สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

นโยบายผู้บริหาร

News d-none 17 ตุลาคม 2561 18,059



ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อํานวยการสํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)


การดำเนินงานของ NIA ได้มีการขยายขอบเขตงานให้ครอบคลุมการพัฒนาระบบนวัตกรรมแห่งชาติอย่างรอบด้าน เพื่อตอบสนองต่อบริบทการเปลี่ยนแปลงทางนวัตกรรมในอนาคตของโลกที่มีผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทย โดยเน้นการพัฒนาองค์ประกอบสำคัญ 5 มิติ ได้แก่ 1. ผู้ประกอบการนวัตกรรม 2. วิสาหกิจและองค์กรนวัตกรรม 3. ตลาดทุนและการลงทุน 4. นวัตกรและงานแห่งอนาคต และ 5. ตลาดและอัตลักษณ์นวัตกรรมของชาติ เพื่อยกระดับความสามารถด้านนวัตกรรมเพื่อการแข่งขันในเวทีโลก และนวัตกรรมสังคมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ รวมทั้งการสร้างแรงบันดาลใจทางนวัตกรรมในระดับเยาวชน อาชีวศึกษา อุดมศึกษา ผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น และภูมิภาคต่าง ๆ ในการเพิ่มโอกาสในการสร้างและการเข้าถึงนวัตกรรมให้เป็นไปอย่างทั่วถึง การสร้างการรับรู้ด้านนวัตกรรม สร้างความตื่นตัวด้านนวัตกรรมและสร้างวัฒนธรรมนวัตกรรมให้เกิดขึ้นในประชาสังคม การพัฒนานวัตกรรมข้อมูล โดยอาศัยการสำรวจ ศึกษา วิเคราะห์ และประเมินทางวิชาการ เพื่อแสวงหาโจทย์ แนวโน้ม และประเด็นการพัฒนานวัตกรรมที่ตอบความต้องการของประเทศ รวมถึงการสร้างระบบและเครื่องมือการพัฒนาและประเมินผลที่สนับสนุนการดำเนินงานในด้านอื่นๆ ผ่านการพัฒนาสารสนเทศนวัตกรรม

 

Innovation Nation...ประเทศแห่งนวัตกรรม


NIA ยังคงเดินหน้าการพัฒนานวัตกรรมให้สอดรับกับยุทธศาสต์ประเทศไทย 4.0 พร้อมมุ่งผลักดันให้ไทยเข้าสู่การเป็น “Innovation Nation” หรือ ประเทศแห่งนวัตกรรม และเพื่อสร้างโอกาสและความแตกต่างให้เกิดเป็นผลผลิตที่มีคุณค่าต่อเศรษฐกิจ NIA จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานเพื่อมุ่ง “สร้าง” ความเปลี่ยนแปลงเชิงระบบที่นำไปสู่การเติบโตทางนวัตกรรมของประเทศ และเป็นไปอย่างสอดคล้องและก้าวทันการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะประกอบด้วย

  • “สร้างความเข้มแข็งระบบนวัตกรรมแห่งชาติ” ผ่านการเชื่อมโยงภาคเอกชน ภาครัฐ การศึกษาและประชาสังคม รวมทั้งเร่งพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมเพื่อสร้างระบบนวัตกรรมที่เข้มแข็งจากพื้นฐาน 
  • “สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงทางนวัตกรรม” รวมทั้งพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโตและเปลี่ยนแปลงทางนวัตกรรม 
  • “สร้างคุณค่าใหม่ทางนวัตกรรม” เพื่อเตรียมความพร้อมและยกระดับศักยภาพทางนวัตกรรมสำหรับอนาคต ทั้งในระดับบุคคล องค์กรและประเทศ ผ่านการสร้างการรับรู้ องค์ความรู้และเครื่องมือทางนวัตกรรม

ทั้งนี้ การดำเนินงานทั้งหมดยังได้วางเป้าหมายให้ประเทศไทยก้าวสู่ 1 ใน 30 อันดับประเทศแรกของโลกที่มีการพัฒนานวัตกรรมอย่างยอดเยี่ยมภายในปี 2030

ในส่วนของการดำเนินงานได้วางวิสัยทัศน์ให้ NIA เป็นองค์กรที่มุ่งเสริมสร้างความสามารถทางนวัตกรรมผ่านระบบนวัตกรรม ซึ่งในปัจจุบัน NIA ถือเป็นองค์กรของคนรุ่นใหม่เพราะบุคลากรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนในกลุ่ม Gen M หรือ Millennials ดังนั้น จึงต้องมีวิธีการส่งผ่านดีเอ็นเอที่แตกต่างไปจากหน่วยงานอื่นๆ นอกจากนี้ ยังได้เตรียมพัฒนาองค์กรให้เป็นหน่วยงานที่ขับเคลื่อนด้วยคนรุ่นใหม่ในกลุ่ม Gen M หรือ Millennials ที่ใช้ความชื่นชอบ หรือ Passion เป็นตัวแปรสำคัญ ซึ่งเปิดโอกาสให้บุคลากรได้พัฒนางานในสิ่งที่แต่ละคนสนใจ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเองและฝึกให้เป็นผู้นำจากองค์ความรู้เฉพาะทางในด้านนวัตกรรมที่ยังไม่เคยเกิดขึ้น และสร้างรูปแบบการทำงานให้เป็นระบบ พร้อมก้าวสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมที่เปี่ยมด้วยความเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้นในลำดับต่อไป