สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
การให้บริการของ NIA
ความเคลื่อนไหวของ NIA
ช่องทางในการติดต่อกับ NIA
อัปเดต 6 เทรนด์นวัตกรรมเกษตร พร้อมจับตา 12 สตาร์ทอัพเกษตรหน้าใหม่ดาวรุ่ง ปี 2023
หลายคนน่าจะเคยได้ยินหรือรู้จักกับ เทคโนโลยีการทำเกษตรยุคใหม่ที่กำลังเป็นเทรนด์ไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น การเกษตรดิจิทัล การใช้หุ่นยนต์ โดรน หรือระบบอัตโนมัติเข้ามาช่วยในภาคเกษตร จากบทความ 6 เทรนด์ “AgTech” เปลี่ยนอนาคต “การเกษตร” ไทย ที่ได้คาดการณ์แนวโน้ม “นวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่” ผ่านมา 2 ปีแล้ว มาอัปเดตความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการเกษตรทั้ง 6 เทรนด์ ผ่านฝีมือของ สตาร์ทอัพเกษตร หรือ AgTech Startup ที่สามารถนำเทคโนโลยีมาสร้างโซลูชันตอบโจทย์ปัญหาการเกษตร ซึ่งนอกจากจะสะดวก ใช้งานง่าย และมีประสิทธิภาพแล้วยังสามารถขยายให้เกิดการใช้งานร่วมในวงกว้างได้อีกด้วย โดยบทความนี้จะขอยกตัวอย่างสตาร์ทอัพเกษตรไทยรายใหม่ๆ ที่มีผลิตภัณฑ์และบริการพร้อมใช้งาน มีผลงานที่โดดเด่นในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมยกระดับให้ภาคการเกษตรไทย
ในยุคของสังคมดิจิทัลที่ทุกคนล้วนมีสมาร์ทโฟนเป็นอุปกรณ์สำคัญ การจัดการฟาร์มด้วยเซนเซอร์ และระบบไอโอที จึงถูกนำมาใช้ในภาคการเกษตรเพิ่มมากขึ้น เทคโนโลยีที่หลายคนอาจจะคุ้นเคยเกี่ยวกับ "เกษตรอัจฉริยะ" หรือ "สมาร์ทฟาร์ม" เช่น ระบบควบคุมการเปิดปิดน้ำที่สามารถตั้งเวลาได้ การสั่งการและติดตามการเติบโตของพืชด้วยสมาร์ทโฟน จึงทำให้สตาร์ทอัพเกษตรในกลุ่มนี้มีจำนวนมากที่สุด แต่สิ่งสำคัญของการทำเกษตรดิจิทัลคือ การนำเทคโนโลยีไปใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพและแม่นยำเพิ่มมากขึ้นกับเกษตรกรผู้ใช้งาน โดยการนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการปลูกพืชแต่ละชนิดมาใช้ในการศึกษาเพื่อวิเคราะห์การเจริญเติบโต การป้องกันโรค ความเหมาะสมกับพื้นที่เพาะปลูก ร่วมกับการพัฒนาเซนเซอร์และอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่ โดยสตาร์ทอัพเกษตรดาวรุ่งที่มีแนวทางมาตอบโจทย์การทำการเกษตรดิจิทัล ได้แก่
ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรในประเทศไทยล้วนมีอายุมากขึ้น ต้องการเครื่องทุ่นแรงต่างๆ มาช่วยสนับสนุนการทำการเกษตร แต่การจะใช้ "หุ่นยนต์" เดินช่วยงานในแปลงเกษตรของไทยอาจจะเป็นภาพที่ต้องรอไปอีกสักระยะ เนื่องจากเป็นโซลูชันที่ใช้งบประมาณสูงจึงจำเป็นต้องหาแนวทางความคุ้มค่ากับการลงทุน ร่วมกับการออกแบบแปลงให้สอดคล้องกับการสนับสนุนการทำงานไปด้วยกัน ในส่วนที่เราเห็นกันเพิ่มมากขึ้นคือ อากาศยานไร้คนขับ หรือ "โดรน" ที่จะมาตอบโจทย์การแก้ปัญหาเกษตรมากขึ้น เช่น การพ่นยาพ่นปุ๋ย ซึ่งนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ยังมีการนำไปใช้ในการหว่านเมล็ด การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลรายแปลงเพื่อทำให้สามารถทำการเกษตรได้อย่างแม่นยำขึ้น และระบบอัตโนมัติที่ช่วยผ่อนแรงการทำงานให้เกษตรกรมากขึ้น สตาร์ทอัพเกษตรดาวรุ่งที่มีแนวทางออกแบบและพัฒนาช่วยลดการใช้แรงงานในภาคเกษตร ได้แก่
เทคโนโลยีที่เกิดจากการนำเอาสิ่งมีชีวิตมาพัฒนาเพื่อประยุกต์ใช้ทางการเกษตรมีการใช้มาเป็นระยะเวลานาน เช่น การผสมพันธุ์ในการพัฒนาพันธุ์พืช การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชในการผลิตต้นพันธุ์พืชปริมาณมากในระยะเวลาสั้น การผสมเทียม การย้ายฝากตัวอ่อน โดยมีแนวทางการใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ที่สามารถแก้ไขและพัฒนากระบวนการเกษตรให้มีประสิทธิภาพสูง เกิดความแม่นยำในการดำเนินงานต่างๆ ได้มากขึ้น เช่น พันธุ์พืชทนโรค สารชีวภาพกำจัดโรค ปุ๋ยเพิ่มประสิทธิภาพ โดยสตาร์อทัพในกลุ่มนี้จะเป็นการต่อยอดจากผลงานวิจัยอย่างน้อย 4-5 ปี เพื่อเป็นฐานองค์ความรู้มาสร้างให้เกิดธุรกิจ ตัวอย่างของสตาร์ทอัพเกษตรดาวรุ่งที่มีการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาสร้างความแม่นยำในภาคเกษตร ได้แก่
