สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

Crises in Future City วิกฤติในเมืองสะเทือนไปถึงสุขภาพจิตผู้อยู่อาศัย

2 กุมภาพันธ์ 2566 3,032

Crises in Future City วิกฤติในเมืองสะเทือนไปถึงสุขภาพจิตผู้อยู่อาศัย

Crisis-in-future-cities

 

"Crises in Future City" วิกฤติในเมืองสะเทือนไปถึงสุขภาพจิตผู้อยู่อาศัย 

10 เทรนด์อนาคตสุขภาพจิตที่คนไทยต้องเผชิญในอีก 10 ปีข้างหน้า

จับตามองความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพจิตและเศรษฐกิจในอนาคต เมื่อวิกฤติในเมืองสะเทือนไปถึงสุขภาพจิตผู้อยู่อาศัย!

 

เมื่อเราก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 อย่างเต็มตัวมากขึ้น พื้นที่ในเมืองต่าง ๆ ก็ยิ่งเริ่มพัฒนาจนมีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันประชากรในเมืองและโครงสร้างพื้นฐานก็ขยายตัวอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ส่งผลให้ความยากลำบากของชีวิตในเมืองก็มีโอกาสที่จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เราจึงมองเห็นว่าอนาคตของความเป็นเมืองนั้นอาจเริ่มมีความไม่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจุดนี้เป็นผลมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ ดังนั้นการจัดการวิกฤตต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นนั้นน่าจะเป็นหนึ่งในงานที่ยากที่สุดสำหรับเมืองขนาดใหญ่ทั้งหลายในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

 

ภัยพิบัติทางธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองนั้นเป็นตัวอย่างของปัจจัยขับเคลื่อนหนึ่งจากความเป็นไปได้มากมายของวิกฤตเมือง ซึ่งผลพวงของภัยพิบัติต่าง ๆ มักจะส่งผลกระทบต่อเมืองมากที่สุด เพราะสามารถก่อให้เกิดการบาดเจ็บเสียชีวิตของผู้คน ความเสียหายต่อทรัพย์สิน เกิดปัญหาด้านสุขภาพกายและจิต และผลลัพธ์ด้านลบอื่น ๆ ที่เกิดจากวิกฤตตามมาอีกมากมาย โดยเฉพาะเมื่อมีจำนวนผู้คนมากขึ้นอาศัยอยู่ในพื้นที่เมือง นอกจากนี้ หากเราไม่สามารถจัดการวิกฤตได้ดีเพียงพออาจเกิดเป็นผลลัพธ์ปลายทางที่รุนแรง เช่น ความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐานของเมือง รวมถึงการหยุดชะงักของสังคมและเศรษฐกิจ ได้เลยทีเดียว

 

ในอนาคต พื้นที่เขตเมืองมีความจำเป็นต้องเสริมความแข็งแกร่งให้พร้อมรับมือกับภัยพิบัติทุกรูปแบบล่วงหน้า การมีแผนฉุกเฉินอย่างถี่ถ้วนและขั้นตอนที่เชื่อถือได้ในการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินจะเป็นกลไกสำคัญในการสร้างความพร้อมของเมืองด้านนี้ เช่น ผลกระทบของวิกฤตที่เกิดขึ้นอาจลดลงได้ด้วยการลงทุนในระบบเตือนภัยล่วงหน้าและแนวกั้นน้ำท่วม เป็นต้น สิ่งนี้จะทำให้ประชาชนรู้สึกปลอดภัย ไม่หวาดวิตกต่อวิกฤตต่าง ๆ จนควบคุมไม่ได้

 

นอกจากนี้ เมืองต่างๆ ต้องอาจเตรียมความพร้อมรับมือกับผลกระทบด้านสังคมและเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นด้วย เช่น การมีโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อม อาหาร ที่พักอาศัย และการรักษาพยาบาลแก่บุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือในกรณีเกิดภัยพิบัติ ไม่เพียงแต่การรับมือกับผลกระทบระยะสั้น เมืองต่างๆ ยังต้องพร้อมรับมือกับผลกระทบระยะยาวของวิกฤต เช่น ปัญหาสุขภาพจิตและความไม่มั่นคงด้านที่อยู่อาศัย ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูทั้งทางร่างกายและจิตใจ และให้ประชาชนกลับมาดำเนินชีวิตได้ด้วยการมีสุขภาพจิตที่ดีและมีความสุข

 

ผลลัพธ์ของเมืองในอนาคตนั้นแม้ว่ายังไม่ชัดเจนมากนักในขณะนี้ แต่วิกฤตการณ์ต่าง ๆ ก็ยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอโดยไม่มีสัญญานเตือน เมืองต่างๆ อาจต้องมีความพร้อมที่ดีขึ้นในการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน หากใช้มาตรการป้องกันเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับวิกฤตที่จะเกิดขึ้น สิ่งนี้ช่วยลดโอกาสในการเกิดความเสียหายจากภัยพิบัติและลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสุขภาวะของประชาชนได้