สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
การให้บริการของ NIA
ความเคลื่อนไหวของ NIA
ช่องทางในการติดต่อกับ NIA
NIA อัพดีกรีความเชื่อมั่นภาคอุตฯ ในพื้นที่ EEC ผ่านดีพเทคสตาร์ทอัพด้าน “ARI-Tech” พร้อมส่งไม้ต่อบิ๊กธุรกิจร่วมลงทุน 10 สตาร์ทอัพฝีมือดี หวังเพิ่มมูลค่า 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย
เร่งเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ อีอีซี ผ่านการผลักดันสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึก หรือดีพเทคสตาร์ทอัพในสาขา ARI-Tech เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันด้วยการเติมเต็มเทคโนโลยีใหม่จากสตาร์ทอัพ
พร้อมยกระดับความโดดเด่นในด้านการเป็นฐานแห่งการผลิต และดึงดูดให้นักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติสนใจที่จะลงทุนหรือขยายธุรกิจในอนาคต โดยจับคู่ 10 สตาร์ทอัพให้ได้มีโอกาสทำงานร่วมภาคอุตสาหกรรมจริงกับหน่วยงานและบริษัทเทคโนโลยีในพื้นที่อีอีซี รวมถึงการจัดกิจกรรม DEMO DAY เพื่อเป็นเวทีการนำเสนอผลงานและแผนธุรกิจของสตาร์ทอัพกับนักลงทุนขนาดใหญ่ผ่านช่องทางออนไลน์
NIA ได้จัดกิจกรรมบ่มเพาะสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึก ภายใต้โปรแกรม Global Startup Hub: EEC ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวเป็นการต่อยอดธุรกิจสตาร์ทอัพให้มีโอกาสได้รับการลงทุน และมีช่องทางการทำตลาดกับภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่อีอีซี รวมถึงเพื่อยกระดับพื้นที่อีอีซีให้เป็นพื้นที่แห่งการเติบโตของสตาร์ทอัพ เนื่องจากมีความพร้อมทั้งเรื่องนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากภาครัฐ บริษัทและหน่วยงานมีศักยภาพในการพัฒนาเทคโนโลยี รวมถึงเป็นพื้นที่แห่งการผลักดัน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาล
กิจกรรมหลักของโครงการตลอดระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา ถือเป็นการเร่งสร้างและยกระดับความสามารถของสตาร์ทอัพด้าน ARI-Tech ให้เป็นที่ประจักษ์ ถึงแม้จะมีข้อจำกัดทั้งในเรื่องระยะเวลาและสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่สตาร์ทอัพเหล่านั้นก็สามารถแสดงศักยภาพของเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการแก้ปัญหาและทำงานจริงร่วมกับหน่วยงานหรือองค์กรในพื้นที่อีอีซีได้เป็นอย่างดี โดยสามารถตอบโจทย์ให้กับอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าตลาดสูง เช่น ตลาด Smart Energy, Smart Retail, Industry 4.0, Digital Transformation
การพัฒนาศักยภาพนวัตกรรมให้กับสตาร์ทอัพผ่านกระบวนการเรียนรู้ การให้คำปรึกษา และการลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งก่อให้เกิดโอกาสที่สำคัญใน 3 มิติ ได้แก่
โดยได้รับเกียรติจากคณะกรรมการตัดสิน ได้แก่ 1) คุณธนารักษ์ พงษ์เภตรา กรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ และประธานคณะอนุกรรมการศูนย์วิสาหกิจเริ่มต้นประเทศไทย NIA 2) คุณสมโภชน์ จันทร์สมบูรณ์ CEO, KT Venture Capital 3) คุณศรัณย์ สุตันติวรคุณ นายกสมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน (TVCA) 4) คุณต่อตระกูล วัฒนวรกิจกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินโนสเปซ (ประเทศไทย) จำกัด และ 5) ปฤษฎา หิรัญบูรณะ (ปริด-สะ-ดา) ที่ปรึกษาอาวุโส ศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยมี 10 ARI-Tech Startup ประกอบด้วย Artificial Intelligence หรือ AI เทคโนโลยีทีมีความสามารถในการทำความเข้าใจและเรียนรู้องค์ความรู้เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา Robotic หรือ หุ่นยนต์ และ Immersive ซึ่งเป็นนวัตกรรมเสมือนจริง รวมถึงการใช้ระบบอินเทอร์เน็ตควบคุมสรรพสิ่ง (IoT) นำเสนอผลการดำเนินงานการทำงานจริงร่วมกับองค์พันธมิตรในพื้นที่ EEC ในรูปแบบ Co-creation เพื่อให้เข้าใจถึง pain points และร่วมกันสร้างโซลูชั่นที่ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม เพื่อนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ได้ ไปต่อยอดและใช้งานจริง