การปลูกพืชระบบปิดโดยใช้แสงเทียม เป็นสิ่งที่สร้างความตื่นเต้นให้กับวงการเกษตรสมัยใหม่ ที่สามารถปลูกพืชในเมือง โดยไม่ต้องรอฟ้าฝนและแสงแดด เป็นการปลูกผักที่สะอาดไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมง แต่สิ่งสำคัญคือความคุ้มค่าของการลงทุน ในการลงทุนที่ต้องเลือกกลุ่มผักที่มีความต้องการกับผู้บริโภค สามารถแข่งขันด้านราคา โดยเริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจากโยบายกัญชาเสรี ซึ่งประเทศไทยก็ยังเป็นกลุ่มเล็กยังไม่สามารถกระจายได้มาก เหมือนอย่างเช่นต่างประเทศทีมีมูลค่าธุรกิจระดับยูนิคอร์น อย่างเช่น โบริวี่ โรงปลูกผักที่มีระบบอัตโนมัติของสหรัฐอเมริกา หรืออินฟาร์มจากเยอรมัน โรงเรือนปลูกผักในห้างสรรพสินค้ากระจายในหลายประเทศในยุโรป ขอยกตัวอย่าง 2 สตาร์ทอัพที่ใช้โรงเรือนปลูกพืชระบบปิด ดังนี้
การที่จะได้รับสินค้าเกษตรที่ยังคงรสชาติและความสดใหม่ของสินค้าไว้ได้ทั้งผัก ผลไม้ สัตว์น้ำ เนื้อสัตว์ ให้อร่อยและสดใหม่เหมือนกินอยู่ใต้ต้น หรือข้างบ่อเลี้ยง ทำอย่างไรที่จะยืดอายุสินค้าเกษตรเหล่านี้ให้ยาวนานขึ้น เป็นโจทย์ที่น่าสนใจมาก ทั้งการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ยืดอายุ กระบวนการไม่ใช่สารเคมี ร่วมกับการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ แต่มีผลิตภัณฑ์และบริการจากสตาร์ทอัพกลุ่มนี้จำนวนน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่อยู่ในระยะของการวิจัยและพัฒนา เนื่องจากสินค้าเกษตรที่หลากหลายมีความเฉพาะเจาะจง เพื่อให้เกิดการใช้งานได้อย่างหลากหลาย และมีคุณสมบัติตามความต้องการ มีสตาร์ทอัพฝีมือคนไทยที่พัฒนาเทคโนโลยียืดอายุผักและผลไม้ ที่ช่วยเพิ่มช่องทางการตลาดของสินค้าทั้งภายในและภายนอกประเทศ ได้แก่
แพลตฟอร์มเพื่อเชื่อมโยงเกษตรกร และผู้ให้บริการด้านการเกษตร ที่เห็นได้มากขึ้นก็คือ โดรนทางการเกษตร ที่เริ่มมีการใช้มากขึ้น แต่ส่วนบริการเครื่องจักรกลต่างๆ ยังเกิดขึ้นได้ยาก เพราะปกติพื้นที่ติดกันจะทำเกษตรกลุ่มเดียวกัน ดังนั้นจึงทำให้เกิดความต้องการใช้งานในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายสตาร์ทอัพเกษตรในการแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ได้
ส่วนอีกด้านหนึ่งคือ การบริการแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์ ที่จะช่วยให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง แก้ปัญหาการกดราคาผลผลิต ทำให้เกษตรกรสามารถค้าขายได้อย่างต่อเนื่อง โดยตลาดหรือร้านค้าที่มีบริการจำหน่ายของสดออนไลน์ เป็นแหล่งรวบรวมสินค้าเกษตรของสด และสินค้าแปรรูป สำหรับการขายและส่งมอบให้กับผู้บริโภคหรือกลุ่มธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรม ซึ่งในปัจจุบันมีการแข่งขันด้านราคาบวกกับค่าขนส่งที่สูง ทำให้สตาร์ทอัพเกษตรในกลุ่มนี้ต้องหารูปแบบธุรกิจที่จะก้าวผ่านปัญหาเหล่านี้ไปให้ได้ สำหรับตัวอย่างสตาร์ทอัพเกษตรที่มุ่งมั่นในการสร้างตลาดให้กับเกษตรกร ได้แก่
เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะช่วยให้การทำเกษตรในยุคดิจิทัลง่ายขึ้น ผลผลิตดีขึ้น ลดต้นทุน ทุ่นแรง สร้างตลาด ปรับเปลี่ยนการเกษตรแบบดั้งเดิม สู่การเกษตรอัจฉริยะหรือเกษตรแม่นยำในทิศทางใดนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานอย่างเกษตรกร และธุรกิจเกษตรด้วย มาร่วมกันสนับสนุนให้เกิดการแพร่กระจายด้วยการใช้งานผลิตภัณฑ์และบริการจากฝีมือสตาร์ทอัพเกษตรไทย จะส่งผลให้เกิดการพลิกโฉมเกษตรของไทย...สู่การเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน
บทความโดย
มณฑา ไก่หิรัญ (นก)
ผู้จัดการส่งเสริมนวัตกรรม ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)