สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

NIA นำโดย ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส รองผู้อำนวยการด้านการเงินนวัตกรรม เข้าร่วมงาน RSP South Halal Gateway เปิดประตูอุตสาหกรรมฮาลาลไทยสู่ตลาดโลก จัดโดยอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้

News 25 กุมภาพันธ์ 2568 24

NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำโดย ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส รองผู้อำนวยการด้านการเงินนวัตกรรม เข้าร่วมงาน RSP South Halal Gateway เปิดประตูอุตสาหกรรมฮาลาลไทยสู่ตลาดโลก จัดโดยอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้

งาน RSP South Halal Gateway เปิดประตูอุตสาหกรรมฮาลาลไทยสู่ตลาดโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบนิเวศในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจฮาลาล ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งเป็นการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการในพื้นที่ ที่ก่อให้เกิดความยั่งยืน โดยใช้งานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยกิจกรรม RSP South Halal Gateway เปิดประตูอุตสาหกรรมฮาลาลไทยสู่ตลาดโลก จะเป็นจุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมฮาลาล ของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้ อย่างเป็นระบบ และถือเป็นการเปิดตัว Platform บริการ และเป็นการสร้างการรับรู้และการประชาสัมพันธ์ รวมถึงการสร้างและพัฒนาเครือข่ายเพื่อการทำงานร่วมกันในอนาคต 

ทั้งนี้ NIA ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจในการสนับสนุน พัฒนาผู้ประกอบการด้วยฐานนวัตกรรม ได้เล็งเห็นโอกาสในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมฮาลาล จึงร่วมมือกับอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้ ร่วมผลักดันให้เกิดการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาใช้เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลอย่างเป็นระบบ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ประกอบการ SMEs และวิสาหกิจชุมชนที่สนใจในการดำเนินธุรกิจด้านอุตสาหกรรมฮาลาลในพื้นที่ภาคใต้ โดยมีเป้าหมายในการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการที่สอดคล้องกับหลักชะรีอะห์ของอิสลาม

โครงการการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลสู่ตลาดโลก มีการดำเนินงาน 7 มิติ ได้แก่
- ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนฮาลาล
- การพัฒนากำลังคนเพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมฮาลาล
- การพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการและโครงสร้างพื้นฐานด้านฮาลาล
- การพัฒนาศักยภาพและยกระดับการประเมินและรับรองมาตรฐาน
- การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมฮาลาล
- การเชื่อมโยงผู้ประกอบการนวัตกรรมฮาลาลสู่ตลาดโลก
- การสร้างและพัฒนาเครือข่าย

โดยมิติการพัฒนาดังกล่าว เป็นแผนในระยะ 5 ปี (นับจากปี 2567 - 2571) ซึ่งในปี 2568 อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้ ต้องการผลักดันให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมนวัตกรรมฮาลาลด้วยบริการที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ 
- Halal Skills for future service การเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในโลกอนาคตเพื่อความสำเร็จในอุตสาหกรรมฮาลาล
- Halal Science Hub ศูนย์วิจัยและห้องปฏิบัติการเพื่อธุรกิจฮาลาล
- Halal Consult & Certification service บริการให้คำปรึกษาและดำเนินการขอรับรองเครื่องหมายฮาลาล
- Tech-Driven Halal Solutions การขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อยกระดับธุรกิจฮาลาล
- Scaling Halal Innovation การขยายโอกาสนวัตกรรมเพื่อธุรกิจฮาลาลที่ยั่งยืน
- Creative Halal Solutions การสร้างสรรค์งานออกแบบเพื่อธุรกิจฮาลาล
- Halal to Global การเชื่อมโยงผู้ประกอบการไทยสู่ตลาดฮาลาลโลก

นอกจากนี้ ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส ยังเข้าร่วมเสวนาในหัวข้อ "เปิดประตูสู่โลกฮาลาล: โอกาสและความท้าทายของผู้ประกอบการยุคใหม่" โดยได้ร่วมนำเสนอมิติขอการสนับสนุน เช่น แหล่งเงินทุน แนวทางการเข้าถึงโอกาส และกลไกการเงินนวัตกรรมผ่านการสนับสนุนของ NIA อีกด้วย

#NIA #RSPSouthHalalGateway #Innovation #Halal #Halalinnovation