สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
การให้บริการของ NIA
ความเคลื่อนไหวของ NIA
ช่องทางในการติดต่อกับ NIA
NIA ได้รับเกียรติเป็นวิทยากรในงานประชุมระดับนานาชาติ “ISPIM Connects Bangkok 2020”
คุณธีรีสา มัทวพันธุ์ รองผู้อำนวยการด้านยุทธศาสตร์องค์กร สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้รับเกียรติเป็นวิทยากรในงานประชุมระดับนานาชาติ “ISPIM Connects Bangkok 2020” ในวันนี้ จัดโดย International Society for Professional Innovation Management (ISPIM) ซึ่งเป็นเครือข่ายระดับนานาชาติด้านการจัดการนวัตกรรมที่ก่อตั้งมายาวนานกว่า 37 ปี และมีเครือข่ายด้านการจัดการนวัตกรรมในกว่า 70 ประเทศทั่วโลกที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสถาบันการศึกษา โดยงาน ISPIM Connects Bangkok 2020 จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ภายใต้แนวคิด Partnering for a Innovative Community เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านนวัตกรรมและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในหลากหลายด้านที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทย อาทิ Driving Innovation 4.0 in Emerging Market, Sustainable and Social Innovation, Developing Innovation Ecosystems
คุณธีรีสาฯ ได้เข้าร่วมเสวนาในหัวข้อ “Stimulating Innovation in South-East Asia” โดยได้แลกเปลี่ยนมุมมองภาพรวมนวัตกรรมในบริบทประเทศไทยและอาเซียน ดังนี้
ประเทศไทยมีการพัฒนานวัตกรรมขึ้นอย่างต่อเนื่องดังเห็นได้จากดัชนีนวัตกรรมโลก (Global Innovation Index: GII) ปี 2019 ที่ขยับขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 43 ถือเป็นประเทศที่สามารถพัฒนานวัตกรรมเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และเป็นอันดับ 1 ของกลุ่มอาเซียนในการส่งออกสินค้าเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติฯ ถือว่าเป็นหน่วยงานสำคัญของประเทศไทยที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมผ่านโครงการต่างๆ ที่จะส่งเสริมให้เกิดวิสาหกิจเริ่มต้นและธุรกิจนวัตกรรมขึ้นในประเทศ ทั้งนี้ แต่ละประเทศในอาเซียนมีความก้าวหน้าของนวัตกรรม และแนวทางพัฒนานวัตกรรมที่แตกต่างกัน โดยประเทศไทยขณะนี้มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคม รวมถึงการปลดล็อคข้อกฎหมายในระดับนโยบายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้น ซึ่งส่งผลให้เกิดวิสาหกิจเริ่มต้นจากประเทศไทยหลายบริษัทที่สามารถขยายธุรกิจไปในอาเซียนแล้ว เช่น QueQ ที่มีระบบการจัดการคิวที่สามารถขยายไปสู่หลากหลายธุรกิจทั้งร้านอาหาร ธนาคาร โรงพยาบาล ซึ่งที่ผ่านมา วิสาหกิจเริ่มต้นของไทยได้เกิดขึ้นมาอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้ต่อไปในระดับโลก
ในส่วนที่ประเทศในอาเซียนต้องรีบปรับตัวเพื่อส่งเสริมให้เกิดวิสาหกิจเริ่มต้นและธุรกิจนวัตกรรมมากขึ้น โดยการลดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดเนื่องจากกฎระเบียบของภาครัฐ การพัฒนาสถาบันการศึกษาให้มีหลักสูตรในการสร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการให้แก่เยาวชนรุ่นใหม่ การเปลี่ยนวัฒนธรรมให้ยอมรับความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนานวัตกรรมรวมถึงการเปิดรับความคิดเห็นที่หลากหลายโดยเฉพาะจากคนรุ่นใหม่ให้มากขึ้น
#NIA #สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ #ISPIM