สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

NIA เดินหน้า ส่งเสริม สนับสนุน นักวิจัย พร้อมเร่งสปีดสู่ภาคธุรกิจในโครงการ “Deep Tech University”

News 27 กรกฎาคม 2565 1,719

NIA เดินหน้า ส่งเสริม สนับสนุน นักวิจัย พร้อมเร่งสปีดสู่ภาคธุรกิจในโครงการ “Deep Tech University”


NIA เดินหน้า ส่งเสริม สนับสนุน นักวิจัย พร้อมเร่งสปีดสู่ภาคธุรกิจในโครงการ “Deep Tech University”

สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) สมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน (TVCA-Thai Venture Capital Association) มหาวิทยาลัยเครือข่าย และ RISE สถาบันเร่งสปีดนวัตรกรรมองค์กร จัดกิจกรรมหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความสามารถทางธุรกิจ สำหรับกลุ่มสตาร์ทอัพ และนักวิจัย ผู้สร้างนวัตกรรม เพื่อยกระดับศักยภาพด้านเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Tech) เพิ่มโอกาสการเข้าถึงนักลงทุน พร้อมสร้างเครือข่ายระหว่างสตาร์ทอัพ นักวิจัย และภาคการลงทุนเพื่อก่อให้เกิดการขับเคลื่อนผลักดัน และเพิ่มความแข็งแกร่งด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงในระดับประเทศได้ต่อไปใน “โครงการเร่งสร้างธุรกิจสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้นที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึกจากมหาวิทยาลัยเพื่อการต่อยอดสู่แหล่งทุนและกลไกสนับสนุนการเงินที่เกี่ยวข้อง (Deep Tech University)”

 

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “เราพบว่าในประเทศยังมีสตาร์ทอัพ และนักวิจัยที่กำลังพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีเชิงลึกอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย แต่ยังขาดแหล่งเงินทุนในการพัฒนา หรือโอกาสในการนำออกสู่ตลาด โดยโครงการนี้เรามีจุดมุ่งหมายในการผลักดันให้กลุ่มสตาร์ทอัพ และนักวิจัยเหล่านี้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของระบบนวัตกรรม และกระตุ้นให้เกิดการสร้างสรรค์เครือข่ายระหว่างสตาร์ทอัพ นักวิจัย และนักลงทุนให้สามารถสร้างนวัตกรรมที่พร้อมนำไปสู่การใช้งานให้สัมฤทธิ์ผลต่อไป และจากผลสัมฤทธิ์ของการจัดอบรมดังกล่าวจะช่วยเร่งสปีดการต่อยอดนวัตกรรมเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ เพื่อพร้อมเติบโตจากห้องแล็บสู่ตลาด พร้อมขยายโอกาสทางธุรกิจ และการระดมทุน โดยมุ่งหวังให้สามารถผลักดันให้เกิดขึ้นได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม”
 
โครงการนี้เปิดโอกาสให้นักวิจัย และสตาร์ทอัพที่มีผลงานนวัตกรรมในธุรกิจ “ARI-Tech” หรือ อารีเทค เทคโนโลยีเชิงลึกอีกหนึ่งกลุ่มที่จะเข้ามาช่วยสร้างมูลค่าให้แก่สตาร์ทอัพในประเทศ โดยเทคโนโลยีในกลุ่มนี้วนเวียนอยู่รอบตัวตั้งแต่หุ่นยนต์ดูดฝุ่น หุ่นยนต์เสิร์ฟอาหาร ไปจนถึงแว่นตา AR และมีการคาดการณ์กันในอนาคตว่า เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมในกลุ่ม ARI-Tech จะเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่มีมูลค่ามหาศาลและน่าจับตาในอนาคต ซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยี 3 ด้าน คือ 1) AI (Artificial Intelligence) หรือ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ 2) Robotics คือ เทคโนโลยีหุ่นยนต์ และ 3) Immersive, IoT เทคโนโลยีโลกเสมือนจริงและอินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องมี Technology Readiness Levels (TRL) หรือ ระดับความพร้อมของเทคโนโลยีสู่อุตสาหกรรม อยู่ในระดับ 4-8 จากทั้งหมด 9 ระดับ และมีความเป็นไปได้ในการระดมทุนในระดับ Pre-Seed ถึง Seed round อีกทั้งผู้เข้าร่วมโครงการจะได้เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญตัวจริงในวงการที่จะมาให้คำแนะนำจากประสบการณ์จริงเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรชั้นนำร่วมบรรยายและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับความรู้ ความเข้าใจ สำหรับการนำไปปรับใช้และพัฒนานวัตกรรมเพื่อต่อยอดธุรกิจตลอดระยะเวลาโครงการ 9 สัปดาห์ระหว่างเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2565 โดยจะมีกิจกรรม Demo Day ให้ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายได้นำเสนอโครงการกับนักลงทุน เพื่อสร้างโอกาสในการร่วมงานและหาโอกาสเข้าแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมต่อไป

ทั้งนี้ ภายในงานยังได้รับเกียรติจากนายศรัณย์ สุตันติวรคุณ นายกสมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน (TVCA) นายเอกธัช ภัทระโภคพัฐ ผู้อำนวยฝ่ายพัฒนาโครงการ กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) และนายวิเชียร สุขสร้อย รองผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจและสังคม NIA ร่วมกล่าวเปิดกิจกรรม พร้อมทั้ง ดร.วโรดม คําแผ่นชัย CEO and CO-Founder AltoTech บริษัทสตาร์ทอัพผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม Alto Energy ให้เกียรติบรรยายในช่วง Inspirational Talk อีกด้วย โดยกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 ณ อุทยานนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)