สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
การให้บริการของ NIA
ความเคลื่อนไหวของ NIA
ช่องทางในการติดต่อกับ NIA
ผ่านไปแล้วสำหรับ AgTech Startup ที่ผ่านเข้ารอบโครงการ AgTech Battle: It’s Time to Rise up & Fight
ตลอดระยะเวลา 1 เดือนที่ผ่านมา โครงการได้รับเกียรติจากทีมวิทยากรและทีมที่ปรึกษาที่ร่วมผลักดันและเติมเต็มศักยภาพให้กับ Startup
โดยเริ่มต้นด้วยการเข้าใจถึงระบบนิเวศในอุตสหกรรม ได้รับเกียรติจาก คุณก่อศักดิ์ โตวรรธกวณิชย์ ผู้จัดการสถาบันนวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมฉายภาพถึง “AgTech Ecosystem” และเล่าถึง “Creating Innovative Values for Global Sustainability” ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อให้ Startup ได้เข้าใจภาพรวมของอุตสาหกรรม แนวโน้มถึงเทคโนโลยีใน AgTech การที่ Startup ไทยจะเติบโตได้จะต้องมีตลาดที่ใหญ่พอและจะต้องมองถึงปัญหาที่ใหญ่ขึ้น จะไม่ใช่แค่การมองปัญหาภายในประเทศไทยแต่จะต้องมองออกไปถึงปัญหาที่อยู่ในระดับภูมิภาคซึ่งจะทำให้ตลาดใหญ่มากขึ้นตามไปด้วย โดยสำหรับภาคการเกษตรแล้วตลาดของ South-East Asia (SEA) นับว่ามีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งเพราะมองว่าพื้นฐานในการทำการเกษตรค่อนข้างเหมือนกันและมีปัญหาในลักษณะเดียวกัน ฉะนั้นการที่สตาร์ทอัพเข้าใจระบบนิเวศในระดับภูมิภาคจะทำให้ Startup มีโอกาสมากยิ่งขึ้น
หลายครั้งจะได้ยินคำว่าสตาร์ทอัพมีโอกาสล้มเหลวสูงถึง 95% ในหัวข้อนี้ได้รับเกียรติจาก คุณกิตตินันท์ อนุพันธ์ หรือคุณแจ็ค (Claim Di) เจ้าของ บริษัท Anywhere 2 Go ร่วมแชร์ประสบการณ์ถึง “Startup Thailand เติบโตยังไงอย่างยั่งยืน” คุณแจ๊คเล่าถึงเทคนิคการทำ Startup วิธีการแก้ไข รวมทั้งการปรับเรื่อง Business Model นอกจากนี้คุณแจ๊คยังได้เล่าถึงเครื่องมือที่จะช่วยทำให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างเช่น Clone Model, Jump Model, Monopoly Model, Long Tail Model, Lean Model, Hook Mokel, Growth Hacking Model
คุณอานนท์ บุณยประเวศ ร่วมแชร์ประสบการณ์ถึงการระดมทุน การเจรจากับนักลงทุนและคำถามที่โดนถามซ้ำ ๆ จากนักลงทุนในหัวข้อ “Raise fund with the right business model” และต่อด้วยการ Workshop จาก อาจารย์ธเนศ ตั้งเจริญมั่นคง เพื่อตอกย้ำถึง Business Plan ที่นักลงทุนให้ความสำคัญ และต่อด้วย “How to do startup with Corporate ID” จาก คุณพรพิศ ต้นมธุสรชัย Director-Digital & Startups, Tipco Foods PCL. ร่วมแชร์ประสบการณ์ในการทำงานระหว่าง Corporate กับ Startup เล่าถึงการทำงานร่วมกันกับ Startup มักพบปัญหาคือ ขาดการต่อเนื่องจาก Startup เนื่องจากสตาร์อัพหลังจากการทำงานผ่านไประยะหนึ่งจะขาดการติดต่อและค่อย ๆ หายไป ทำให้เกิดปัญหาระหว่าง Startup และ Corporate คุณพรพิศ ต้นมธุสรชัย ยังกล่าวถึงนอกจากการร่วมลงทุนของนักลงทุนใน Startup แล้ว VC หรือ CVC แต่ละรายจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป อย่างเช่น CVC บางรายจะให้ Startup ร่วมทำ POC ก่อนที่จะร่วมลงทุน หรือ VC บางรายไม่สนใจแต่จะต้องมีข้อตกลงอื่นก็ขึ้นอยู่กับ VC ในแต่ละราย ดังนั้น Startup ต้องรู้ Stage ของตัวเองว่าต้องการอะไร และเข้าหา VC และ CVC ให้เหมาะสมจะทำให้ไม่เสียเวลาทั้งสองฝ่าย
ปิดท้ายด้วยคุณไผ่ (Kulika Chomwong) จาก Creative Ventures ได้แชร์ถึงแนวทางการลงทุนของ Creative Ventures โดยจะเน้นการลงทุนใน 3 เทรนด์หลักๆ คือ
1. Labor Shortage ที่เน้นลงในระบบอัตโนมัติและระบบ Robotic
2. Ageing Society จะเน้นลงด้าน Health Tech
3. Climate Change จะเน้นลงในด้านที่เป็น AgTech, FoodTech และ Energy
โดยคุณไผ่ฝากถึงสิ่งที่นักลงทุนจะตัดสินใจลงทุนกับ Startup คือ
1. Market Size ที่ใหญ่พอ เช่น ตลาดขนาดมากกว่า 100 ล้านเหรียญ
2. Product-Market Fit ดูว่า ผลิตภัณฑ์และบริการเป็นที่ต้องการของตลาดหรือไม่
3. Traction ที่มาในรูปแบบของรายได้ จำนวนผู้ใช้งาน หรือ Milestone ที่ทำได้ตามที่วางแผนไว้ที่ผ่าน ๆ มา
4. Defensibility คือบริษัท หรือ Startup สามารถปกป้องธุรกิจของตัวเองได้หรือไม่ ทั้งจากการมี Intellectual Property หรือทรัพย์สินทางปัญญา และเทคโนโลยี ที่ลอกเลียนได้ยากหรือไม่
5. Team มีทีมที่เหมาะสมไหม (แต่ข้อนี้คุณไผ่ บอกว่า วัดได้ยาก และจะพยายามให้น้ำหนักกับข้อนี้ไม่เยอะมากนัก)
6. Fund Source ทั้งนักลงทุนและบริษัท Startup ควรดูว่าตัวเองเพิ่มประโยชน์หรือคุณค่าให้กับการลงทุนหรือไม่ Startup ควรมองหานักลงทุนที่จะมีประโยชน์มากกว่าการให้เงินลงทุน เช่น VC เชี่ยวชาญด้านไหนเป็นพิเศษไหม หรือตรงกับที่เราต้องการหรือไม่ ไม่ควรมองแค่เงิน
สุดท้ายโครงการ AgTech Battle เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการให้สามารถขยายธุรกิจออกสู่ตลาดสากลหรือได้รับการลงทุนจาก VC และ CVC ตลอดระยะเวลาของโครงการ AgTech Startup เข้าร่วมการ Workshop และรับคำปรึกษาจากทีม Mentor ซึ่งตลอดระยะเวลา 1 เดือนที่ผ่านมา AgTech Startup ได้เตรียมพร้อมสำหรับการประเมินธุรกิจ หลังจากนี้ทีมที่ผ่านการคัดเลือกจะเข้าสู่ช่วงของการเตรียมตัวเพื่อนำเสนอแผนธุรกิจต่อนักลงทุน (Investment Day) และนำเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาตามโจทย์ที่ท้าทาย โดยกำหนดจัดงานขึ้นในวันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2562 เวลา 13.30 – 17.00 น. ณ ห้อง Workshop C ชั้น 7 ทรู ดิจิทัล พาร์ค ซึ่งเป็นการจัดงานขึ้นในงาน Startup Thailand 2019 แล้วพบกันกับแนวทางในการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดสำหรับภาคการเกษตรของประเทศไทย