สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

NIA สร้างทัพเสริมแกร่งให้สตาร์ทอัพช่วยเหลือเกษตรกร ภายใต้โครงการ AgTech Connext

News 7 มิถุนายน 2564 1,825

NIA สร้างทัพเสริมแกร่งให้สตาร์ทอัพช่วยเหลือเกษตรกร ภายใต้โครงการ AgTech Connext

NIA สร้างทัพเสริมแกร่งให้สตาร์ทอัพช่วยเหลือเกษตรกร ภายใต้โครงการ AgTech Connext 


🎯เมื่อวันที่ 27, 28 และ 31 พฤษภาคม 2564 NIA ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร จัดกิจกรรมเติมพลังสร้างกลยุทธ์ให้ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ให้กับกลุ่มสตาร์ทอัพด้านการเกษตร (AgTech Startup) ทั้ง 15 ราย เพื่อเตรียมความพร้อมในการขยายธุรกิจและการเข้าถึงกลุ่มเกษตกร 


💥โดยได้รับเกียรติจาก ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม สนช. กล่าวเปิดการอบรมและให้แนวทางดีๆ ว่า โครงการ AgTech Connext จะเป็นแพลตฟอร์มสำคัญที่เชื่อมโยงสตาร์ทอัพให้เข้ากับเกษตกร ที่สามารถใช้งานได้จริง ตอบโจทย์เกษตกร เพื่อเป็นพื้นที่ทดสอบและต้นแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาให้เมืองไทยเป็น Smart Agriculture และเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเชียน ภายใต้การทำงานที่เราได้ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร เพื่อสร้างสังคมแห่งโอกาสและก้าวไปสู่การสร้างสรรค์สังคมเกษตรด้วยนวัตกรรม


🌟หลังจากนั้นเริ่มต้นด้วยวิทยากรท่านแรก คุณภาณี บุณยเกื้อกูล ที่ปรึกษากรมส่งเสริมการเกษตรและอดีตผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตกร ในหัวข้อ Customer Insight การทำความเข้าใจกับเกษตรกรอย่างท่องแท้ Startup ควรสำรวจตนเองว่าธุรกิจของเราตอบโจทย์ลูกค้าจริงๆ หรือไม่ ควรทำความเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง วิเคราะห์ สำรวจ Pain point และ Gain point เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นกุญแจสำคัญของการวางแผนการตลาด การเพิ่มยอดขาย และสามารถทำให้ลูกค้าพึงพอใจได้ และนอกจากนี้ยังเน้นถึงการสื่อสารอย่างไรให้เกษตกรเข้าใจ นับว่าเป็นจุดที่สำคัญที่ สตาร์ทอัพจะเข้ามัดใจเกษตรกรได้ 

🌟🌟ต่อด้วยการถ่ายทอดประสบการณ์จาก คุณปุณนะ วงศ์ธนาศิริกุล ผู้จัดการฝ่ายขายแทรกเตอร์และเครื่องจักรกลทางการเกษตกร บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เล่าถึงแนวทางการสร้างกลยุทธ์เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเกษตรกรหรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ที่มีความต้องการที่หลากหลายและแตกต่างกันออกไป แต่ละกลุ่มจะใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างกัน โดยได้แอบกระซิบถึง 4 Business Principles หลักการทำธุรกิจของคูโบต้าให้กับสตาร์ทอัพได้ลองนำไปประยุกต์ใช้ได้อีกด้วย 

