สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

เปิดนวัตกรรม Health Tech รับมือวิกฤตโอไมครอน

News 8 มกราคม 2565 1,198

เปิดนวัตกรรม Health Tech รับมือวิกฤตโอไมครอน


สมาคมเฮลท์เทคไทย ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) รวบรวมนวัตกรรมการแพทย์และสุขภาพ ช่วยผู้ป่วยและสถานพยาบาลรับมือวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิดระลอกใหม่ เพื่อช่วยผู้ป่วยโควิดเข้าถึงแพทย์ได้เร็วขึ้น และช่วยสถานพยาบาลบริหารจัดการสภาวะวิกฤตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

โดยที่ผ่านมาได้ให้การช่วยเหลือผู้ป่วยไปแล้วกว่า 300,000 รายและสถานพยาบาลกว่า 500 แห่งทั่วประเทศ ทั้งนี้คาดว่า การระบาดระลอกใหม่นี้ นวัตกรรมการแพทย์และสุขภาพเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อสถานพยาบาลและช่วยเหลือผู้ป่วยโควิดได้เพิ่มขึ้นอีก

นายพงษ์ชัย เพชรสังหาร อุปนายกสมาคมเฮลท์เทคไทย เปิดเผยว่า วิกฤตการแพร่ระบาดของโควิดรอบล่าสุดมีแนวโน้มที่รุนแรงมาก สมาคมเฮลท์เทคในบทบาทของการเป็นส่วนร่วมในการส่งเสริมผู้ประกอบการนวัตกรรมการแพทย์และสุขภาพ จึงดำเนินการประสานงานสมาชิกในสมาคมและเครือข่าย นำนวัตกรรมพร้อมใช้ช่วยเหลือผู้ป่วยและสถานพยาบาล ซึ่งประกอบไปด้วย

แอปพลิเคชันสำหรับช่วยเหลือผู้ป่วย
1. True Helath จาก ชีวี เป็นแอปฯ พบหมอออนไลน์ ผู้ป่วยสามารถดาวน์โหลดใน ios หรือ android และเข้าใช้งาน โดยมีแพทย์เฉพาะทางหลากหลายสาขาให้บริการ พร้อมการส่งยาที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยโควิดและผู้ป่วยโรคอื่นๆ 

2. Pharmcare เป็นแอปฯ ที่ช่วยผู้ป่วยให้ได้รับคำปรึกษาการใช้ยาจากเภสัชกร รวมถึงเชื่อมโยงข้อมูลใบสั่งยากับร้านขายยาในเครือข่ายทั่วประเทศ 

3. แอปฯ อื่นๆ สำหรับช่วยเหลือผู้ป่วย เช่น Welala, Smarthealth by NOSTRA, Doctor A to Z, Relifnow, OOCA, Doctor Anywhere และ Agnos


แอปพลิเคชันสำหรับตัวช่วยสถานพยาบาล
1. Pharmasafe แอปฯ ช่วยสถานพยาบาลในการดูแลการใช้ยาให้กับผู้ป่วย รวมถึงการติดตามการใช้ยา การให้ข้อมูลยาที่จำเป็น ระบบป้องกันการได้รับอันตรายจากการใช้ยาผิดประเภท 

2. Dietz HI/CI Covid Tracker เป็นระบบ Telemedicine สำหรับช่วยสถานพยาบาลดูแลผู้ป่วย Home Isolation หรือ Community Isolation ให้ดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพจนถึงการเก็บข้อมูลประกอบการเบิกจ่ายกับ สปสช. หรือประกันสังคมหรือสิทธิอื่นๆ 

3. Perceptra ระบบ AI อ่านฟิล์มเอ็กเรย์ปอด ช่วยสถานพยาบาลในการลดภาระการอ่านฟิล์มและช่วยแปลผลเบื้องต้นในกรณีพบปัญหาความผิดปกติ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรองรับจำนวนผู้ป่วยที่มากขึ้นได้ 

4. ระบบอื่นๆ เช่น ระบบติดตามเครื่องมือแพทย์ภายในสถานพยาบาลแบบ realtime ระบบบริหารจัดการเวรเปล (Daywork) ระบบบริหารจัดการรถขนส่ง ระบบจัดการคิวในโรงพยาบาล (QueQ) ระบบจัดการร้านขายยา (Arincare) ระบบจัดการคลินิก (APSTH, MCS, Doctor Ease)

สำหรับสถานพยาบาลที่ต้องการใช้งานแอปฯ ดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่เพจสมาคมเฮลท์เทค Health Tech Startup Thailand