สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

NIA และ มทส. ฟันธง 10 เทรนด์เกษตรสายดีพเทค มุ่งสู่เกษตร 4.0

News 12 มกราคม 2563 2,363

NIA และ มทส. ฟันธง 10 เทรนด์เกษตรสายดีพเทค มุ่งสู่เกษตร 4.0


NIA โดยศูนย์สร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร (Agro Business Creative Center: ABC Center) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) นำเสนอแนวโน้มและทิศทางการพัฒนานวัตกรรมการเกษตรของประเทศไทย สาขาเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการขนส่ง ตลอดจนพัฒนาระบบนิเวศที่เหมาะสม ที่พร้อมกันสร้างเครือข่ายความร่วมมือกันในทุกภาคส่วน เป็นส่วนหนึ่งของการจัดงานวันเกษตรแห่งชาติ ประจำปี 2563 ระหว่างวันที่ 10 - 19 มกราคม 2563 ณ จังหวัดนครราชสีมา

ภายในงานได้รับเกียรติจาก ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม NIA กล่าวถึง ความร่วมมือในการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมการเกษตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเทคโนโลยีขั้นสูง หรือ Deep Tech ซึ่ง มทส. มีผลงานวิจัยที่มีศักยภาพด้านเทคโนโลยี และผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรอย่างสูงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีการบูรณาการร่วมมือกับหลากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ ชุมชน และภาคเอกชน ก่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าและเป็นตัวขับเคลื่อนนวัตกรรมการเกษตรให้มีความแข็งแกร่งและสามารถเป็นผู้นำในการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล

ทั้งนี้ ทิศทางและแนวโน้มที่มีการใช้นวัตกรรมเป็นหลักในการขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทย โดย NIA และ มทส. ได้ศึกษาและเสนอ 10 แนวทางสำคัญในการสร้างสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึก หรือ Deep Tech Startup ในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร ได้แก่ 1) Soil Microbiome การใช้ของประโยชน์ไมโครไบโอมของจุลินทรีย์ดินเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตและการเพิ่มผลผลิตของพืช 2) Biological Pest Control ผลิตภัณฑ์สำหรับควบคุมศัตรูพืชด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ 3) Gene Editingการสร้างพืชที่มีคุณลักษณะตามความต้องการโดยการดัดแปลงยีน และ 4) Data driven biology การวิเคราะห์ข้อมูลทางชีวภาพขนาดใหญ่

ส่วนอีกกลุ่มขอแบ่งเป็นด้านการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการขนส่ง ที่ควรเร่งดำเนินการตั้งแต่ 5) Automation & Robot กระบวนการเก็บที่ใช้ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ 6) Packagingการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยืดอายุและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 7) Non-chemical Treatment การยืดและเก็บรักษาโดยไม่ใช้สารเคมี 8) Inspection & Monitoring System การติดตามและตรวจสอบคุณภาพผลผลิตอย่างรวดเร็ว แม่นยำ และไม่ทำลาย รวมไปถึง 9) Service Platform การสร้างแพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่ส่งถึงมือตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และ 10) Cold Chain Monitoring การติดตามการขนส่งระบบห้องเย็น

นอกจากนี้ยังมีการเสนอการจัดตั้ง Agricultural Logistic Park เพื่อแหล่งรวบรวมและกระจายสินค้าเกษตร ที่มีระบบการขนส่งหลากหลายรูปแบบ เช่น ระบบราง ถนน ที่สามารถเชื่อมต่อไปยังท่าเรือ หรือสนามบิน เพื่อการส่งออกสินค้าเกษตร

ปิดท้ายด้วยตัวอย่างของผู้ประกอบการ 5 ราย 1) P-sync ผลิตภัณฑ์พลาสเตอร์ฮอร์โมนเหนี่ยวนำการเป็นสัดสำหรับวัวเนื้อและวัวนม บจก. น้ำเชื้อว่องไว 2) Hyperm : น้ำเชื้อโคนมแช่แข็งคัดคุณภาพเพื่อเพิ่มอัตราการผสมติด บจก. ไฮเปิร์ม จำกัด 3) AroMax: ระบบเก็บรักษาความหอม และกำจัดมอดในข้าวด้วยก๊าซไนโตรเจน ใน Hermetic Bag 4) ระบบกำจัดสารเคมีตกค้างและยืดอายุผักและผลไม้ด้วยเทคโนโลยีออกซิเดชั่นขั้นสูง บจก. มาร์เวล แอดวานซ์ คอร์ปอเรชั่น 5) Milk run : แพลตฟอร์มบริหารจัดการขนส่งและตรวจสอบคุณภาพน้ำนม บจก. คิว บ็อคซ์ พอยท์ มาเล่าประสบการณ์ แนวทางการต่อยอดวิจัยและพัฒนา จนเกิดเป็นธุรกิจนวัตกรรมการเกษตรที่พร้อมขยายผลและเติบโตช่วยสนับสนุนการเกษตรของไทย ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนภาคภาคเกษตรได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน

เครดิตภาพจากเกษตรสุรนารี

#NIA #ABCcenter #AgTech #Thailand4.0 #BioTech #PostHarvest #Logistic #Suranaree #SUT