🌟🌟🌟รวมทั้งการปิดจุดอ่อนที่สำคัญของสตาร์ทอัพให้ประสบความสำเร็จในการขยายการเติบโตของธุรกิจและตอบโจทย์ตรงใจกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย จากคุณชาคริต จันทร์รุ่งสกุล Founder and CEO ecosystem Professional and consultancy of software ในหัวข้อ Customer Validation อีกหนึ่งข้อสำคัญมากๆ สำหรับการที่สตาร์ทอัพจะออกผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่จะต้องมีการทดสอบถึงปัญหานั้นและทดสอบความต้องการของตลาด เมื่อได้ผลิตภัณฑ์และบริการที่ต้องการของลูกค้าแล้วจะทำให้เราสามารถขยาย Product หรือ Service ได้ และเป็นวิธีการที่ใช้ต้นทุนและรวดเร็วที่สุด รวมไปถึงการทดสอบกับกลุ่มเกษตกรในครั้งนี้ก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสให้เกษตกรได้เข้าถึงเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพเองก็จะสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ดีมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเพิ่มเติมการให้คำปรึกษาแบบ 1 by 1 ที่จะมาช่วยสะกิดจุดอ่อนที่จะต้องไปปรับปรุงรูปแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ที่หวังว่าสตาร์ทอัพจะมาช่วยยกระดับการเกษตรของไทย ดังตัวอย่างของประเทศอินเดีย ที่สามารถก้าวผ่านอุปสรรคสามารถผลักดันเทคโนโลยีและนวัตกรรมลงสู่ภาคเกษตรกรชุมชนได้ในวงกว้าง

🌟🌟🌟ปิดท้ายการเสริมสร้างศักยภาพด้วยการเข้าใจและวางตำแหน่งของ Branding ให้เกิดความชัดเจนและจดจำสอดคล้องกับลักษณะสำคัญของผลิตภัณฑ์ หรือธุรกิจ โดยคุณปริญา ชุมรุม จาก Branding Architect ในหัวข้อ Branding for AgTech Startup สตาร์ทอัพนอกจะมีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่น่าสนใจแล้ว อีกจุดหนึ่งที่สำคัญคือการสื่อสารอย่างไรให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้า และจะทำให้เขาจดจำตัวตนของสตาร์ทอัพนั้นได้ การสร้างแบรนด์คือการสร้างประสบการ์ให้กับลูกค้า และทุกประสบการณ์ของลูกค้าจะต้องเล่าเรื่องราว เนื่องจากแบรนด์จะถูกเล่าต่อกันไป ดังนั้นแบรนด์จะมีภาพลักษณ์ที่ดีหรือไม่ดึ จะขึ้นอยู่กับประสบการ์ของลูกค้าที่ได้รับเป็นสำคัญ 

จบท้ายด้วยกิจกรรม Online Networking กับนายทินวัฒน์ ศรีทัดจันทา นักส่งเสริมนวัตกรรรม สนช. ซึ่งเป็น project manager ของโครงการ AgTech Connext ที่มาตอกย้ำความเข้าใจและความคาดหวังของโครงการที่จะเร่งสร้างให้สตาร์ทอัพเกษตรเติบโตขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ผ่านความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรเพื่อสร้างให้เกิดระบบนิเวศที่ช่วยสนับสนุนการเติบโตของสตาร์ทอัพเกษตรที่เป็นรากฐานสำคัญของไทยและทั่วโลก ร่วมด้วย คุณมณฑา ไก่หิรัญ ผู้จัดการส่งเสริมนวัตกรรม สนช. ที่ได้เล่าถึงกลไก การสนับสนุนการสร้างโอกาสและการเติบโตต่าง รวมไปถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรที่พร้อมจะตะลุยและเชื่อมโยงโอกาสให้กับสตาร์ทอัพทุกท่านได้ประลองฝีมือเพื่อที่จะช่วยส่งเสริมเกษตรกรต่อไป 

จากประสบการณ์จากกูรูระดับเทพที่จะมาเสริมศักยภาพสตาร์ทอัพเกษตรแล้ว สามารถติดตามผลงานของสตาร์ทอัพเกษตรในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการให้กับเกษตรกรและผู้ใช้งาน เพื่อสร้างความร่วมมือ ทดสอบการใช้งานร่วมกัน ในวันที่ 8 - 9 มิถุนายน 2564 ทาง facebook Live : AgTech Connext