สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
การให้บริการของ NIA
ความเคลื่อนไหวของ NIA
ช่องทางในการติดต่อกับ NIA
Innovation Catalog “MOM & KIDS” เล่มนี้ ได้รวมรวบ 28 นวัตกรรมสำหรับแม่และเด็กที่จะมาช่วยอำนวยความสะดวกให้คุณแม่และเด็กๆ ได้ใช้ผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และตอบโจทย์ความต้องการ ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความสวยงาม กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มเครื่องใช้ในบ้าน กลุ่มเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และกลุ่มแอปพลิเคชัน อาทิ NA HA THAI ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าจากเปลือกกาแฟ, PROBIDENT โพรบิเดนท์ เม็ดอมโพรไบโอติกส์เพื่อป้องกันฟันผุ, BARRICARE MOSSHIELD เครื่องไล่ยุงรัศมีวงกว้าง, THAIS ผลิตภัณฑ์จากการรีไซเคิลเศษหนังวัวเหลือทิ้ง และ SAVE THE KIDS ระบบป้องกันเด็กติดในรถโรงเรียน
“รายงานการพัฒนาระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้นประเทศไทย ประจำปี 2564” รายงานฉบับที่ 4 ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ที่ได้จัดทำต่อเนื่องมาตลอดตั้งแต่ปี 2557 โดยได้รับความร่วมมือจากประชาคมกว่า 300 ราย ทั้งกลุ่มสตาร์ทอัพไทยและต่างชาติ นักลงทุน ภาคการศึกษา ภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่นำเสนอข้อมูลภาพรวมภูมิทัศน์ของระบบนิเวศสตาร์ทอัพในปีที่ผ่านมา เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ให้มีความสามารถในการประกอบธุรกิจรวมถึงแข่งขันกับคู่แข่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีระบบนิเวศสตาร์ทอัพ (Startup Ecosystem) ที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจมากขึ้น
หนังสือ The Founder เล่ม 2 กลับมาอีกครั้งภายใต้คอนเซปต์ 'Innovation in time of crisis' ผู้พลิกธุรกิจท่ามกลางวิกฤติ ทั้งโรคระบาด การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก และวิกฤติทางเศรษฐกิจ ที่จะมาเผยแนวคิด มุมมอง และเคล็ดลับความสำเร็จในภาวะวิกฤติของผู้ก่อตั้งธุรกิจนวัตกรรมทั้ง 25 คน ซึ่งแตกต่างกันในหลายมิติ ทั้งรูปแบบขององค์กรและประเภทธุรกิจ มีทั้งเจ้าของธุรกิจที่เป็นรุ่นบุกเบิก ทายาทรุ่นที่สองผู้สืบทอดกิจการที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงประจักษ์ให้กับธุรกิจเดิมได้ รวมทั้งกลุ่มสตาร์ทอัพที่ก่อตั้งบริษัทและเติบโตอย่างก้าวกระโดด รวบรวมเทคนิควิธีคิด ถ่ายทอด DNA นวัตกรให้แก่ผู้ที่กำลังมีความฝัน มีไอเดียอยากทำธุรกิจ หรือใครที่กำลังเผชิญทางตันจะได้เห็น Business Model Innovation เปรียบเสมือนทางลัดที่สามารถนำมาปรับใช้กับรูปแบบธุรกิจของตนได้
หนังสือชุดหลักสูตร STEAM4INNOVATOR by NIA Stage 1 เป็นชุดความรู้ที่เกิดจากการออกแบบ รวบรวมและพัฒนาต่อยอดแนวความคิดของการสร้างนวัตกรรมที่ผสมผสานทักษะด้าน Soft Skill ที่จำเป็นต่อเหล่านวัตกร โดยนำเสนอในรูปแบบหลักสูตรการเรียนรู้ที่เข้าใจง่ายผ่านกระบวนการ STEAM4INNOVATOR 4 ขั้นตอน เล่มนี้ได้เจาะลึกลงไปในขั้นตอนที่ 1 รู้ลึก รู้จริง (Insight) ขั้นตอนสำคัญในการเริ่มต้นกระบวนการ STEAM4INNOVATOR ที่จะพาไปเรียนรู้วิธีการค้นหาปัญหาที่แท้จริง หากลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน และตั้งโจทย์ที่ถูกต้องเพื่อแก้ไขปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย วิธีการนี้ไม่ยากแต่ต้องอาศัยทักษะการสังเกต การตั้งคำถามและการใส่ใจรายละเอียด เพื่อให้การเดินไปต่อในขั้นตอนถัดไปนั้นถูกต้อง
หนังสือชุดหลักสูตร STEAM4INNOVATOR by NIA Stage 2 เป็นชุดความรู้ที่เกิดจากการออกแบบ รวบรวมและพัฒนาต่อยอดแนวความคิดของการสร้างนวัตกรรมที่ผสมผสานทักษะด้าน Soft Skill ที่จำเป็นต่อเหล่านวัตกร โดยนำเสนอในรูปแบบหลักสูตรการเรียนรู้ที่เข้าใจง่ายผ่านกระบวนการ STEAM4INNOVATOR 4 ขั้นตอน เล่มนี้ได้เจาะลึกลงไปในขั้นตอนที่ 2 คิดสร้างสรรค์ไอเดีย (Wow! Idea) ที่จะนำปัญหาที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 มาค้นหาไอเดียผ่านเครื่องมือต่าง ๆ ที่ช่วยในการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ จากนั้นก็เลือกไอเดียที่ตอบโจทย์ปัญหาหรือความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด และร่างเป็นภาพเพื่อให้เห็นไอเดียนั้นเป็นรูปธรรม
หนังสือชุดหลักสูตร STEAM4INNOVATOR by NIA Stage 3 เป็นชุดความรู้ที่เกิดจากการออกแบบ รวบรวมและพัฒนาต่อยอดแนวความคิดของการสร้างนวัตกรรมที่ผสมผสานทักษะด้าน Soft Skill ที่จำเป็นต่อเหล่านวัตกร โดยนำเสนอในรูปแบบหลักสูตรการเรียนรู้ที่เข้าใจง่ายผ่านกระบวนการ STEAM4INNOVATOR 4 ขั้นตอน เล่มนี้ได้เจาะลึกลงไปในขั้นตอนที่ 3 แผนพัฒนาธุรกิจ (Business Model) เน้นการนำไอเดียที่ได้จากขั้นตอนที่ 2 Wow! Idea มาสร้างเป็นชิ้นงานต้นแบบหรือ Prototype เพื่อทดสอบว่าไอเดียที่เลือกมานั้นตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายหรือไม่ และเริ่มวางแผนธุรกิจเพื่อต่อยอดนวัตกรรมให้ออกสู่ตลาดได้จริง
หนังสือชุดหลักสูตร STEAM4INNOVATOR by NIA Stage 4 เป็นชุดความรู้ที่เกิดจากการออกแบบ รวบรวมและพัฒนาต่อยอดแนวความคิดของการสร้างนวัตกรรมที่ผสมผสานทักษะด้าน Soft Skill ที่จำเป็นต่อเหล่านวัตกร โดยนำเสนอในรูปแบบหลักสูตรการเรียนรู้ที่เข้าใจง่ายผ่านกระบวนการ STEAM4INNOVATOR 4 ขั้นตอน เล่มนี้ได้เจาะลึกลงไปในขั้นตอนที่ 4 การผลิตและการกระจาย (Production & Diffusion) เป็นการนำชิ้นงานต้นแบบที่ผ่านการทดสอบ ปรับแก้และนำแผนธุรกิจที่วางไว้แล้วมาลงรายละเอียดในส่วนการผลิตจริง ขายจริงและสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำ และมีกลยุทธ์การนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะต่อยอดนวัตกรรมที่เราสร้างขึ้นให้เป็นที่รู้จักและเกิดการใช้งานอย่างแพร่หลายต่อเนื่อง
เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมแนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรมของสถาบันวิทยาการนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พร้อมข้อมูลเครื่องมือและหลักสูตรต่างๆ เพื่อการสร้างแนวคิด สร้างความรู้ และสร้างศักยภาพให้กับธุรกิจของไทย สร้างนวัตกรคนไทยที่แข่งขันได้ในเวทีสากล โดยเนื้อหาในเล่มกล่าวถึงคุณลักษณะสำคัญของนวัตกรเพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพในแบบฉบับของ INNOVATOR T.R.I.B.E กล่าวถึงข้อมูลหลักสูตรการเรียนรู้ 20 หลักสูตรเด่นที่ช่วยสร้างศักยภาพด้านนวัตกรรม ทั้งในกลุ่มเยาวชนและคนรุ่นใหม่ (2S DEVELOPMENT) เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะเติบโตในการสร้างนวัตกรรม และกลุ่มผู้ประกอบการและผู้บริหาร (3E DEVELOPMENT) เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ และการจัดการระดับนโยบาย นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียด 10 เครื่องมือสำคัญ ที่สถาบันวิทยาการนวัตกรรมใช้พัฒนาแนวคิดและทักษะเชิงนวัตกรรมใช้ประเมินความสามารถ และใช้เป็นทรัพยากรสนับสนุนการสร้างธุรกิจนวัตกรรมของเหล่านวัตกรด้วย
สถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ ทั้งในระดับชุมชนและเมืองอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน การมองอนาคตเชิงสังคม (Social Foresight) จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการบ่งชี้สัญญาณความเปลี่ยนแปลง ประเมินความไม่แน่นอน (Uncertainties) เพื่อรับรู้และคาดการณ์ภาพอนาคตความเปลี่ยนแปลงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ที่จะช่วยในการกำหนดทิศทาง วางแผนเชิงตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ และกำหนดทางเลือกอนาคต (Alternative Futures) ที่สอดคล้องกับเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลง และเตรียมความพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้อนาคตอย่างทันท่วงที (Future Readiness) ผ่านการเรียนรู้กระบวนการการมองอนาคตและกรณีตัวอย่างการมองอนาคตเชิงพื้นที่อย่างจังหวัดพะเยา กาฬสินธุ์ พัทลุง และสตูล
สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม จัดตั้ง กองทุนยุวสตาร์ทอัพ (Youth Startup Fund) เดินหน้าปั้น มหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการให้แก่ทีมยุวสตาร์ทอัพ ที่มีความคิดริเริ่ม มีไฟ และต้องการจะสร้างธุรกิจเทคโนโลยี และนวัตกรรม สามารถสร้าง Full-Business Plan หรือ Mock up ร่างผลงานทางธุรกิจได้ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของนิสิต และนักศึกษา ให้สามารถต่อยอดแนวความคิดพัฒนาสู่การเป็น วิสาหกิจเริ่มต้นที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูงให้กับประเทศที่ช่วยผลักดันการสร้างธุรกิจนวัตกรรมที่มีความเข็มแข็ง สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การดำเนินการภายใต้กระบวนการใหม่นี้จะช่วยเพิ่มโอกาสให้กับการทำธุรกิจนวัตกรรม และเป็นเสมือนพื้นที่สนามประลองความคิด หรือ Playground ให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้สนุกกับจินตนาการอันไร้ขีดจำกัด ได้พบกับผู้เชี่ยวชาญและผู้สนับสนุนทั้งภาครัฐและเอกชน ที่พร้อมจะช่วยทำให้ทุกความฝันเป็นไปได้ และกลายเป็นจริง
ดัชนีนี้มุ่งพัฒนาขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เกิดการยกระดับระบบนิเวศนวัตกรรมของเมืองที่เอื้อต่อการเกิดนวัตกรที่พัฒนานวัตกรรมจากการที่เมืองที่นำดัชนีไปใช้จะเห็นจุดเด่นและจุดที่ยังต้องการการพัฒนาของตนเอง โดยดัชนีนี้พัฒนามาจากสองแนวคิดหลัก กล่าวคือ ระบบนิเวศนวัตกรรมของเมือง และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ
จากความสำคัญของเทคโนโลยี Synthetic Biology ซึ่งเป็นเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูง สร้างอุตสาหกรรมใหม่ตอบโจทย์ BCG Economy ดังนั้น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.) ร่วมกับ สถาบันนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม (สนอ.) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และบริษัท บีบีจีไอ จากัด (มหาชน) ได้ริเริ่มก่อตั้ง “Thailand Synthetic Biology Consortium” เพื่อเป็นเครือข่ายความร่วมมือในการผลักดันและขับเคลื่อนนวัตกรรม และอุตสาหกรรมเทคโนโลยี Synthetic Biology ในประเทศ ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการสร้างความรู้และความเข้าใจถึงความสำคัญของเทคโนโลยี Synthetic Biology เพื่อนำมาประยุกต์ใช้และต่อยอดกับหลากหลายอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ BCG Economy ตามนโยบายของรัฐบาล รวมถึงแสดงให้เห็นโอกาสและความท้าทายของประเทศไทยที่จะผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี Synthetic Biology ในการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรม และเกิดเป็นนวัตกรรมที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึกขึ้นในประเทศไทย ตลอดจนการสร้างความร่วมมือกับบริษัทและองค์กรต่างๆ ในประเทศไทย