ทั้งนี้สตาร์ทอัพผู้ชนะที่ได้รับรางวัล The Best Performance ARI Tech Startup Award (ตัดสินจากคณะกรรมการ) ได้แก่
ทีม AltoTech : อัลโต้ เทค AIoT แพลตฟอร์ม วิเคราะห์ ตรวจสอบ และจัดการการใช้พลังงาน ภายในโรงแรม อาคาร และสมาร์ท ซิตี้ ได้อย่างอัตโนมัติ และมีประสิทธิภาพด้วย AI, IoT, Big Data, และ Human-centric technologies
รางวัล The Popular ARI Tech Startup Award (ตัดสินจากผลการโหวตของผู้เข้าร่วมงาน) ได้แก่
ทีม MOVEMAX : มูฟแม็กซ์ แพลตฟอร์มบริหารงานขนส่งและกระจายยสินค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์
#NIA #DeepTechxEEC #Incubation #PPP #ARITech #AI #Robotics #Immersive #IoT #StartupThailand #Sectoraldevelopment
1) AltoTech : อัลโต้ เทค
AIoT แพลตฟอร์ม วิเคราะห์ ตรวจสอบ และจัดการการใช้พลังงาน ภายในโรงแรม อาคาร และสมาร์ท ซิตี้ ได้อย่างอัตโนมัติ และมีประสิทธิภาพด้วย AI, IoT, Big Data, และ Human-centric technologies
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://www.facebook.com/altotechAI/
2) AUTOPAIR : ออโต้แพร์
แพลตฟอร์มบริหารจัดการชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดซื้อและบริหารค่าใช้จ่าย ด้วยการวิเคราะห์
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://www.facebook.com/autopair.co/
3) BlueOcean XRSIM+ : บลูโอเชี่ยน เอ็กซ์อาร์ซิมพลัส
แพลตฟอร์มจำลองการฝึกเสมือนจริง ส่งมอบประสบการณ์การฝึกปฎิบัติงาน (OJT) โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาและสถานที่
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://www.facebook.com/BlueOceanTechnology/
4) Crest Kernel : เครส เคอร์เนล
ระบบตรวจสอบความปลอดภัยและวิเคราะห์ข้อมูลการบริโภคบนข้อมูลภาพกล้องวงจรปิดแบบเรียลไทม์ด้วย DeepEyes
5) ENRES : เอ็นเรส
AIoT platform เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายอาคารและโรงงานสู่ยุค 4.0
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://www.facebook.com/energyresponse/
6) GENSURV : เจ็นเซิฟ
รถฟอร์คลิฟท์ไร้คนขับ นำทางด้วยเลเซอร์ สำหรับการขนย้ายพาเลตในคลังแล สายการผลิต
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://www.facebook.com/gensurv/
7) IFRA : ไอฟร้า
เครื่องมือที่ช่วยวิศวกรในโรงงานเก็บข้อมูลจากเครื่องจักรและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องจักรอย่างต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งร่วมกับเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ข้อมูล
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://www.facebook.com/ifrasoft/
8) MOVEMAX : มูฟแม็กซ์
แพลตฟอร์มบริหารงานขนส่งและกระจายสินค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://www.facebook.com/movemax2020/
9) VERRILY VISION : เวริลี วิชั่น
ระบบกล้อง A.I. เก็บข้อมูล ทะเบียนรถขนส่ง และหมายเลขตู้คอนเทนเนอร์สินค้าอัตโนมัติ สำหรับธุรกิจโลจิสติกส์
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://www.facebook.com/verilyvision/
10) ZEEN : ซีน
ระบบ AI สำหรับบริหารและจัดการขายสินค้าอุปโภคบริโภคสำหรับร้านค้าปลีกอย่างถูกต้องและแม่นยำ
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://www.facebook.com/OZTRobotics/
รับชมบรรยากาศการจัดกิจกรรม NIA Deep Tech Incubation Program @EEC, Demo Day เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564