สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

NIA เสนอสภาคณบดีสาขาการเกษตร ใช้แนวทาง “AgTech Transformations” เพื่อเป็นทางออกของภาคเกษตรไทย

News 23 ธันวาคม 2562 2,187

NIA เสนอสภาคณบดีสาขาการเกษตร ใช้แนวทาง “AgTech Transformations” เพื่อเป็นทางออกของภาคเกษตรไทย


ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรบรรยายมุมมองและผลงานขององค์กร ในหัวข้อ "Smart Agriculture กับทางออกของภาคเกษตรไทย" ในการประชุมวิชาการสภาคณบดีสาขาการเกษตร แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2/2562 หัวข้อ “Smart Agriculture กับทางออกของภาคเกษตรไทย” เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2562 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่

โดยมีประเด็นสำคัญเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันและปัญหาของภาคเกษตรกรรมในประเทศไทย การนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้กับภาคเกษตรกรรม รวมถึงบทบาทและกลไกการสนับสนุนของสำนักงานฯ ต่อการสร้างระบบนิเวศของเทคโนโลยีภาคเกษตรสมัยใหม่ (AgTech Ecosystem) NIA จึงได้จัดตั้งศูนย์สร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร หรือ Agro Business Creative Center เรียกสั้นๆ ว่า ABC Center เพื่อเป็นแพลตฟอร์มกลางเชื่อมโยงประสานงานและขับเคลื่อนให้เกิดการสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้ประกอบการด้านการเกษตร ที่มีรูปแบบธุรกิจใหม่ (New Business Model) และใช้เทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Tech) ให้สามารถพัฒนาแนวทางการแก้ปัญหาภาคการเกษตรเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการทำเกษตรกรรมของประเทศ โดยมีการตั้งเป้าหมาย หรือ Goal ที่สำคัญในการพลิกโฉมด้านการเกษตรของประเทศไทย (AgTech Transformations) ใน 5 มิติ ดังนี้

1) เกษตรอัตโนมัติ (Automated Agriculture) การการเปลี่ยนจากเกษตรที่ใช้แรงงงาน พึ่งพาฤดูกาล ไม่สามารถคาดการณ์ผลผลิตได้ เป็นการใช้เทคโนโลยีต่างๆ มาควบคุม ตรวจสอบคุณภาพ และปรับปรุงระบบเกษตรให้แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยสอดคล้องกับแนวทาง Precision or Smart Farming 

2) ระบบการเงิน กฎระเบียบ ข้อมูลทางการเงิน (Monetization of Agriculture) 

3) รูปแบบตลาดเกษตรเสรี (Democratize Market) ลดการพึงพาพ่อค้าคนกลางในการผลิต และการขาย เพื่อสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นโดยตรงกับเกษตรกร 

4) เกษตรรักษ์โลก (Lean agriculture) การสร้างรูปแบบธุรกิจการเกษตรสมัยใหม่ ที่มีการใช้ทรัพยากรอย่างค้มค่า และมีการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า

5) ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Agtech Leader) สามารถนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ

รวมทั้งได้ฝากแนวทางเพิ่มเติมในการสร้าง DeepTech Startup ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี โดยควรมีการทำงานร่วมกับในภาคส่วนในระบบนิเวศ เช่น บริษัทเกษตรขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพ และสิ่งสำคัญควรมีการเปลี่ยนเกษตรกรจากผู้รับการช่วยเหลือเป็นหุ้นส่วนนวัตกรรม

ขอบคุณภาพจาก: มหาวิทยาลัยแม่โจ้