการสร้างนวัตกรรมใหม่ โดยรัฐควรนำนวัตกรรมมาใช้การแก้ปัญหาของชีวิตคนแล้วเขาจะเห็นคุณค่าของนวัตกรรมไปในตัว ตัวอย่าง ในแผน 100 วันแรกคือเรื่องการผลักดันระบบการซื้อขายไฟฟ้าเสรี และยังมองเรื่อง Future Food ได้แก่ การทำ Lab-grown meat ลดการใช้พลังงานและพื้นที่ในการทำปศุสัตว์ ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ไทยต้องก้าวให้ทันโลกเพื่อไม่ให้สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน

· ควรปรับการมองนวัตกรรมว่าเป็นเรื่องง่าย ใกล้ตัวเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการแก้ไขปัญหา รวมถึงเพิ่มการเข้าถึงองค์ความรู้ ดังนั้นเรื่องภาษา การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตฟรีก็มีความสำคัญ เพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมของตนเองในอนาคต

นโยบายนวัตกรรมกับการแก้ไขปัญหาประเทศ: ความสามารถในการแข่งขัน - คอรัปชัน – การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

·  สร้างนวัตกรรมแนวทางเศรษฐกิจเสรีนิยมที่จะสามารถสร้างความเสมอภาคในการแข่งขันระหว่างทุนใหญ่และรายเล็กในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย

·  เชิญทุกกลุ่มทุกทีมร่วมกันพัฒนาประเทศทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สร้างแต้มต่อให้กับ SMEs Startup

 

·  สร้างเงิน สร้างคน สร้างชาติ ความสำคัญของนวัตกรรมเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องพัฒนาระบบการศึกษา พัฒนาคนให้คิดนอกกรอบให้มากขึ้น

· เตรียมความพร้อมทางโครงสร้างทางเศรษฐกิจใหม่ด้วยลงทุนผ่าน Digital Wallet for all

· เตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรทางมนุษย์ใหม่ผ่านระบบ Learn to Earn พร้อมการศึกษารูปแบบใหม่

· ปลดล็อคศักยภาพประชาชนผ่าน Digital Government จากรัฐอุปสรรคให้เป็นรัฐสนับสนุน ทั้งหมดนี้ต้องใช้คนที่คิดใหญ่และคนที่ทำเป็น

· โจทย์หลักที่ยึดโยงในเรื่องการเมือง คือ การใช้งบประมาณและอำนาจของรัฐ อย่างไรให้ตอบโจทย์ต่อพี่น้องประชาชน

 

·  มุ่งเน้นความสำคัญในการดูแลตั้งแต่เกิดจนแก่ สามารถอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี เมื่อคนเราแข็งแรง สบายใจ ไอเดียก็จะไปได้ไกล

·  ยกระดับคนตัวเล็กให้แข็งแรง สามารถสร้างตัวเอง สร้างเงิน สร้างอาชีพให้กับตัวเอง ครอบครัว และสังคมไทย